คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา รุกหนักช่วยชาวสมุทรสาคร กรณีปัญหาผลกระทบการประกอบกิจการถ่านหินในอ่าวไทยเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

03 Jun 2011

กรุงเทพฯ--3 มิ.ย.--อมรวิชั่น (บางกอก)

เมื่อวันอังคารที่๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข ๓๑๑ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียน กรณีปัญหาผลกระทบการประกอบกิจการถ่านหินในอ่าวไทยตอนบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยเชิญ ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงานวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมเจ้าท่า รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ประธานสมาคมประมงแห่งประเทศไทย นายกสมาคมการประมงสมุทรสงคราม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ประชาชนผู้ประสพปัญหา ผู้ประกอบการเฉพาะในส่วนของ บริษัท ยูนิคไมนิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ประกอบการเชื้อเพลิงแข็งในจังหวัดสมุทรสาคร ขอเข้าร่วมประชุมเพื่อวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เป็นเวลากว่า 6 ชั่วโมง จนได้ข้อสรุป ดังนี้

1.ผู้ประกอบการ เมื่อยืนยันว่ามีจิตสำนึกแต่ภาคประชาชนไม่ยอมรับในสิ่งที่ผู้ประกอบการพูด จากหลักฐานต่างๆที่ประชาชนนำมาให้คณะกรรมาธิการฯ ตรวจสอบพบว่า การขนส่งไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งผู้ประกอบการชี้แจงว่าเป็นการจ้างบริษัทฯอื่นมารับช่วงต่อ ทางคณะกรรมาธิการฯ จึงขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการกำหนดเงื่อนไขการว่าจ้างกับบริษัทที่มารับช่วงต่อ โดยให้ยึดหลักการประกอบธุรกิจที่ไม่ให้มีผลกระทบต่อ ประชาชน สิ่งแวดล้อม คณะกรรมาธิการฯ ขอความร่วมมือจากตัวแทนบริษัทยูนิคไมนิ่ง จำกัด ในการส่งเงื่อนไขระหว่างบริษัทกับผู้รับจ้างขนส่งถ่านหิน ให้ทางคณะกรรมาธิการต่อไป

2. หน่วยราชการ ทั้งหมดที่มาร่วมประชุมปัญหาเกิดจาก ความไม่เป็นเอกภาพของส่วนราชการ และการขาดความจริงจังในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งทั้งหมดก็ได้รับปากกับทางคณะกรรมาธิการฯจะดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและจะทำรายงานส่งให้ทางคณะกรรมาธิการฯได้ทราบเป็นระยะ

3. ภาคประชาชน ทางคณะกรรมาธิการฯ ขอให้ประชาชนผู้ร้องเรียนให้โอกาส เข้าใจว่าประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาครเดือดร้อนตั้งแต่ ปี 2549 และทางคณะกรรมาธิการได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวก็ได้ทำการแก้ไขโดยนัดทุกฝ่ายมาในทันทีในวันนี้ และ อธิบดีกรมเจ้าท่าก็ได้รับปากดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายในเรื่องของการจำกัดขนาดเรือขนส่งถ่านหิน และมาตรการควบคุมการขนถ่าย อุตสาหกรรม จังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับปากว่าจะปฏิบัติหน้าที่ให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย

ทางคณะกรรมาธิการจะดำเนินการติดตามผลอย่างต่อเนื่องและจะจัดตั้งคณะทำงานลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบโดยไม่แจ้งให้ผู้ประกอบการ หน่วงงานราชการ ที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า

สุดท้าย ตัวแทน ประมงสมุทรสาคร และประชาชน กล่าวขอบคุณคณะกรรมาธิการ ประธานคณะกรรมาธิการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ชี้แจงว่าเป็นหน้าที่ของคณะที่จะต้องดูแลสิ่งแวดล้อมทุกข์สุขของประชน และขอให้ไว้วางใจ ถ้าทุกฝ่ายมีความจริงใจ ตั้งใจ ปัญหาก็จะคลี่คลายในทางที่ดี และจะจัดให้มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องและจะรายงานให้ผู้ประสพปัญหาทราบเป็นระยะ ในการประชุมเรื่องพิจารณาเรื่องร้องเรียน กรณีผลกระทบการประกอบกิจการถ่านหินในอ่าวไทยตอนบน จังหวัดสมุทรสาครครั้งต่อไปจะทำหนังสือเชิญอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ตำรวจ และผู้ประกอบการรายอื่นๆ เข้าร่วม เพื่อหาข้อยุติต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ บริษัท อมรวิชั่น (บางกอก) จำกัด

คุณปริญดา ฝางมาลา , คุณวรรณภา ตั้งบรรยงค์

โทร.0-939 0055 ต่อ 208 โทรสาร. 0-2513 8800 Email :[email protected] ,[email protected],

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. โทร.0-939 0055 ต่อ 208 โทรสาร. 0-2513 8800 บริษัท อมรวิชั่น (บางกอก) จำกัด

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net