เตือนผู้ประกอบการจดแจ้งสารเคมีตามระเบียบการจัดการสารเคมีญี่ปุ่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--22 ก.พ.--คต.

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม และกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น ได้ทบทวนปรับปรุงกฎหมายการจัดการสารเคมีของญี่ปุ่น (Chemical Substance Control Law : CSCL) เพื่อยกระดับให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยได้กำหนดการบังคับใช้ออกเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะแรกเป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการสารโพลีเมอร์ การถ่ายทอดข้อมูลในห่วงโซ่อุปทาน และข้อกำหนดสำหรับสารเคมีที่ต้องได้รับอนุญาตหรือมีการควบคุมการผลิต นำเข้า หรือใช้ในห่วงโซ่อุปทาน มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และระยะที่ ๒ กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสารเคมี (ทั้งสารใหม่และสารเดิม) ต้องจดแจ้ง (มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ) สารเคมีรายปี กรณีที่ผลิตหรือนำเข้าสารเคมีที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมในปริมาณมากกว่า ๑ ตันต่อปี / บริษัท / สารเคมี ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป โดยที่ ผู้ผลิต / ส่งออกในประเทศที่สามรวมทั้งไทยสามารถจดแจ้งสารเคมีใหม่ได้โดยตรงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบข้างต้น ระเบียบ CSCL นี้ไม่บังคับใช้กับสารเคมีที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบอื่น ๆ อยู่แล้ว ได้แก่ อาหารและสารเจือปนอาหาร อาหารสัตว์และสารเจือปนในอาหารสัตว์ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ของเล่น ผงซักฟอก สารเคมีที่ใช้เพื่อการเกษตร ปุ๋ย ยา เครื่องสำอาง อุปกรณ์ทางการแพทย์ สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ยาบำรุงและวัตถุดิบ สารกัมมันตรังสี สารพิษ ของเสียและขยะ นอกจากนี้ ยังไม่รวมถึงสารเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต และสารที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อใช้ในการทดสอบและวิจัย นายสุรศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประเมินความเสี่ยงของสารเคมี ระเบียบ CSCL จะประเมินความเป็นอันตรายและโอกาสที่จะก่อให้เกิดอันตรายของสารเคมีเดิมที่มีการผลิตหรือจำหน่ายในญี่ปุ่นมาแล้วก่อนปีพ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๒๐,๖๐๐ สาร และสารเคมีใหม่ที่มีการผลิตหรือจำหน่ายในญี่ปุ่นตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อจัดจำแนกสารเคมีออกเป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ (๑) สารเคมี Class I หมายถึง สารเคมีที่สามารถสะสมในสิ่งมีชีวิตอย่างคงทน และเป็นพิษระยะยาวต่อมนุษย์หรือสัตว์กินเนื้อ ซึ่งการผลิต จำหน่าย หรือใช้จะต้องได้รับอนุญาตตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เท่านั้น และ (๒) สารเคมี Class II หมายถึง สารเคมีที่เป็นพิษระยะยาวต่อมนุษย์ หรือต่อพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นด้วย โดยมีข้อกำหนดในการผลิตจำหน่ายหรือใช้ และ (๓) สารเคมีทั่วไป หมายถึง สารเคมีที่มีข้อมูลการประเมินความเป็นอันตรายเพียงพอว่ามีความเสี่ยงต่ำ ทั้งนี้ หากผู้ผลิต / นำเข้า ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ CSCL อาจถูกลงโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสารเคมีไปญี่ปุ่นควรทำความเข้าใจกับผู้นำเข้าญี่ปุ่นถึงข้อกำหนดดังกล่าว เพื่อหลีกเลี่ยงบทลงโทษข้างต้นที่จะส่งผลกระทบถึงการส่งออกได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยสามารถศึกษารายละเอียดของระเบียบดังกล่าวเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://www.meti.go.jp/policy/chemical_management/english/index.html

ข่าวสุรศักดิ์ เรียงเครือ+กรมการค้าต่างประเทศวันนี้

รัสเซียยกเลิกการขอ Veterinary Certificate ในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัสเซียได้ออกระเบียบ The Decision of the Customs Union Commission No. 810 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2554 เพื่อกำหนดให้หน่วยงาน Federal Service for Veterinary and Phytosanitary Surveillance (VPSS) ยกเลิกการขอเอกสาร Veterinary Certificate ในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวไรย์ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ท ข้าวโพด ถั่วเหลือง และกากของพืชน้ำมันอื่น ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ เป็นต้น รายละ

คต. เตือนผู้ประกอบการไทยปรับตัวรับมือ การพัฒนาคุณภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีน

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จีนได้เริ่มให้ความสำคัญคุณภาพ มาตรฐานของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานสินค้าดังกล่าว...

Ecomark ของอินเดีย

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานมาตรฐานของอินเดีย (Bureau of Indian Standards: BIS) ได้ประกาศใช้ฉลาก Ecomark รับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตั้งแต่ปี 2534 เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักและให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่ง...

อียูแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการปล่อย GHG ในการขนส่งทางเรือ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 คณะกรรมาธิการด้าน Climate Action ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) ในสาขาการขนส่งทางเรือ ดังนี้ 1...

สหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรสินค้า 9 รายการ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หน่วยงานศุลกากรของสหรัฐฯ (Customs and Border Protection : CBP) ได้ทบทวนพิกัดศุลกากรสินค้า 9 รายการ และได้ปรับเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องลักษณะที่เป็นจริงของสินค้า ดังนี้...

ฉลากสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (Environmental Protection Agency: EPA) ได้ประกาศใช้ฉลากประหยัดพลังงาน (Energy Star) มาตั้งแต่ปี 2535 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงาน...

อียูประกาศสารเคมีอันตรายเพิ่ม

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 สหภาพยุโรป (EU) ได้ออกระเบียบ Commission Regulation (EU) No 109/2012 กำหนดให้สารประกอบในกลุ่ม Boron (Boron Compounds) เป็นสารเคมีอันตราย ที่ผ่านมามีการ...

ตรวจสอบโรงงานอาหารทะเลก่อนส่งออกไปประเทศอาร์เจนตินา

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หน่วยงาน SENASA ของประเทศอาร์เจนตินาพอใจเป็นอย่างมากในการตรวจสอบโรงงานอาหารทะเลของไทย และคาดว่าไทยน่าจะได้รับข่าวดีในเร็ววันนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าด้านอาหาร ...

คต. แจ้งเตือนภาคอุตสาหกรรมไทย

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 หน่วยงานจัดการสารเคมีสหภาพยุโรป (ECHA) ได้ประกาศเตือนภาคอุตสาหกรรมเพื่อเตรียมจดทะเบียนสารเคมีจำนวน 2,300 รายการที่มีการผลิตหรือนำเข้ามาในสหภาพยุโรป (EU) ...

คต. ดันใช้ประโยชน์ FTA ปี 54 ยอดทะลุ 4 หมื่นล้านเหรียญ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์ส่งออกภายใต้ความตกลง FTA ในปี 2554 มีมูลค่าสูงถึง 39,944.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 กว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ...