กทม. จับมือ นิด้า เดินหน้าโครงการลด เหลื่อม ล้ำฯ วิจัยแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม ลงพื้นที่สำรวจชุมชนนำร่องแล้ว 2 แห่ง สร้างกรุงเทพเป็นเมืองน่าอยู่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น

กรุงเทพมหานคร ร่วมมือกับ นิด้า จัดทำโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่น่าอยู่ โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนในกรุงเทพอีก 25 แห่ง ร่วมเป็นเครือข่ายดำเนินการวิจัยและวิจัยสำรวจเชิงปริมาณ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ร่วมเป็นวิทยากรนำร่องด้านการศึกษาชุมชน และสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย ร่วมทำงานวิจัยสำรวจเชิงปริมาณ ล่าสุด ลงพื้นที่สำรวจชุมชนนำร่องไปแล้ว 2 แห่ง คือ ชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนา และชุมชนสวนอ้อย นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพมหานคร หรือ โครงการลด เหลื่อม ล้ำฯ ว่า โครงการนี้จัดทำเพื่อดำเนินการตามเจตนารมณ์ของแผนตามโครงการร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย ในประเด็นของการปฏิรูปประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาค ความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพมหานคร และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประชาชนและภาคีต่างๆ ในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกัน ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขแม้เกิดภาวะวิกฤต อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างเป็นระบบ ให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และสามารถพึ่งตนเองได้ โดยกรุงเทพมหานครได้ขอความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาในการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาตลอดจนนำผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติและประเมินผล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดกิจกรรมเพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม “เราต้องการหาวิธีการ ทางออก หรือแนวทางในการยุติความขัดแย้ง ที่เป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้กรุงเทพเป็นเมืองน่าอยู่ มีการสร้างสรรค์ ปรับปรุงทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม ทางสังคม และรวมถึงทางจิตใจอย่างต่อเนื่อง” นางทยา กล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ภัทรนรากุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้จะดำเนินการสำรวจความเหลื่อมล้ำทางสังคมใน 6 ประเด็น คือ 1) การเข้าถึงระบบการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน 2) การพัฒนาด้านกายภาพของชุมชน 3) การแก้ไขปัญหาความยากจน และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน 4) การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมโดยอำนาจรัฐ 5) การเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ 6) การแสดงความคิดเห็น “บทบาทหน้าที่ของนิด้าคือการเป็นหน่วยงานแกนกลางในการวิจัยและพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครอีก 25 แห่ง ร่วมเป็นเครือข่ายดำเนินการวิจัยชุมชน 96 แห่ง ในพื้นที่ระแวกของที่ตั้ง ครอบคลุมกรณีศึกษา 6 ประเด็น และงานวิจัยสำรวจเชิงปริมาณครอบคลุม 6 ประเด็น นอกจากนี้ ยังมีสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ร่วมเป็นวิทยากรนำร่องด้านการศึกษาชุมชน และสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย ร่วมทำงานวิจัย โดยใช้เวลาในการดำเนินโครงการระหว่างเดือนมิถุนายน – 2554 – มกราคม 2555 รวม 8 เดือน” ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ กล่าว การศึกษานี้เป็นงานวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เน้นระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีแนวคิดว่าสมาชิกชุมชน ทั้งที่เป็นชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานคร และชุมชนที่ไม่ได้จดทะเบียนฯ ซึ่งประกอบด้วย ประชาชนที่อาศัยอยู่ในอาคาร ตึกแถว ร้านค้าและประชาชนที่อาศัยอยู่รวมกันในย่านต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ ล้วนมีศักยภาพในการร่วมกันค้นหาปัญหาและสามารถตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน ในลักษณะพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะในสภาวะวิกฤตทางการเมืองที่สมาชิกชุมชนต้องร่วมกันเรียนรู้ รู้จักชุมชนตนเองมากขึ้น จากการย้อนอดีต การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง การมองอนาคตชุมชน รู้ปัญหาและทุนของชุมชน ให้สามารถร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไข ร่วมกันตัดสินใจในทุกขั้นตอนเพื่อพัฒนาชุมชนน่าอยู่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าในการทำงานว่า ขณะนี้ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ได้ลงพื้นที่ทำวิจัยในชุมชนนำร่องไปแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ ชุมชนสวนอ้อย เขตคลองเตย และชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนา เขตยานนาวา โดยทำการประเมินความคิดเห็นของประชาชน ด้วยเทคนิคบันได (เป็นวิธีการประเมินสภาวการณ์ต่างๆ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลทางสถิติ โดยให้กลุ่มเป้าหมายประเมินสภาวการณ์ต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขด้วยการเปรียบเทียบกับระดับของขั้นบันได ขั้นต่ำสุด คือ 1 สูงสุดคือ 10 เน้นการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อรับทราบความเป็นอยู่ ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน จากความคิดเห็นต่อความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยให้ตัวแทนประชาชนเป็นผู้ประเมินตนเองตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันและคาดการณ์ในอนาคต และให้ชุมชนร่วมเสนอกิจกรรมพัฒนาที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับชุมชน ซึ่งกรอบการศึกษาทั้ง 2 ชุมชนนี้จะเป็นการชี้ให้เห็นถึงมุมมองปัญหาที่แท้จริงของชุมชนซึ่งจะเป็นแนวทางในการดำเนินการโครงการวิจัยกับชุมชนอื่นๆ ต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ อุษณีย์ ถาวรกาญจน์ email : [email protected] วันวิสาข์ วสุกาญจน์ email : [email protected] บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด โทร. 0 2354 3588 www.incom.co.th

ข่าวสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย+สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนวันนี้

โครงการลด เหลื่อม ล้ำ ลงพื้นที่ชุมชน 96 แห่ง ใน กทม. สำรวจความต้องการ แก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม

ตามที่ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ นิด้าได้จัดทำ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ โครงการลด เหลื่อม ล้ำ เพื่อทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่น่าอยู่ โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย 25 แห่ง สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย ร่วมกันศึกษาวิจัย ซึ่งได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น ความคืบหน้าล่าสุด ทีมนักวิจัยได้ลงพื้นที่ในชุมชน 96 แห่งทั่วกรุงเทพมหานครแล้ว เพื่อประเมินความคิดเห็นของคนในชุมชนเกี่ยวกับความ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดงาน "SET S... ภาพข่าว: SET Social Impact Roundtable เวทีระดมความคิดเห็นพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม — ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดงาน "SET Social Impact Roundtable" เวทีระด...

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอเชิญบริษัทจ... ขอเชิญร่วม “SET Social Impact Roundtable” เวทีระดมความคิดเห็นพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม 24 ม.ค. นี้ — ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอเชิญบริษัทจดทะเบียน ธุรกิจเ...

แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านก... CAC เปิดตัวโครงการต้นแบบ Citizen Feedback ใช้สมาร์ทโฟนประเมินบริการภาครัฐ — แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) ร่วมกับ สมาคมวิจัยการต...

ในปีนี้ สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย ได... TMRS FORUM 2016 “WHAT IS COMING NEXT?” — ในปีนี้ สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปีในวันที่ 23 มิถุนายน 2016 ณ โรงแรมพูลแมน ...

สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนา “WHAT IS COMING NEXT?”

ในปีนี้ สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปีในวันที่ 23 มิถุนายน 2016 ณ โรงแรมพูลแมน แกรนด์ สุขุมวิท 21 (อโศก) ระหว่างเวลา 9:00 – 17:00 น. ภายใต้หัวข้อ "WHAT IS COMING NEXT?" โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจ...

สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย (TMRS) จัด... เสวนาแนวทางการทำงานวิจัยการตลาดในงานประชุมประจำปี สมาคมวิจัยการตลาด(TMRS) — สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย (TMRS) จัดเสวนาเกี่ยวกับแนวทางการทำงานวิจัยการต...

สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย (TMRS) จะจ... สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทยจัดงานประชุมใหญ่ประจำปี 2558 — สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย (TMRS) จะจัดงานประชุมใหญ่ประจำปี 2558 ในวันพฤหัสบดีที่ 30 เม.ย...

“คนไทย มอนิเตอร์” ชี้ คนไทยพอใจคุณภาพชีวิตลดลง

“คนไทย มอนิเตอร์” การสำรวจระดับชาติที่ใหญ่ที่สุดประจำปี 2555 ชี้ คนไทยพอใจในคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ลดลงจากปี 2554 แม้จะเห็นว่าการพัฒนาประเทศมีความเหมาะสมมากขึ้น ขณะเดียวกันยังระบุว่าปัญหาระดับประเทศและสังคมรุนแรงมาก “คนไทย มอนิเตอร์” ...