กทม. ห่วงใยเตือนประชาชนระวังภัย 10 โรคใกล้ตัวหน้าฝน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--กองประชาสัมพันธ์ กทม.

นายวงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ฤดูฝน ส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกต่อเนื่องและเกิดน้ำท่วมขังได้ หากประชาชน โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุดูแลรักษาสุขภาพของตนไม่ถูกต้อง อาจทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆ อาทิ โรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อทางระบบผิวหนัง โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ โรคไข้เลือดออก โรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร โรคติดต่อทางน้ำและทางอาหารโดยเฉพาะในช่วงที่มีน้ำท่วม เช่น โรคท้องเดินหรือโรคอุจจาระร่วง โรคบิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำปนเปื้อนเชื้อโรค รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศจากการไอ จาม หรือมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ กลุ่มผู้สูงอายุและเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ขวบ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากเมื่อเป็นโรคปอดบวมอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ระวังอันตรายโรคฉี่หนู โรคเลปโตสไปโรซิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในฉี่หนูหรือสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข สุกร โค กระบือ สัตว์ป่าและสัตว์ฟันแทะที่เป็นสัตว์รังโรค โดยเชื้อปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน โคลน แอ่งน้ำ ร่องน้ำ น้ำตก ที่ชื้นแฉะมีน้ำท่วมขัง เมื่อคนเดินย่ำน้ำหรือเล่นน้ำนานๆ เชื้อก่อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เปื่อยยุ่ย บาดแผล รอยถลอก รอยขีดข่วน เยื่อบุจมูก เยื่อบุตา เยื่อบุในช่องปาก และอาจติดเชื้อจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำปนเปื้อนฉี่หนู หากติดเชื้อและทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจเสียชีวิตได้ ยุงหลากชนิดนำพิษโรคร้าย โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อถูกยุงที่มีเชื้อกัดและแสดงอาการต้องสงสัยติดเชื้อให้รีบพบแพทย์ หากได้รับการรักษาไม่ถูกต้องทันเวลาอาจเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรีย เกิดจากเชื้อโปรโตซัว มียุงก้นปล่องที่มีแหล่งอาศัยในป่าตามแนวชายแดนของประเทศเป็นพาหะนำโรค เมื่อถูกยุงนำเชื้อกัดประมาณ 15–30 วันจะมีอากาศป่วย ต้องรีบพบแพทย์ตรวจและรักษาโดยเร็ว หากทิ้งไว้นานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำทุ่งนา ซึ่งยุงรำคาญได้รับเชื้อจากการกินเลือดสัตว์ เมื่อกัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิต บางรายหายป่วยเกิดความพิการทางสมอง สติปัญญาเสื่อม หรือเป็นอัมพาตได้ หมั่นรักษาความสะอาดและหลีกเลี่ยงน้ำสกปรก โรคเยื่อตาอักเสบ หรือตาแดง เกิดจากเชื้อไวรัส โดยเชื้ออยู่ในน้ำตาและขี้ตา ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน การใช้น้ำไม่สะอาดล้างหน้า อาบน้ำ ถูกน้ำสกปรกที่มีเชื้อโรคกระเด็นเข้าตา หรือการใช้มือ แขน และเสื้อผ้าสกปรกขยี้ตา หรือเช็ดตา โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากเชื้อรา สาเหตุมาจากการทำงานที่ต้องลุยอยู่ในน้ำสกปรกนานๆ ทำให้ผิวหนังซอกนิ้วเท้าแดง ขอบนูนเป็นวงกลม คัน หากเกาจะเป็นแผลมีน้ำเหลืองเยิ้ม สังเกตบริเวณบ้าน งดทานเห็ดพิษ อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง หนีมาหลบอาศัยในบริเวณบ้าน โดยเฉพาะช่วงที่มีน้ำท่วมขัง และโรคอาหารเป็นพิษจากเห็ดพิษ จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของกรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการรับประทานเห็ดพิษทุกปี โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พ.ค. – พ.ย. ด้วยการรับประทานเห็ดที่ขึ้นเองในป่า สวน ไร่ หรือเห็ดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนมากพบในภาพเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนระมัดระวังรักษาสุขภาพร่างกายให้อบอุ่น แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ซึ่งทำได้ง่ายๆ เพียงล้างมือฟอกสบู่ก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ หลังจากเดินย่ำน้ำให้ล้างมือล้างเท้าทุกครั้ง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและระวังอย่าให้ยุงกัด อย่าใช้มือ แขน และผ้าสกปรกขยี้ตา หรือเช็ดตา ระวังไม่ให้น้ำสกปรกเข้าตา เมื่อน้ำสกปรกเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง หากมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย หรือผิวหนังเริ่มเปื่อย เกิดตุ่มคัน น้ำกัดเท้า หรือมีบาดแผล ให้รีบพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มเป็น ก่อนที่อาการจะลุกลาม

