สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) กำหนดมาตรฐานอายุเมล็ดพันธุ์พืช 37 ชนิด ยกระดับคุณภาพ...สู่ฮับเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซีย และครัวโลกที่มีคุณภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--18 พ.ค.--สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย

สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) สรุปการศึกษาวิจัยและได้ประกาศมาตรฐานอายุของเมล็ดพันธุ์พืชควบคุม 37 ชนิด เพื่อใช้เป็นมาตรฐาน เดียวกันสำหรับเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดทุกแบรนด์ที่วางตลาดจำหน่ายในร้านค้าเมล็ดพันธุ์ทั่วประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาในตลาดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ เจ้าของแบรนด์และผู้จัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์แต่ละแบรนด์ต่างกำหนดอายุเมล็ดพันธุ์กันเองแตกต่างกันไป การกำหนดมาตรฐานอายุของเมล็ดพันธุ์พืช 37 ชนิด เป็นมาตรฐานกลาง ตามหลักวิชาการ นี้จะช่วยลดปัญหาเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพวางจำหน่ายในร้านค้า และยกระดับอุตสาหกรรมและการค้าเมล็ดพันธุ์ให้เป็นไป ตามกรอบกฎหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ได้เข้าถึงเมล็ดพันธุ์คุณภาพและเป็นจุดเริ่มต้นให้ได้ผลผลิตที่ดีต่อไป ความร่วมมือ ของสมาชิกสมาคมฯในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งพลังความร่วมมือของภาคเอกชนที่มีต่อนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฮับเมล็ดพันธุ์แห่ง เอเชีย (Seed Hub Of Asia) และการเป็นครัวโลกที่มีคุณภาพ จากฟาร์มจนถึงโต๊ะอาหาร นายพาโชค พงษ์พานิช (Mr.Pacholk Pongpanich) นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) กล่าวว่า เมล็ดพันธุ์ คือ สิ่งมีชีวิตหน่วยเล็ก ๆ ที่ เป็นต้นธารของคุณภาพและปริมาณผลผลิตการเกษตร รวมทั้งนำไปสู่อุตสาหกรรมอาหารที่หล่อเลี้ยงประชาชนและปศุสัตว์ เมล็ดพันธุ์จึงเป็นหนึ่งยุทธศาสตร์ สำคัญของความมั่นคงทางอาหารและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย มีบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมการเกษตรทั้งในด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ ช่วยเสริมสร้าง ประเทศไทยให้เป็นครัวของโลกที่มีคุณภาพและความปลอดภัยจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร ดังนั้นเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการเพาะปลูกต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดีมี คุณภาพ โดยมีเปอร์เซ็นต์ความงอกและความแข็งแรงสูง จึงจะสามารถงอกเป็นต้นกล้าและเจริญเติบโตเป็นต้นพืชที่ปกติได้ เปอร์เซ็นต์ความงอกและความแข็งแรง ของเมล็ดพันธุ์มีความสัมพันธ์กับการเสื่อมสภาพของเมล็ดพันธุ์ เมื่อแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์เติบโตจนถึงระยะการสุกแก่ทางสรีรวิทยาจะมีน้ำหนักแห้งสูงที่ สุด เมล็ดจะมีความงอกและมีความแข็งแรงสูงที่สุด หลังจากนี้ไป เมล็ดพันธุ์มีแนวโน้มความงอกและความแข็งแรงลดลงตามระยะเวลาและสภาพแวดล้อมในการจัด เก็บเมล็ดพันธุ์ การเสื่อมสภาพจะเป็นไปตามกลไกทางธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ปัจจัยที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของเมล็ดพันธุ์ขึ้นอยู่กับ 1. ชนิดของพืช 2.พันธุกรรมของพืช 3.ความชื้นในเมล็ดพันธุ์ซึ่งถ้ามีความชื้นสูงจะเสื่อมสภาพเร็ว 4.อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้เกิดขบวนการหายใจและการ ทำงานของเอนไซม์เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการเสื่อมเร็วขึ้น 5.ประวัติการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ การเก็บรักษาที่ดีสามารถช่วยชะลอการเสื่อมของเมล็ด เพื่อให้คงคุณภาพความงอกนำไปเพาะปลูกต่อได้ นายพาโชค พงษ์พานิช นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) กล่าวต่อว่า วัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลทางวิชาการของแต่ละหน่วยงานที่ศึกษา เกี่ยวกับอายุเมล็ดพันธุ์มาสรุปและประกาศมาตรฐานอายุของเมล็ดพันธุ์พืช 37 ชนิด เพื่อเสริมสร้างคุณภาพมาตรฐานของเมล็ดพันธุ์ให้เป็นบรรทัดฐาน เดียวกัน ช่วยให้เกษตรกรได้รับข้อมูลอายุเมล็ดพันธุ์บนฉลากที่ถูกต้องซึ่งมีผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก ช่วยเกษตรกรลดความเสี่ยงจากปัญหา เมล็ดพันธุ์คุณภาพต่ำ และส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานของวงการเมล็ดพันธุ์ของไทยและสนองตอบนโยบายของภาครัฐในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ การเป็นฮับเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซีย ด้วย ปัจจุบันมีแบรนด์เมล็ดพันธุ์ในท้องตลาดกว่า 500 แบรนด์ และร้านค้าทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ทางสมาคมฯ ได้ ศึกษาวิจัยและกำหนดอายุเมล็ดพันธุ์พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจรวม 37 ชนิด ภายใต้สภาพแวดล้อมอุณหภูมิของสถานที่จัดเก็บเมล็ดพันธุ์ในที่ร่มประมาณ 30 องศาเซลเซียสและมีบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันความชื้นได้ มาตรฐานอายุของเมล็ดพันธุ์พืช 37 ชนิด ครอบคลุมเมล็ดพันธุ์ควบคุมจำนวน 29 ชนิด ที่ทางราชการกำหนดตามพรบ.พันธุ์พืชพ.ศ.2518 ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเขียวเมล็ดดำ ถั่วเหลืองข้าวโพดหวาน ฝ้าย ข้าวโพดหวาน คะน้า แตงกวา ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ผัก กาดเขียวปลี ผักกาดหัว ผักบุ้งจีน พริก มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอคโคลี ผักกาดกวางตุ้ง ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ แตงโม กระเทียมใบ ผักชี ปาล์มน้ำมัน ทานตะวัน และพืชสำคัญทางเศรษฐกิจอีก 8 ชนิด คือ มะระ ฟัก/แฟง มะเขือยาว มะเขือเปราะ กระเจี๊ยบเขียว ฟักทอง บวบเหลี่ยม และแคนตา ลูป ทั้งที่เป็นประเภทเมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย หรือ O.P. (Open Pollinated Seed) หมายถึงเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการขยายพันธุ์จากแปลงเพาะปลูกที่ปล่อยให้ มีการผสมเกสรในตัวเองหรือการผสมข้ามระหว่างต้นในพันธุ์เดียวกัน และสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อขยายพันธุ์ต่อไปได้ และประเภทเมล็ดพันธุ์ลูกผสม หรือ Hybrid ที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์แท้ตั้งแต่ 2 สายพันธุ์ขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตในเชิงการค้า เนื่องจากให้ผลดีกว่า ผลผลิตสูงกว่า พันธุ์ผสมปล่อย ปัจจุบันเมล็ดพันธุ์พืชผักจะเป็นลูกผสม ไฮบริดเสียส่วนใหญ่ มาตรฐานอายุเมล็ดพันธุ์มีดังนี้ อายุเมล็ดพันธุ์ ลำดับ ชนิดพืช ประเภทพันธุ์ลูกผสม ประเภทพันธุ์ผสมปล่อย (Hybrid) (O.P.) ปี เดือน ปี เดือน 1 ข้าวเปลือกเจ้า 2 2 2 ข้าวฟ่าง 18 3 ข้าวโพด 18 4 ข้าวโพดข้าวเหนียว 1 1 5 ข้าวโพดฝักอ่อน 18 6 ถั่วเขียว 1 7 ถั่วเขียวเมล็ดดำ 1 8 ถั่วเหลือง 6 9 ข้าวโพดหวาน 6-8 9 10 คะน้า 2 1 11 แตงกวา 2 1 12 ถั่วลันเตา 6 ลำดับ ชนิดพืช อายุเมล็ดพันธุ์โดยเฉลี่ย ประเภทพันธุ์ลูกผสม ประเภทพันธุ์ผสมปล่อย (Hybrid) (O.P.) ปี เดือน ปี เดือน 13 ผักกาดขาว 2 1 14 ผักกาดเขียว 2 1 15 ผักกาดหัว 2 1 16 ผักบุ้งจีน 1 17 พริก 2 1 18 พริกหวาน 18 1 19 มะเขือเทศ 2 1 20 ถั่วฝักยาว 2 21 กะหล่ำปลี 2 1 22 กะหล่ำดอก 2 1 23 บรอคโคลี 2 1 24 ผักกาดกวางตุ้ง 2 1 25 ผักกาดหอม 1 26 แตงโม 2 1 27 กระเทียมใบ 6 28 ผักชี 1 29 ทานตะวัน 1 30 มะระ 18 1 31 ฟัก/แฟง 2 1 32 มะเขือยาว 2 1 33 มะเขือเปราะ 2 1 34 กระเจี๊ยบเขียว 2 1 35 ฟักทอง 2 1 36 บวบเหลี่ยม 2 1 37 แคนตาลูบ 2 1 สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) ยังได้จัดโครงการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้บริษัทผู้จำหน่ายและร้านค้าเมล็ดพันธุ์ ได้ยึดใช้เป็นแนว ทางเดียวกัน ได้แก่ ความรู้การดูแลจัดเก็บเมล็ดพันธุ์สามารถช่วยชะลอการเสื่อมของเมล็ดเพื่อให้คงคุณภาพและนำไปเพาะปลูกต่อได้ โดยควรอยู่ในที่ร่ม อุณหภูมิในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ต้องมีความเหมาะสมที่ 30 องศาเซลเซียส รวมทั้งเสริมความรู้เกี่ยวกับชนิดพืช พันธุกรรมพืช เพื่อให้คำแนะนำที่ เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร สำหรับการค้าเมล็ดพันธุ์กับต่างประเทศ ใน 2 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.พ.) ไทยมีการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปแล้ว 3,976 ตัน คิดเป็นมูลค่า 516 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดถึง 3,204 ตัน มูลค่า 208 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการนำเข้าเมล็ดพันธุ์นั้น ไทย ยังคงได้เปรียบดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มการค้าเมล็ดพันธุ์ในครึ่งปีหลัง 2554 นี้ คาดว่าการค้าภายในประเทศ ในส่วนของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีแนวโน้มที่ดีใน เรื่องของการเพาะปลูก จากราคาที่จูงใจ และพื้นที่การปลูกมันสำปะหลังบางส่วนมีแนวโน้มจะปรับเปลี่ยนกลับมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ สำหรับการค้า กับต่างประเทศนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปีที่ผ่านมา และดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยเป็นแหล่งกระจายเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ดี โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่วนทิศทางของราคาเมล็ดพันธุ์โดยรวม นั้น ราคาเมล็ดพันธุ์ของไทยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นในเรื่องของต้นทุนการ ผลิตและการแปรสภาพเมล็ดพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีเมล็ดพันธุ์ที่ปรับปรุงใหม่ มีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตที่สูงขึ้นเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ เกษตรกร มีรายได้ที่คุ้มค่าจากการลงทุนอันเนื่องมาจากได้รับผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้น ในด้านสภาวะอากาศแปรปรวน (Climate Change)ส่งผลกระทบต่อการ เกษตรทุกประเทศ เกษตรกรไทยต้องติดตามรายงานของภูมิอากาศบ่อยขึ้นเพื่อเตรียมการและลดความเสี่ยง ปลูกพืชที่เหมาะกับพื้นที่ สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 02 911-3282, Fax 02-911-3208 มือถือ ประภาพรรณ สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย+สมาคมการค้าวันนี้

กรมวิชาการเกษตรผนึกภาคเอกชนเร่งขับเคลื่อนไทยเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและผู้นำด้านเมล็ดพันธุ์พืชผักเขตร้อนคุณภาพสูงของโลก

กรมวิชาการเกษตรดึง สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย บริษัทไบเออร์ไทย จำกัด บริษัท เจียไต๋ จำกัด และ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เป็น Certified Laboratory มุ่งเป้ารับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ปี 2566 สนับสนุนเป้าหมายส่งออกเมล็ดพันธุ์ให้มีมูลค่ามากกว่า 15,000 ล้านบาท/ปี นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็น เจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปชิฟิก (APEC) ระหว่างวันที่ 14-19 พ.ย. 2565 และการประชุมรัฐมนตรีเกษตรและอาหาร APEC โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... ภาพข่าว: ก.เกษตรฯ MOU ส่งเสริมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ — นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ โคร...

กระทรวงเกษตรฯ จับมือภาคเอกชนลงนาม MOU สานพลังประชารัฐส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ปี 2559/60 ตั้งเป้าปรับลดพื้นที่ 2 ล้านไร่ ใน 31 จังหวัด

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้กำหนด...

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระ... ภาพข่าว: พิธีลงนามและประกาศเจตนารมณ์ “โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร” — พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เ...

ภาพข่าว: SEED GAMES 2011 เกมส์กีฬา สานรักสามัคคีวงการเกษตรเมล็ดพันธุ์

บริษัท เจียไต๋ จำกัด โดยนายวินิจ ชวนใช้ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และบริษัท จีเนียนเมล็ดพันธุ์(ประเทศไทย) จำกัด โดย คุณอวด ตรีโอษฐ์ ผู้จัดการทั่วไป ร่วมเป็นเจ้าภาพจัด งานซี้ดเกมส์ 2011 (SEED GAMES) โดยได้เชิญร้านค้า เครือข่าย...

สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย แนะการดูแลเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์...เพื่อผลผลิตที่ดี

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกเมล็ดพันธุ์รายใหญ่ ในภูมิภาคเอเชีย และเป็น 1 ใน 10 ของประเทศที่ส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชไร่รายใหญ่ ด้วยปริมาณการส่งออกในปี 2553 มูลค่าการส่งออก 20,400 ตัน มีมูลค่า 7,287 ล้านบาท โดยประเทศ...

องค์กรเกษตร 7 สมาคม ยื่นเสนอชะลอการบังคับใช้กฎกระทรวงฯ วอนรัฐบาลใหม่เร่งแก้พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ปี 2542 ที่เป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจการเกษตร

องค์กรเกษตร 7 สมาคมและเครือข่ายเกษตรของไทย ประกอบด้วยสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) โดยนายพาโชค พงษ์พานิช ,สมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย,...

ภาพข่าว: สมาคมการค้าเมล็ดพันธ์ไทย(THASTA) จับมือ NEO สนับสนุนการจัดงาน Horti ASIA 2012

สมาคมการค้าเมล็ดพันธ์ไทย(THASTA) จับมือ NEO สนับสนุนการจัดงาน Horti ASIA 2012 เพื่อส่งเสริมการค้าเกษตรพืชสวนของไทยในตลาดอาเซียน สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) โดยคุณพาโชค พงษ์พานิช นายกสมาคม ร่วมจับมือสนับสนุน...