จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--2 ส.ค.--โรงพยาบาลรามคำแหง

คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ และมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่หลงไปว่าอาการที่ตัวเองเป็นอยู่บ่อยๆ เป็นอาการของโรคที่ไม่ร้ายแรง เป็นเพราะมีกรดในกระเพาะมาก เป็นเพราะเพลียจากการหักโหมงาน กินยาขับลม ช่วยย่อย หรือพองานน้อยลงทุกอย่างก็จะดีไปเอง กว่าจะรู้ว่ามันเป็นอาการของโรคหัวใจ มันก็สายไปเสียแล้ว วิธีที่ดีที่สุดที่จะบอกให้ได้แน่นอนว่า อาการต่างๆ ที่น่าสงสัยนั้นเป็นอาการของโรคหัวใจหรือเปล่าก็คือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คให้แน่ วิธีการตรวจความผิดปกติของหัวใจทำได้หลายวิธี การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือที่เรียกว่า “EKG” เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจโดยจะมีรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจอาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผิดปกติของหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถือว่าเป็นการตรวจที่ง่าย และสะดวก ผู้รับการตรวจจะไม่เจ็บจากการตรวจ การตรวจทำได้โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจผ่านทางเอาสื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่วางไว้ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่บริเวณหน้าอก แขน และขา แล้วบันทึกกราฟแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นลงบนกระดาษ ขั้นตอนการตรวจนี้ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที แต่บางที เราก็อาจจะไม่พบสิ่งผิดปกติในคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจบางชนิดได้ในการตรวจตามธรรมดา เนื่องจากถ้าหากหัวใจไม่ได้ทำงานหนักขึ้นการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจจะยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจต้องใช้การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกายต่อไป การบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดติดตัว (Holter monitor) ในผู้ป่วยบางรายที่มารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แล้วไม่พบความผิดปกติในขณะนั้น แต่ผู้ป่วยอาจจะยังมีอาการที่น่าสงสัยว่าหัวใจอาจมีความผิดปกติ แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดติดตัว ซึ่งผู้รับการตรวจจะต้องนำเครื่องมือนี้พกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ทราบว่ากิจกรรมต่าง ๆ ใน 24 ชั่วโมง ของผู้รับการตรวจมีผลทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และเมื่อครบตามกำหนดเวลาจึงนำเทปที่บันทึกไว้มาแปรผล โดยเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ต่อไป วิธีนี้จะทำให้สามารถบันทึกคลื่นหัวใจของผู้ที่มารับการตรวจในช่วงเวลาต่างๆ กัน ในขณะที่มีกิจกรรมต่างๆ ตลอดวัน การตรวจสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจสมรรถภาพของหัวใจโดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เดินบนสายพานเลื่อนหรือปั่นจักรยาน เพื่อทดสอบว่าเมื่อหัวใจมีความต้องการในการใช้ออกซิเจนจากเลือดเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ออกกำลังกายและจะเกิดภาวะการขาดเลือดขึ้นหรือไม่ เนื่องจากหากผู้ป่วยมีภาวะของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตันอยู่ ก็จะทำให้มีเลือดไปเลียงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ เมื่อต้องออกกำลังกาย และจะมีผลทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงไป บางรายจะเกิดอาการเจ็บจุกแน่นหน้าอก และอาจเป็นอันตรายได้หากผู้ป่วยไม่ได้ทราบมาก่อนว่าเกิดจากโรคหัวใจ การตรวจเริ่มต้นด้วยการให้เดินบนสายพานโดยเริ่มจากช้าๆ แล้วเร่งความเร็วขึ้นจนได้ข้อมูลเพียงพอในการวินิจฉัย ใช้เวลาทดสอบประมาณ 30 นาที และควรงดอาหารก่อนการทดสอบประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอาการจุกเสียด เวลาเดิน สวมเสื้อผ้า และรองเท้าที่สบายๆ การตรวจความผิดปกติของหลอดเลือดขนาดใหญ่ด้วยเครื่อง ABI ตรวจความผิดปกติของหลอดเลือดขนาดใหญ่ ช่วยบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอัมพาต อัมพฤกษ์ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติสามารถพิจารณาให้ยาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงรวมทั้งการบริการตรวจ ดัชนีการแข็งตัวของหลอดเลือด โดยใช้เครื่องวัด ABI (Ankle-Brachial Index) ซึ่งเป็นการวัดความผิดปกติของ หลอดเลือดด้วยการวัดแรงดันโลหิตตรงส่วนปลายขา เทียบสัดส่วนกับแรงดันโลหิตที่แขนข้างเดียวกัน ซึ่งเป็นการ บ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอัมพาต อัมพฤกษ์ได้ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) การตรวจหัวใจภายนอก โดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ช่วยในการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง จะทำให้เห็นการเคลื่อนและการบีบตัวของหัวใจว่าปกติดีหรือไม่ ความเร็ว และความดันเลือดเป็นอย่างไร ตลอดจนตรวจดูความพิการของหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ และโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20–30 นาที ทำให้ทราบถึงรูปร่างของหัวใจ ความหนาของผนังหัวใจผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจ สามารถดูการเคลื่อนไหวของผนังหัวใจเปรียบเทียบกัน ทั้งขณะที่พักหรือนอนเฉยๆ กับขณะที่มีการออกกำลังกาย การตรวจวิธีนี้สามารถดูได้จากจอแสดงผล และบันทึกเก็บไว้เป็นรูปภาพได้ เพื่อการตรวจสอบต่อไปในอนาคตบางคนเรียกการตรวจวิธีนี้ว่า “ตรวจเอ็กโคหัวใจ” การตรวจด้วยเครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging) เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยใช้ในการตรวจ และแสดงภาพอวัยวะต่าง ๆ ได้ใกล้เคียง กับอวัยวะจริงมากที่สุดเพื่อช่วยวินิจฉัยโรค มีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยโรค โดยการส่งผ่านคลื่นความถี่วิทยุไปยังผู้ป่วยอยู่ในอุโมงค์สนามแม่เหล็กแรงสูง ซึ่งไม่มีการใช้รังสีเอ๊กซ์ (X-Ray) หรือสารทึบรังสีประเภทไอโอดีนในการตรวจ MRI จะบอกความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ และสามารถใช้ดูเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจว่าอุดตันหรือไม่ การตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ สำหรับผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการนอนนิ่ง ๆ ได้ดี นานประมาณ 30 – 90 นาที โดยขณะนอนตรวจต้องนอนนิ่ง ๆ และหายใจเป็นจังหวะตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ ไม่เจ็บปวดขณะตรวจ การสวนตรวจหัวใจ(Coronary angiogram) แพทย์จะทำการตรวจหรือการฉีดสีโดยการใช้สายสวนขนาดเล็กผ่าศูนย์กลาง 2 มม. ใส่เข้าไปตามหลอดเลือดแดง อาจจะใส่จากบริเวณขาหนีบข้อพับแขนหรือข้อมือ ไปจนถึงจุดที่เป็นรูเปิดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจทั้งซ้ายและขวา จากนั้นแพทย์จะใช้สารละลายทึบรังสีเอ็กซ์เรย์หรือที่เรียก “สี” ฉีดเข้าทางสายสวนนั้นไปที่หลอดเลือดโคโรนารี่ (ซึ่งก็คือเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ) เพื่อตรวจสอบดูว่ามีการตีบแคบหรือตันของหลอดเลือดหรือไม่ ความรุนแรงมาก น้อย ขนาดไหน และที่ตำแหน่งใดบ้าง เกิดขึ้นที่เส้นเลือดกี่เส้น ล้วนเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ 64 Slice เพื่อตรวจพยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องใส่สายสวนผ่านหลอดเลือดแดง เพื่อใช้ในการวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจ อีกทั้งสามารถตรวจหาปริมาณแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจ และสามารถตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะทางกายภาพของหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ ภาพที่ได้จะถูกประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ ชัดเจนและแม่นยำ ใช้เวลาตรวจเพียง 15-30 นาที ผู้รับการตรวจสามารถกลับบ้านได้ทันทีเมื่อทำการตรวจเสร็จ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ได้ http://www.ram-hosp.co.th/specialtyclinic_hearts.html (ตารางแพทย์) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2743-9999 โรงพยาบาลรามคำแหง

ข่าวสายไปเสียแล้ว+โรคหัวใจวันนี้

รพ.เมดพาร์ค อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 ชวนหมอทั่วไทยร่วมคัดกรองโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรงพยาบาลเมดพาร์ค จัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 (ครั้งที่ 2)" โดยมี ศ. นพ.สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเมดพาร์ค นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค เป็นประธานในการแถลงข่าว ร่วมด้วย ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม หัวหน้าศูนย์หัวใจ และแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเมดพาร์ค ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ และ ศ. นพ.กฤษณ์ จงนรังสิน อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ จาก University of Michigan ณ

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญ... ศิริราช เชิญร่วมบริจาคเลือดรับปีใหม่ไทย 9 - 16 เม.ย.68 — คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญรับปีใหม่ "สงกรานต์สุขใจให้เลือด" โดย...

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเราเป็นโรคกล้ามเนื้อห... จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเราเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด — จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเราเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีคนอีกมากไม่เคยรู้ว่าตนเองกำลังเริ่มมีปัญหา...

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า ค... ลองฟังดูสิ ว่าหัวใจบอกอะไร? — จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ตัวเองกำลังเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ และมีคนอีก...

ภาพยนตร์เรื่อง "สายไปเสียแล้ว" ผลิตขึ้นตา... หนุ่มหล่อ บิ๊ก กิตติพล ศตรูพินาศ นักแสดงหน้าใหม่ “สายไปเสียแล้ว” — ภาพยนตร์เรื่อง "สายไปเสียแล้ว" ผลิตขึ้นตามโครงการผลิตภาพยนตร์สั้นเทิดพระเกียรติสมเด็จพร...

ข่าวซุบซิบ: ผู้บริหาร ยศยาคลินิก

ไปเจอเพื่อนเก่าร่วมรุ่นวิศวะไฟฟ้าเครื่องกลที่ม.เกษตรวันก่อน ถูกเพื่อนทักเกรียวกราวว่า คุณแนน กานต์ณพิชญ์ กุณามา เปลี่ยนไปราวกับคนละคน จากเด็กวิศวะออกทอมบอยลุยๆเซอร์ๆวันนี้เปลี่ยนลุคส์ หน้าใสสวยเด้งเป็นเลดี้ ไม่เสียแรงที่เป็นเจ้าของคลินิกความงามครบวงจร “ยศยาคลินิก”...

“ตั๊ก - บงกช” ย้ำ!!!... “ไม่เคยลืม” รักเก่า!!!

ถึงจะมีหนุ่ม ๆ แวะเวียนเข้ามาให้หัวใจกระชุ่มกระชวยไม่ขาด แต่ “ตั๊ก – บงกช คงมาลัย” ก็ยังยืนยันว่าเรื่องหัวใจถ้าได้รักใครแล้วรักเดียวใจเดียวอย่างแน่นอน อย่างล่าสุดสาว “ตั๊ก บงกช” ได้มาเป็นตัวแทนผู้หญิง สวมบทบาทเล่า...

ซาโนฟี-อเวนตีส เสวนาเรื่องมะเร็งเต้านม “Care Your Breast Care You Life”

ด้วยปัจจุบันมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเสียชีวิตเป็นเพราะการละเลยสุขภาพของตัวเอง บวกกับขาดความรู้ในเรื่องการตรวจเช็คด้วยตัวเองซึ่งจะทำให้ทราบว่า...

บ่วงรัก ตอนที่ 15 ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2548 เวลา 2 ทุ่ม 15 ทางช่อง 5

"เพชรแท้" พาพ่อบังเกิดเกล้าหนีตาย "ธานินทร์" หมดแรง จึงต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ ทั้งธานินทร์และเพชรแท้ต่างก็รีบมาตามนัดในจดหมายด้วยความร้อนใจ แต่เมื่อทั้งคู่เจอกันจึงได้รู้ความจริงว่าจดหมายทั้งสองฉบับเป็นจดหมายปลอม ...