ผลักโทรทัศน์ครูเป็นหลักสูตรในคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--22 ก.ค.--โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครูลงนามความร่วมมือ สภาวิจัยแห่งชาติ และคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ทั่วประเทศ 74 สถาบัน เร่งพัฒนาศักยภาพงานวิจัยโดยใช้โทรทัศน์ครูเป็นเครื่องมือ หวังดันเป็นหลักสูตรในอนาคต รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะผู้อำนวยการโครงการโทรทัศน์ครู กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ให้มีการพัฒนาศักยภาพการวิจัยและพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ โครงการโทรทัศน์ครูโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้ร่วมกับสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาการศึกษา กับสภาคณบดี คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “แผนนำทางการวิจัยทางการศึกษา” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริหารโดยเฉพาะระดับคณบดีได้มองเห็นภาพรวมการยกระดับคุณภาพงานวิจัย ตั้งแต่กำหนดนโยบายวิจัย การบริหารการวิจัย การกำหนดวาระแห่งชาติ การกำหนดประเด็นวิจัย ไปจนถึงการติดตามประเมินผล นอกจากนี้ คุณภาพงานทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา หรือคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ มีอะไรที่คลาดเคลื่อนบ้าง ซึ่งเราก็คาดหวังว่า คณาจารย์จะไปพัฒนาโครงการวิจัย โดยผนวกเอาเรื่องโทรทัศน์ครูเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย และในส่วนการเรียนการสอน จึงได้มีการบันทึกข้อตกลงร่วมกัน เพื่อนำโทรทัศน์ครูไปใช้ประโยชน์ในการหลอมรวมกับโครงการวิจัย โดยขณะนี้สภาวิจัยแห่งชาติเน้นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาอยู่แล้ว ดังนั้น โทรทัศน์ครูจะเป็นเหมือนเครื่องมือที่จับต้องได้ หากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้องการไปพัฒนาโรงเรียน พัฒนาครู รวมทั้งนิสิต นักศึกษาก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือเผยแพร่ หรือจะนำไปใส่ในหลักสูตรของคณะได้เช่นกัน “ทางโครงการโทรทัศน์ครูได้มอบเทปรายการต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 1,700 ตอน ครอบคลุมทุกลุ่มสาระฯ เพื่อใช้ประโยชน์ในคณะ ครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ ทั่วประเทศทั้ง 74 สถาบัน ซึ่งโครงการนี้สามารถดำเนินการได้ทันที คาดว่าภายใน 1 ปี จะต้องเห็นผลเป็นรูปธรรมแน่นอน” ผู้อำนวยการโครงการโทรทัศน์ครูกล่าว สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวลงนามความร่วมมือ+สภาวิจัยแห่งชาติวันนี้

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น มุ่งใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี และมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ลงนามความร่วมมือใน "การขยายผลโครงการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาค... จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชา...