นิวยอร์ก--19 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ลอนซ่าจะให้สิทธิในเทคโนโลยีการผลิตผิวหนังทดแทนแบบใหม่แก่รีเจนิซินแต่เพียงผู้เดียว
รีเจนิซิน (Regenicin, Inc.) (OTC Bulletin Board: WDSTD) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่กำลังอยู่ในระยะพัฒนา ประกาศว่า บริษัทได้เสร็จสิ้นการระดมทุนเบื้องต้นมูลค่า 3.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับการเข้าซื้อสิทธิการใช้เทคโนโลยีของ ลอนซ่า วอล์กเกอร์สวิลล์ (Lonza Walkersville) แต่เพียงผู้เดียวทั่วโลก (เรียกว่า “ข้อตกลงลอนซ่า”) ทั้งนี้ ลอนซ่า วอล์กเกอร์สวิลล์ เป็นบริษัทในเครือ ลอนซ่า กรุ๊ป (SIX: LONN) ซึ่งเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์รายใหญ่ของโลกในอุตสาหกรรมเภสัชกรรม เฮลธ์แคร์ และชีววิทยาศาสตร์ และเป็นผู้ผลิตเซลล์บำบัดรายใหญ่ที่สุดในโลก
ข้อตกลงลอนซ่าจะทำให้รีเจนิซินมีสิทธิทั่วโลกในการทำการตลาดเทคโนโลยีเนื้อเยื่อผิวหนังทดแทนแบบใหม่เพื่อฟื้นฟูสุขภาพผิวของมนุษย์ สำหรับใช้ในการรักษาแผลไฟไหม้ แผลเรื้อรัง และการทำศัลยกรรมพลาสติกต่างๆ โดยทีมบริหารของรีเจนิซินตั้งใจว่าจะใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญ ประกอบกับความช่วยเหลือจากลอนซ่า วอล์กเกอร์สวิลล์ ในการยกระดับความสามารถและผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐสำหรับการใช้ในเชิงพาณิชย์ นอกจากนั้นรีเจนิซินยังวางแผนให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการอนุมัติสำหรับจำหน่ายทั่วโลกภายใต้แบรนด์ PermaDerm(TM)
ข้อตกลงลอนซ่าระบุว่า ลอนซ่าจะยังคงสิทธิในฐานะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ PermaDerm(TM) แต่เพียงผู้เดียว ขณะที่รีเจนิซินอาจได้ใบอนุญาตถือครองสิทธิในสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยโคโลราโด มหาวิทยาลัยซินซินเนติ และโรงพยาบาลเด็กชไรเนอร์ส (Shriners Hospitals for Children) เมื่อได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA)
รีเจนิซินระดมทุนเบื้องต้นผ่านเงินกู้แปลงสภาพ (convertible loan) และการขายหุ้นสามัญแบบเจาะจงให้กับสถาบันรายใหญ่และนักลงทุนที่ได้รับการรับรองหลายราย โดยมีบริษัท นิวโอ๊ค แคปิตอล (NewOak Capital, Inc.) และ สมิธ พอยท์ (Smith Point, Ltd.) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนร่วมของรีเจนิซิน
“เรารู้สึกตื่นเต้นที่สามารถระดมทุนที่จำเป็นสำหรับการทำข้อตกลงกับลอนซ่า และจำเป็นสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อทำการค้าต่อไป เราเชื่อว่าเรากำลังเดินหน้าสู่การตอบสนองความต้องการทางการแพทย์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจาก PermaDerm(TM) เป็นเนื้อเยื่อผิวหนังทดแทนเพียงหนึ่งเดียวที่สร้างขึ้นจากเซลล์ผิวหนังของตัวผู้ป่วยเอง” แรนดอล แมคคอย (Randall McCoy) ซีอีโอของรีเจนิซิน กล่าว “เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นการผสมผสานการเพาะเนื้อเยื่อเข้ากับการปลูกถ่ายคอลลาเจน-ไฟโบรบลาสท์ ซึ่งทำให้เกิดผิวหนังทดแทนที่มีทั้งหนังกำพร้าและหนังแท้ ทั้งนี้ ในการทดลองเบื้องต้นพบว่าเทคโนโลยีนี้สามารถสร้างชั้นปกป้องผิวหนังที่ทำงานได้จริง ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญสู่การซ่อมแซมหรือทดแทนเนื้อเยื่อที่เสียหายต่อไป”
เกี่ยวกับ รีเจนิซิน
รีเจนิซิน เป็นบริษัทที่กำลังอยู่ในระยะพัฒนา ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเนื้อเยื่อผิวหนังทดแทนแบบใหม่เพื่อฟื้นฟูสุขภาพผิวของมนุษย์ รีเจนิซินเป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองลิตเติลฟอลส์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในเอกสารที่บริษัทยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ http://www.sec.gov
แหล่งข่าว: รีเจนิซิน
ติดต่อ: เจย์ สเตรลล์ (Jay Strell)
บริษัท ซันไชน์, แซคส์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ (Sunshine, Sachs and Associates)
โทร: +1-212-691-2800
อีเมล: [email protected]
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) "MEDEZE" ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก American Board of Regenerative Medicine (ABRM) นำโดย Dr. Rozina Badal Munir Global Development Director, American Society of Regenerative Medicine, American Board of Regenerative Medicine องค์กรระดับนานาชาติที่มุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู ผ่านการรับรองวิชาชีพ การศึกษา และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้านการรักษาด้วยเซลล์และเทคโนโลยีชีวภาพล้ำสมัย ในโอกาสเข้า
กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์
—
นายภัสชญภณ ...
"FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการหมักแบบแม่นยำ
—
"FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการ...
มจธ. คิดค้น "นวัตกรรมการผลิตซิลิกาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ" ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูง พร้อมพลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย
—
นักวิจัย มจธ.พัฒนากระบวนการผลิต ไบโอซิลิกา (Biosili...
สวทช. และ กองทัพเรือ โดยกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ร่วมวิจัยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง หนุนนโยบาย Green Navy ด้วยนวัตกรรมสะอาด
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...
ไบโอเทค-สวทช. และ ทีโพล์ โปรเฟสชั่นแนล ในเครือเชอร์วู้ด ร่วมมือวิจัยโครงการ "พัฒนากับดักราแมลงกำจัดปลวก" ทางเลือกใหม่ ลดใช้สารเคมีในครัวเรือน
—
ศูนย์พันธุว...
ไฟเซอร์ ขึ้นอันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพ จากการจัดอันดับ "สุดยอดนายจ้างระดับโลก 2024" ของ Forbes
—
นิตยสารฟอร์บส์ได้เปิดเผยรายชื่อบริษัท...
Inti Labs บุกเบิกนวัตกรรมการย้ายตัวอ่อนแบบไม่รุกล้ำครั้งแรกของโลก เพิ่มอัตราความสำเร็จการทำเด็กหลอดแก้วในไทย
—
Inti Labs บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งม...