ปภ.คาดการณ์สิงหาคม 53 มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น พื้นที่ตอนบนและภาคใต้ เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน และดินโคลนถล่ม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--ปภ.

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คาดการณ์แนวโน้มการเกิดสาธารณภัยในเดือนสิงหาคม 2553 พื้นที่อนบนของประเทศและภาคใต้จะมีฝนตกชุกและฝนตกหนักมากในหลายพื้นที่ รวมถึงอาจมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และด้านตะวันออกของภาคเหนือตอนบน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย อีกทั้งผลกระทบจากปรากฎการณ์ลานีญาทำให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สถานการณ์ภัยแล้งคลื่คลายลงในเกือบทุกพื้นที่ นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยคาดการณ์แนวโน้มการเกิดสาธารณภัยของประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2553 จากข้อมูลลักษณะอากาศของหน่วยงานต่างๆ พบว่าอาจมีพายุหมุนเขตร้อนพัดปกคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย และด้านตะวันออกของภาคเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดน่าน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง และแพร่ส่งผลให้พื้นที่ตอนบนของประเทศมีฝนตกชุก และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มขึ้นในพื้นที่เสี่ยงภัย อีกทั้งผลกระทบจากปรากฎการณ์ลานีญา ทำให้ช่วงเดือนสิงหาคมมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย ส่งผลให้สถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลายลงในเกือบทุกพื้นที่ นายอนุชา กล่าวเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ และทางน้ำไหลผ่านในพื้นที่ตอนบนของประเทศ และภาคใต้เตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะในช่วงที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านจะมีฝนตกหนักและเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง อาจทำให้เกิดอุทกภัย และดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิด หากมีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานานในพื้นที่และสังเกตพบสัญญาณผิดปกติทางธรรมชาติ ให้รีบอพยพและขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง โดยอพยพไปตามเส้นทางที่ปลอดภัยโดยเร็วที่สุดเพราะอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากหรือดินโคลนถล่มขึ้นได้ ส่วนเกษตรกรควรจัดหาแหล่งกักเก็บน้ำและวางแผนการเพาะปลูกพืชให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูกตลอดปี สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย ดินโคลนถล่ม และภาวะฝนทิ้งช่วง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2243-2200 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปภ.

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+สถานการณ์ภัยแล้งวันนี้

'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงานท้องถิ่นในระดับพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง ลดความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์อุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้นในหลายจังหวัด ทำให้เกิดภาวะภัยแล้งในหลายพื้นที่ ภัยแล้งลักษณะนี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเกิดภาวะโรคจากความร้อน จากข้อมูลกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในปี 2567 ที่ผ่านมาได้ประกาศ

ปภ.ชี้แจงสถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดนครราชสีมา และพิจิตร บูรณาการทุกภาคส่วนลดผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน้ำ

นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) เปิดเผยว่า จากกรณีสื่อมวลชนรายงานสถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดนครราชสีมา...

ปภ.บูรณาการเครื่องจักรกลบูรณาการแก้ไขปัญหาภัยแล้งครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง เน้นบริหารจัดการ – จัดสรรน้ำทั่วถึง ดูแลทุกครัวเรือนให้มีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอ

จากการคาดการณ์สถานการณ์น้ำของกรมชลประทาน พบว่า ภาพรวมปริมาณน้ำของทั้งประเทศอยู่ในปริมาณน้อย ประกอบกับปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติ ส่งผลให้ภัย...

จากสถานการณ์ภัยแล้งปี 2563 ที่มีการรายงาน... สกสว. เผยโรดแมพวิจัย พร้อมลุยภัยแล้ง’63 — จากสถานการณ์ภัยแล้งปี 2563 ที่มีการรายงานว่า ในปีนี้ระดับน้ำจากเขื่อนใหญ่เล็กของประเทศไทยในช่วงฤดูร้อน...

ปภ.วางมาตรการรับมือและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ใช้กลไกระบบบัญชาการเหตุการณ์ บริหารจัดการ – จัดสรรน้ำทั่วถึง มีประสิทธิภาพสูงสุด

แม้สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้ำกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น แต่หลังจากสิ้นสุดฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ประเทศไทยตอนบนมีการกระจายของฝนลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำ...

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...