นิวยอร์ค, ลอนดอน, เฮก เนเธอร์แลนด์ และตูนิส ตูนิเชีย--29 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/ อินโฟเควสท์
- โครงการนำร่องได้รับการประกันด้านการเงินในระยะยาว และได้เริ่มงานปฏิบัติการของแท่นเจาะก๊าซ อีกทั้งเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้า
บริษัทคอนทัวร์โกลบอลประกาศในวันนี้ว้า บริษัทได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อการกู้ยืมเงินจำนวน 91.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับกองทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งแอฟริกาที่เกิดใหม่ (Emerging Africa Infrastructure Fund - EAIF), บริษัทเงินทุนเพื่อการพัฒนาแห่งเนเธอร์แลนด์ (Netherlands Development Finance Company - FMO), ธนาคารพัฒนาแห่งแอฟริกา (African Development Bank - AfDB) และบริษัทการลงทุนแห่งเบลเยี่ยมเพื่อประเทศกำลังพัฒนา (Belgian Investment Company NV/SA - BIO) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เสร็จสิ้นในระยะที่หนึ่งของโครงการคิวูวัตต์ของบริษัท อันเป็นโรงงานผลิตและแยกก๊าซมีเทนร่วม และ โรงไฟฟ้าร่วมขนาด 25 เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ทะเลสาบคิวู ในเมืองคิบูเย ประเทศรวันดา โครงการร่วมนี้จะทำการแยกก๊าซมีเทนที่อันตรายซึ่งถูกกักอยู่ในน้ำในทะเลสาบคิวู และดำเนินกรรมวิธีเปลี่ยนก๊าซเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าให้มากเท่าที่ต้องการเพื่อขายให้กับหน่วยงานการสุขาภิบาล น้ำ และพลังงาน (Energy, Water and Sanitation Authority – EWSA) แห่งรวันดา หน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานสาธารณูปโภคแห่งชาติในด้านพลังงานของประเทศรวันดา ที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่มีไฟฟ้าใช้
พิธีลงนามในข้อตกลงกู้ยืมมีขึ้นในวันนี้ ณ ที่ตั้งโครงการคิวูวัตต์พร้อมทั้งเฉลิมฉลองการเริ่มปฎิบัติงานของแท่นเจาะที่มีน้ำหนัก 750 ตัน ซึ่งจะใช้เป็นที่ติดตั้งโรงแยกก๊าซ และยังเป็นการเริ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่นี้ด้วย มีผู้แทนหลายคนได้เข้าร่วมในพิธีเฉลิมฉลองนี้ โดยมาจากบริษัทคอนทัวร์โกลบอล, สถาบันให้กู้ยืมเงิน และบริษัทผู้รับเหมาของโครงการ รวมทั้งจากบริษัทวาร์ทซิลา (Wartsila) ของฟินแลนด์ซึ่งจะเป็นผู้ผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและสร้างโรงไฟฟ้า ผู้เข้าร่วมงานรวมถึงบรรดาผู้ทรงเกียรติของรวันดา ในจำนวนนี้มี คายัมบา เบอร์นาร์ด ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีแห่งเมืองคารงจี, เซเลสติน คาบาฮีซี ซึ่งเป็นผู้ว่าการมณฑลตะวันตกของรวันดา และ คอเลทา รูฮัมยา ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและน้ำแห่งรวันดา อีกทั้งผู้แทนหลายคนจากสถานทูตของประเทศต่างๆ ประจำรวันดาก็ได้เข้าร่วมในพิธีด้วย อาทิ แอน แคปเซอร์ ซึ่งเป็นอุปทูตประจำสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงคิกาลี และ ฟรานส์ มัคเค่น ซึ่งเป็นเอกอัคราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำรวันดา
การกักเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทนในระดับใต้ดินซึ่งละลายอยู่ในน้ำลึกในทะเลสาบคิวู จะทำให้โครงการคิวูวัตต์ลดต้นทุนของไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วของรวันดาอย่างมีนัยสำคัญ โครงการนี้จะแสดงให้เห็นถึงการใช้ก๊าซในมาตราส่วนใหญ่เป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน และการแยกก๊าซก็จะบรรเทาอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการปล่อยก๊าซในทะเลสาบตามธรรมชาติ นอกจากนี้โครงการยังจัดหาแหล่งผลิตพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
โรงไฟฟ้าขนาด 25 เมกะวัตต์นี้แสดงให้เห็นภาพระยะที่หนึ่งของโครงการคิวูวัตต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันยิ่งจากประชาคมการพัฒนานานาชาติ อันแสดงให้เห็นด้วยการลงนามในข้อตกลงการกู้ยืมในวันนี้ รวมทั้งในเดือนพฤษภาคม 2011 ที่ผ่านมาซึ่งมีการดำเนินงานตามนโยบายประกันความเสี่ยงทางการเมืองกับหน่วยงานประกันการลงทุนพหุภาคี (Multilateral Investment Guarantee Agency) แห่งธนาคารโลก โครงการในระยะที่หนึ่ง ซึ่งจะใช้เงินทุนประมาณ 142 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการดำเนินการให้เสร็จสิ้นนั้น ได้เกี่ยวพันถึงการทำการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางและการอนุญาตให้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานอันเข้มงวดของธนาคารโลก และจะต้องติดตามมาด้วยโครงการอีกสามระยะเพื่อจะได้โรงไฟฟ้าขนาด 100 เมกะวัตต์ในที่สุด
โจเซฟ ซี แบรนดท์ ซึ่งเป็นประธานและประธานบริหารของบริษัทคอนทัวร์โกลบอล กล่าวว่า “เหตุการณ์สำคัญยิ่งในวันนี้สำหรับการเริ่มดำเนินงานของโคงการคิวูวัตต์ของคอนทัวร์โกลบอลนั้น ได้ตั้งอยู่บนเส้นทางที่มุ่งไปสู่ความสำเร็จสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว เรารู้สึกชื่นชมอย่างมากต่อความเป็นผู้นำและความคิดสร้างสรรค์ของหุ้นส่วนด้านการเงินของเรา นั่นคือ EAIF, FMO และ AfDB และรู้สึกเป็นเกียรติที่รัฐบาลรวันดาได้ไว้วางใจเราให้เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญนี้ เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ”
เนกาตู มาคอนเนน ซึ่งเป็นผู้แทนประจำของ AfDB ในรวันดา กล่าวว่า ธนาคารพัฒนาแห่งแอฟริกาภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานนี้ และกล่าวย้ำว่า “โครงการคิวูวัตต์จะจัดหาเครื่องจ่ายไฟที่ราคาพอเหมาะพร้อมกับความเชื่อมั่นและไว้วางใจที่มากขึ้น ที่จะเพิ่มการมีไฟฟ้าใช้ทั้งแก่ครัวเรือนในชนบทและแก่ธุรกิจต่างๆ ในรวันดา”
โทนี ลี ซึ่งเป็นประธานของ EAIF กล่าวว่า “โครงการคิวูวัตต์เป็นโครงการหนึ่งซึ่งมีนวัตกรรมสูงสุดในประวัติศาสตร์ของการผลิตไฟฟ้า หน่วยงาน EAIF ยินดีที่หน้าที่ของเราในฐานะผู้จัดเตรียมร่วมของการระดมทุนด้วยการก่อหนี้ (debt finance) จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ของแหล่งก๊าซที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ในทะเลสาบคิวู เพื่อประโยชน์ของประเทศรวันดาและชาวรวันดา”
ฮับบ์ คอร์เนลิสเซน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานและที่อยู่อาศัยของ FMO กล่าวว่า “FMO มีความเชื่ออย่างแข็งขันในโครงการนี้ ในอันที่จะนำการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาสู่ประเทศรวันดา โดยใช้แหล่งก๊าซที่นำมาใช้ใหม่ได้ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ อันจะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมและเศรษฐกิจในรวันดา และ FMO ก็ยินดีที่ว่า บทบาทของเราในฐานะผู้จัดเตรียมร่วมของการให้กู้เงินครั้งนี้ ได้ทำให้เรามีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการนวัตกรรมนี้ ซึ่งเหมาะเจาะลงตัวอย่างดียิ่งในภาระหน้าที่ของ FMO ในด้านให้ความสนับสนุนภาคเอกชนในตลาดที่กำลังพัฒนา”
เกี่ยวกับบริษัทคอนทัวร์โกลบอล
บริษัทคอนทัวร์โกลบอลเป็นบริษัทผลิตพลังงานระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่มลรัฐนิวยอร์ค ซึ่งดำเนินงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจำนวน 3,250 เมกะวัตต์ หรือมีโรงงานไฟฟ้าที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ใน 20 ประเทศ บริษัทเอกชนแห่งนี้จัดตั้งขึ้นในช่วงปลายปี ค.ศ. 2005 โดย โจเซฟ ซี แบรนดท์ ซึ่งเป็นประธานบริหารของบริษัท และกลุ่ม Capital Reservoir ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนที่ตั้งอยู่ในนิวยอร์คและมีเงินทุนจำนวน 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยจำนวนพนักงานที่มีอยู่มากกว่า 1500 คนในสี่ทวีป บริษัทคอนทัวร์โกลบอลจึงได้พัฒนาและดำเนินงานด้านการก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ น้ำ ลม แสงอาทิตย์ มวลชีวภาพ ถ่านหิน และน้ำมันเชื้อเพลิง บริษัทได้พุ่งเป้าไปที่ตลาดที่เติบโตสูงแต่ยังขาดแคลนบางสิ่ง และช่องทางด้านนวัตกรรมภายในตลาดที่พัฒนาแล้ว ในปี 2011 เงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มจะอยู่ที่ประมาณ 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ http://www.contourglobal.com.
เกี่ยวกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (AfDB)
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกาเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี ซึ่งผู้ถือหุ้นประกอบด้วยประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาจำนวน 53 ประเทศ (เป็นประเทศสมาชิกที่อยู่ในภูมิภาค ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า RMCs) และอีก 24 ประเทศซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา (เป็นประเทศสมาชิกที่ไม่ได้อยูในภูมิภาค ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า non-RMCs) วัตถุประสงค์หลักของธนาคารคือเพื่อมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและความก้าวหน้าทางสังคมของประเทศสมาชิกในภูมิภาค ทั้งโดยเอกเทศและการร่วมมือกัน วัตถุประสงค์นี้บรรลุได้ด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินในขอบเขตที่กว้างขวางแก่โครงการและโปรแกรมต่างๆ ในด้านการพัฒนา โดยผ่านทาง (1) เงินกู้ยืมแก่ภาครัฐ (รวมถึงเงินกู้ยืมที่อยู่บนพื้นฐานของนโยบาย), เงินกู้ยืมแก่ภาคเอกชน, การรับประกัน และการลงทุนในหุ้น (equity investments) (2) จัดหาความช่วยเหลือด้านเทคนิคสำหรับโครงการและโปรแกรมต่างๆ ที่สนับสนุนช่วยเหลือต่อสถาบัน และ (3) ให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉิน การอนุมัติให้ความช่วยเหลือของธนาคารในปี 2010 มีจำนวนถึง 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยผ่านช่องทางภาคเอกชน ธนาคารได้จัดหาผลิตภัณฑ์ด้านการเงินในขอบเขตหนึ่งให้แก่ภาคเอกชน เพื่อเป็นองค์ประกอบที่สร้างความสมบูรณ์แก่ปฏิบัติการด้านการให้กู้ยืมเงินแบบดั้งเดิมของธนาคาร แก่รัฐบาลของประเทศต่างๆ รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเงินสำหรับหลายโครงการที่สามารถพัฒนาให้เติบโตได้ การอนุมัติให้ความช่วยเหลือแก่โครงการของภาคเอกชนจนถึงสิ้นสุดเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 นั้นเป็นจำนวนเงินถึง 7.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะพลังงานนั้นเป็นแก่นสำคัญของการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงานของหน่วยปฎิบัติงานภาคเอกชน (Private Sector Operations)
เกี่ยวกับ EAIF
กองทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งแอฟริกาที่เกิดใหม่ (Emerging Africa Infrastructure Fund หรือ EAIF) จัดตั้งขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2002 และในปัจจุบันนี้มีเงินทุนจากการก่อหนี้ระยะยาว (debt fund) จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หน่วยงานนี้เป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่สามารถจัดหาหนี้ระยะยาวในสกุลเงินยูโรหรือดอลลาร์สหรัฐฯ หรือการระดมทุนโดยเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป (mezzanine finance) อันตั้งอยู่บนข้อตกลงทางการค้า เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในด้านการก่อสร้างและพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานเอกชนใน 47 ประเทศทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา ภาคต่างๆ เหล่านี้รวมถึงโทรคมนาคม การขนส่ง น้ำและพลังงาน ขณะที่ EAIF ให้กู้ยืมบนข้อตกลงทางการค้าดังกล่าว หน่วยงานนี้ยังตั้งเป้าไปในการสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความยากจน, สร้างประโยชน์ต่อกลุ่มประชากรต่างๆ ที่หลากหลาย, จัดการประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความเสมอภาคและการมีส่วนร่วม อีกทั้งส่งเสริมสิทธิด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม
หน่วยงาน Frontier Markets Fund Managers ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของ ธนาคารสแตนดาร์ด มหาชน จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการ EIAF
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณเยี่ยมชมเวบไซต์ www.emergingafricafund.com
เกี่ยวกับ FMO
FMO หรือ บริษัทเงินทุนเพื่อการพัฒนาแห่งเนเธอร์แลนด์ คือธนาคารพัฒนาแห่งดัทช์ FMO สนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนของภาคเอกชน ในตลาดที่กำลังเติบโตในประเทศกำลังพัฒนา ด้วยการลงทุนในกิจการของผู้ประกอบการที่มีความพยายามสูง FMO เชื่อว่าภาคเอกชนที่เข้มแข็งนั้นนำไปสู่พัฒนาการด้านสังคมและเศรษฐกิจ ด้วยการเสริมกำลังผู้คนให้ใช้ทักษะต่างๆ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขา FMO พุ่งเป้าไปยังภาคต่างๆ สี่ภาคที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างสูง นั่นคือ ภาคสถาบันการเงิน ภาคพลังงาน ภาคที่อยู่อาศัย และภาคธุรกิจการเกษตร เนื่องจาก FMO มีกลุ่มหลักทรัพย์ในการลงทุน (investment portfolio) ถึง 5 พันล้านยูโร FMO จึงเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาภาคเอกชนทวิภาคีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเวบไซต์ www.fmo.nl
ที่มา บริษัทคอนทัวร์โกลบอล
ติดต่อ: บริษัทคอนทัวร์โกลบอล
William Barry
โทร. +1-212-307-2518
AfDB
Subha Nagarajan
โทร. +216-98-702-948
FMO
Rene de Sevaux
โทร. +31-70-314-9868
อีเมล [email protected] หรือ
Frontier Markets Fund Managers / Emerging Africa Infrastructure Fund
Orli Arav
โทร. +44-20-3145-8610 หรือ
Martijn Proos
โทร. +44-20-3145-8612
AsiaNet 46059
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า SME D Bank เดินหน้าภารกิจธนาคารเพื่อการพัฒนา จับมือกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ กรมสรรพากร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม "Nex Gen Commerce" จัดโครงการ "ทุนก็มี ภาษีก็รู้ ก้าวสู่ความยั่งยืน" เดินสาย Road Show ในรูปแบบ One Stop Service
EXIM BANK ร่วมประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในเอเชีย ครั้งที่ 29 สานพลังองค์กรพันธมิตรส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
—
ดร.รักษ์ วรกิจโภคา...
SME D Bank X True Space จัดเต็มมอบสิทธิประโยชน์เพื่อสมาชิกแพลตฟอร์ม DX ใช้พื้นที่ Co-Working ฟรี หนุนเพิ่มผลิตภาพ ยกระดับธุรกิจไร้ขีดจำกัด
—
ธนาคารพัฒนาวิ...
EXIM BANK เข้าพบหารือเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร และธนาคารในสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
—
นางวรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า...
EXIM BANK คว้ารางวัล Best Bank for Corporate & Social Responsibility (CSR) Thailand 2023 จาก International Business Magazine
—
EXIM BANK ได้รับรางวัล Best...
EXIM BANK คว้ารางวัล "องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนระดับดีเด่น ประจำปี 2566"
—
EXIM BANK ได้รับรางวัล "องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนระดับดีเด่น ประจำปี 2566...
SME D Bank เสิร์ฟวารสารออนไลน์ "SME D NEWS" เติมศักยภาพผู้ประกอบการ รู้ทันสถานการณ์ ยกระดับธุรกิจก้าวสู่โลกอนาคต
—
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแ...