บอร์ดบีโอไอคุมกิจการกระทบสิ่งแวดล้อม กำหนดเงื่อนไข-เพิ่มสิทธิประโยชน์ดูแลมลพิษ 6 ตำบล จ.ระยอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--บีโอไอ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้ บีโอไอเอาจริงดูแลผู้ประกอบการดูแลการปล่อยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และสารอินทรีย์ระเหยง่าย ในพื้นที่ 6 ตำบล จังหวัดระยอง หวังควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม ยันต้องผ่านข้อกำหนดของทุกหน่วยงานก่อนออกบัตรส่งเสริม พร้อมขยายเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี แก่กิจการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ด้าน บีโอไอ เตรียมร่วมมือกับสถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย หนุนอุตสาหกรรมก่อสร้างไปลงทุนต่างประเทศ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เสนอทบทวนนโยบายและมาตรการการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรม/กิจการประเภทต่างๆ ในพื้นที่มาบตาพุดในการควบคุมมลพิษ ครอบคลุมทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรม/กิจการใหม่ หรืออุตสาหกรรม/กิจกรรมเดิมที่ใช้เทคโนโลยีในการลดมลพิษอยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการลงทุนสำหรับการดูแลสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ บีโอไอ กำหนดให้มีเงื่อนไขในการดูแลควบคุมมลพิษของโครงการใหม่และโครงการขยายกิจการให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยจะมีพื้นที่เป้าหมายที่ต้องควบคุมปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย เขตตำบลมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ และตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง และ ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง รวมทั้งพื้นที่ทะเลภายในแนวเขต และเขตอุตสาหกรรมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดยพื้นที่ต่างๆ ดังกล่าว ต้องมีการบริหารจัดการดูแลการปรับลดอัตราการระบายของสารหลัก ๆ 3 ชนิด ได้แก่ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และกรณีที่เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดสารดังกล่าว จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการออกบัตรส่งเสริม ประกอบด้วย รายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Environmental Safety Assessment : ESA) /รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) / และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (EHIA) แล้วแต่กรณี จากเดิมกำหนดให้จะต้องได้รับความเห็นชอบภายใน 1 ปี นับแต่วันออกบัตรส่งเสริม นายชัยวุฒิ กล่าวว่า นอกจากนี้ ในส่วนของกิจการเดิมที่มีการลงทุนปรับเปลี่ยน เครื่องจักรเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งนโยบายส่งเสริมเดิมกำหนดให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมในส่วนของการ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 3 ปี สัดส่วนร้อยละ 70 ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนด้วย ก็ให้ปรับเพิ่มเป็น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี สัดส่วนร้อยละ 100 ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนด้านนี้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังอนุญาตให้โครงการที่ได้อนุมัติไปแล้วตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังไม่สิ้นสุดการได้รับสิทธิประโยชน์ ให้สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมได้ “ในพื้นที่มาบตาพุดมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 10 ปี มีจำนวนโครงการลงทุนแล้วถึง 634 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา แม้หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะบีโอไอ จะมีนโยบายให้โครงการที่ดำเนินการอยู่ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จนสามารถลดอัตราการระบายของสารบางประเภท เช่น ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ได้เป็นอย่างดี แต่ยังพบว่าสารอินทรีย์ระเหยง่าย ที่ในบางช่วงยังพบว่าในพื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียงมีค่าสูงกว่ามาตรฐานกำหนด ดังนั้นมาตรการของบีโอไอ จะเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะนำมาช่วยดูแลให้การลงทุนให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” นายชัยวุฒิ กล่าว หนุนอุตสาหกรรมก่อสร้างไปลงทุนในต่างประเทศ นายชัยวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมบอร์ดบีโอไอ ยังเห็นชอบนโยบายส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยมอบให้บีโอไอ และสถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย เร่งศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการลงทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้างในแต่ละประเทศครอบคลุมทั้งในด้านการตลาด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และแนวทางดำเนินธุรกิจ เป็นต้น

ข่าวอุตสาหกรรมก่อสร้าง+กระทรวงอุตสาหกรรมวันนี้

UMI GROUP ร่วมออกบูธในงานสถาปนิกปี 68 ในแนวคิด "Touch And Illusion" สัมผัสเหนือจินตนาการ

บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ UMI GROUP ผู้นำด้านกระเบื้องชั้นนำของประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ดูราเกรสและเซอเกรส ร่วมออกบูธงานสถาปนิก'68 นับเป็นงานที่รวบรวมเทคโนโลยีด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างที่ครบวงจรที่สุดแห่งปี ซึ่งจะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมก่อสร้างและออกแบบของไทยพัฒนาไปสู่ระดับสากล ปีนี้มาในแนวคิด "Touch And Illusion" สัมผัสเหนือจินตนาการ โดยนอกจากจะขนกระเบื้องผนังและกระเบื้องปูพื้นมาแล้ว ยังมีไฮไลท์เด็ด คือ ไฮเทคเทคโนโลยีใหม่ของผิวหน้ากระเบื้อง ที่เป็นดับเบิ้ลสเปรย์ ทำ

เตรียมปักหมุดรอได้เลย สำหรับ UMI GROUP หร... ปักหมุดพบกับบูธ UMI GROUP ในงานสถาปนิกปี 68 ส่งกระเบื้องซีรีส์ใหม่มาเพียบ — เตรียมปักหมุดรอได้เลย สำหรับ UMI GROUP หรือ บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มห...

สะท้อนความเชื่อมั่นผู้ลงทุน พร้อมเดินหน้า... ช.การช่าง ประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 5,500 ล้านบาท — สะท้อนความเชื่อมั่นผู้ลงทุน พร้อมเดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งและความน่าเชื่อถือในฐานะผู้น...

เตรียมพบกับบูธ UMI GROUP หรือ บริษัท สหโม... เตรียมพบกับบูธ UMI GROUP ในงานสถาปนิกปี 68 ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 4 พฤษภาคมนี้ ณ เมืองทองธานี — เตรียมพบกับบูธ UMI GROUP หรือ บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม ...

CIVIL เดินหน้าเติบโตปี 68 ตั้งเป้ารับงานใ... CIVIL ตั้งเป้าปี 68 คว้างานใหม่ 6 พันล้านบาท ชูกลยุทธ์ FAST ขับเคลื่อนการเติบโต — CIVIL เดินหน้าเติบโตปี 68 ตั้งเป้ารับงานใหม่เพิ่ม 6,000 ล้านบาท หนุน Bac...

เรียกได้ว่าจากความเชี่ยวชาญที่มีมามากกว่า... TEKA ลุยตลาด Luxury! ขยายพอร์ตงานก่อสร้างอาคารสูง-คอนโด Hi-End — เรียกได้ว่าจากความเชี่ยวชาญที่มีมามากกว่า 40 ปี สำหรับ บริษัท ฑีฆาก่อสร้าง จำกัด (มหาชน) ...