ข่าววงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์+ระบบทางเดินอาหารวันนี้

รพ.เมดพาร์ค ชูแคมเปญใหม่ ชวนประชาชน ตรวจคัดกรองมะเร็งระบบทางอาหาร

โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดตัวแคมเปญ "Stay Healthy, Stay Safe from Cancer" ชวนประชาชนตรวจคัดกรองสุขภาพในเดือนพฤษภาคม เพิ่มระยะห่างจากโรคมะเร็งร้าย โดยเฉพาะ "มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก" หนึ่งในโรคที่มีแนวโน้มพบมากขึ้นในประชากรไทย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเมดพาร์ค แนะนำให้มีการเฝ้าระวังโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อย่างใกล้ชิด เนื่องจากระยะเริ่มต้นของโรคนี้มักไม่แสดงอาการชัดเจน และคนทั่วไปมักละเลยการตรวจสุขภาพในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการส่องกล้องตรวจระบบทาง

เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหา... เคล็ดลับความสำเร็จจากศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ในวันสตรีสากลสำหรับแพทย์หญิงรุ่นใหม่ — เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ...

พญ.นฤภร ต่อศิริสุข กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต... โรต้าไวรัสโรคฮิต.. ที่พบบ่อยในเด็กเล็ก — พญ.นฤภร ต่อศิริสุข กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม คลินิกเด็ก ศูนย์แม่และเด็ก โรงพยาบาลหัวเฉียว...

นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีป... ภาพข่าว: รวมพลังยุติวัณโรค — นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค ทันต...

เสนอขึ้นทะเบียนสุนัข ตั้งเป้าปลอดโรคใน 5 ปี

ตั้งเป้า 5 ปี ‘โลกปลอดโรคพิษสุนัขบ้า’ แพทย์เสนอขึ้นทะเบียนสุนัข ฉีดวัคซีนในสัตว์ครอบคลุมมากกว่า85% โดยอาศัยความร่วมมือชุมชน เล็งขยายพื้นที่ทั่วประเทศ นพ.วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงวิธีบริหารจัดการที่...

กทม. ห่วงใยเตือนประชาชนระวังภัย 10 โรคใกล้ตัวหน้าฝน

นายวงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ฤดูฝน ส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกต่อเนื่องและเกิดน้ำท่วมขังได้ หากประชาชน โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุดูแลรักษาสุขภาพของตนไม่ถูกต้อง...

กทม. เร่งให้วัคซีนป้องกันโรคแก่กลุ่มเป้าหมายพิเศษลดอัตราการป่วยและตาย

นายวงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. แจ้งว่า สำนักอนามัยได้จัดทำโครงการควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยจะ...

ปลุกงานการแพทย์ก้าวทันโรคพิษสุนัขบ้า

นายวงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมโรค สำนักอนามัย กทม. เปิดเผยว่า กองควบคุมโรค กำหนดจัดการประชุมวิชาการเรื่อง “โรคพิษสุนัขบ้าภัยร้ายใกล้ตัว” แก่แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของสำนักอนามัย สำนักการแพทย์ และโรงพยาบาลในเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน...