ปภ. คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ภัยช่วงฤดูหนาวปี 2553-2554

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--3 พ.ย.--ปภ.

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยคาดการณ์แนวโน้มการเกิดสาธารณภัยของประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว(เดือนพฤศจิกายน 2552 – กุมภาพันธ์ 2553) พบมีพื้นที่ประสบภัยหนาวเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และอาจเกิดสถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ ทั้งยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศ ในขณะที่ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และ คลื่นพายุซัดฝั่งได้ ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยดังกล่าว โดยติดตามพยากรณ์อากาศและปฏิบัติตามประกาศแจ้งเตือนภัยอย่างเคร่งครัดนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประเมินและคาดการณ์แนวโน้มการเกิดสาธารณภัยของประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว(เดือนพฤศจิกายน 2553 – กุมภาพันธ์ 2554)จากข้อมูลลักษณะอากาศของหน่วยงานต่างๆ พบว่า ทั่วทุกภาคของประเทศไทยอากาศหนาวเย็นกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้มีพื้นที่ประสบภัยหนาวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนมจะมีสภาพอากาศหนาวจัด โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเริ่มมีอากาศหนาวเย็นก่อนภาคอื่นๆ ทำให้มีหมอกหนาจัด บริเวณยอดดอยมีหมอกหนาจัดในช่วงเช้า และยอดภูอาจมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ สำหรับภาคอื่นๆจะมีอากาศหนาวเย็นในลำดับถัดไป ซึ่งส่งผลให้ช่วงที่ลมหนาวปกคลุมพื้นที่ต่างๆทำให้สภาพอากาศแห้ง อาจทำให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะนอกเขตชลประทาน นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศ ในขณะที่ภาคใต้จะมีฝนตกชุกหนาแน่น และอาจมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่าน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และวาตภัยขึ้นในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมทั้งอาจเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นายวิบูลย์ กล่าวว่า ช่วงฤดูหนาวสภาพอากาศหนาวเย็นและลมแรง ขอให้ประชาชนรักษาสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวกับไฟทุกประเภททั้งการประกอบอาหาร จุดธูปเทียน สูบบุหรี่ เป็นต้น เนื่องจากฤดูหนาวสภาพอากาศแห้งและลมพัดแรง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยและไฟป่าสูงกว่าปกติ การขับขี่รถในช่วงที่มีหมอกลงจัด ควรเปิดไฟต่ำหรือไฟตัดหมอกจะช่วยให้มองเห็นสภาพเส้นทางได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ขับรถเร็ว เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากกว่าปกติ นอกจากนี้ เกษตรกรควรสร้างสิ่งปกคลุมผลผลิตทางการเกษตร เพื่อป้องกันผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายจากน้ำค้างแข็ง สำหรับประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ให้ติดตามพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด หากมีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานานในพื้นที่และสังเกตพบสัญญาณผิดปกติทางธรรมชาติ เช่น ระดับน้ำในลำห้วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและมีสีขุ่นข้น ให้รีบอพยพและขนย้ายสิ่งของไปยังที่ปลอดภัย เพราะอาจเกิดน้ำป่าไหลหลากหรือน้ำท่วมฉับพลันขึ้นได้ นอกจากนี้บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันอาจเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง ขอให้เรือเล็กระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ ส่วนเรือใหญ่ให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกจากฝั่งทุกครั้ง สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเลให้ติดตามประกาศแจ้งเตือนภัยอย่างใกล้ชิด เพราะคลื่นลมจะซัดเข้าสู่ฝั่งอย่างรุนแรง สุดท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสภาพอากาศหนาวเย็น อุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม และคลื่นซัดฝั่ง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+สถานการณ์ภัยแล้งวันนี้

'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงานท้องถิ่นในระดับพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง ลดความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์อุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้นในหลายจังหวัด ทำให้เกิดภาวะภัยแล้งในหลายพื้นที่ ภัยแล้งลักษณะนี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเกิดภาวะโรคจากความร้อน จากข้อมูลกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในปี 2567 ที่ผ่านมาได้ประกาศ

ปภ.ชี้แจงสถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดนครราชสีมา และพิจิตร บูรณาการทุกภาคส่วนลดผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน้ำ

นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) เปิดเผยว่า จากกรณีสื่อมวลชนรายงานสถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดนครราชสีมา...

ปภ.บูรณาการเครื่องจักรกลบูรณาการแก้ไขปัญหาภัยแล้งครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง เน้นบริหารจัดการ – จัดสรรน้ำทั่วถึง ดูแลทุกครัวเรือนให้มีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอ

จากการคาดการณ์สถานการณ์น้ำของกรมชลประทาน พบว่า ภาพรวมปริมาณน้ำของทั้งประเทศอยู่ในปริมาณน้อย ประกอบกับปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติ ส่งผลให้ภัย...

จากสถานการณ์ภัยแล้งปี 2563 ที่มีการรายงาน... สกสว. เผยโรดแมพวิจัย พร้อมลุยภัยแล้ง’63 — จากสถานการณ์ภัยแล้งปี 2563 ที่มีการรายงานว่า ในปีนี้ระดับน้ำจากเขื่อนใหญ่เล็กของประเทศไทยในช่วงฤดูร้อน...

ปภ.วางมาตรการรับมือและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ใช้กลไกระบบบัญชาการเหตุการณ์ บริหารจัดการ – จัดสรรน้ำทั่วถึง มีประสิทธิภาพสูงสุด

แม้สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้ำกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น แต่หลังจากสิ้นสุดฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ประเทศไทยตอนบนมีการกระจายของฝนลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำ...

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...