รายงานวิชาการผลการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชนฯ ครั้งที่ 2 พบสัญญาณดี เยาวชนได้รับประโยชน์ สังคมเปิด “พื้นที่ - โอกาส” แสดงพลังสร้างสรรค์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--มูลนิธิสยามกัมมาจล

ตามที่มูลนิธิสยามกัมมาจลพร้อมด้วยภาคีเครือข่ายได้เห็นถึงความสำคัญของการเปิด “พื้นที่” และ “โอกาส” ให้เด็กและเยาวชนไทยได้แสดงความสามารถและพลังสร้างสรรค์ ตลอดจนการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพลังร่วมพัฒนาสังคมไทย โดยได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 1 ขึ้นเมื่อวันที่ 9 -11 ตุลาคม 2552 ณ ย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร และงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 – 8 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กรุงเทพฯ ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 – 7 สิงหาคม 2554 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง มูลนิธิสยามกัมมาจล พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายจัด งานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2 “แบ่งปัน...เพื่อเปลี่ยนแปลง” ได้จัดประชุมถอดบทเรียนการจัดงานฯ พร้อมหารือแนวทางการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 3 ขึ้น โดย ดร.สมศรี ศิริขวัญชัย คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าทีมวิชาการการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชนฯ ได้นำเสนอรายงานผลการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2 พบว่า จากการดำเนินการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการเป็น “พื้นที่” และ “การเปิดโอกาส” ให้เด็กและเยาวชนไทย ได้แสดง ศักยภาพ “เชิงบวก” ของตนให้สังคมได้รับทราบ และจุดประกายให้สังคมได้ตระหนักว่า “เยาวชนเป็นกลุ่มคนที่มีพลังสร้างสรรค์” ข้อค้นพบจากงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม พบด้วยว่า มหกรรมดังกล่าวยังถือเป็น พื้นที่ปฏิบัติการร่วมที่หลอมรวมองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน ให้เข้ามาร่วมกันกำหนดวิธีคิดและบูรณาการการเรียนรู้ในความหมายของพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคมร่วมกัน เพื่อสร้างพลังการทำงานแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม ทำให้เกิดแนวทางและรูปแบบเชิงบูรณาการที่นอกเหนือไปจากระบบโครงสร้างการทำงานแบบเดิมที่มุ่งเน้นความสำเร็จเฉพาะองค์กร แต่ต้องมุ่งแนวทางการทำงานเชิงเครือข่ายที่มีระดับความสัมพันธ์ทั้งในเชิงประเด็นเดียวกัน (bonding network) และเครือข่ายข้ามประเด็น (bridging network) นอกจากนี้ งานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ยังนับได้ว่าประสบความสำเร็จในแง่การเป็น เครื่องมือสร้างการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน ตลอดจนภาคีจัดงาน ผ่านกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความรู้สึกเป็นเจ้าของของงาน ส่งผลถึงการออกแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลาย ทั้งนิทรรศการมีชีวิต การแสดง เวิร์คช็อป และวงเสวนา เพื่อตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้แก่เยาวชนมากที่สุด ในหลายกิจกรรมได้ใช้ “วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้” และ “การลงมือปฏิบัติจริง” (Learning by Doing) เป็นตัวสร้างการเรียนรู้อย่างเข้มข้นและเข้าถึง “กล่าวโดยสรุป แม้ว่าการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิดหลักที่ว่า “แบ่งปัน... เพื่อเปลี่ยนแปลง” จะเป็นงานที่เน้นการสร้างและขยายพื้นที่การเรียนรู้ ตลอดจนเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความสามารถโดยได้ดำเนินการจัดงานในระยะเวลา 3 วัน หากแต่เป้าหมายและความสำเร็จที่เกิดขึ้น แท้จริงคงไม่ได้อยู่เพียงแค่การจัดงานในความหมายของการแสดง (Show) ในช่วง 3 วันเท่านั้น เพราะการขับเคลื่อนกิจกรรมในประเด็นต่างๆ ได้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และบางประเด็นได้ตกผลึกและขยายผลการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องสู่ประเด็นใหม่ๆ ดังนั้น การจัดงานมหกรรมฯ จึงน่าจะเป็นการจุดประกายความสนใจ (Sparking) ของสังคมและคนทั่วไปให้เห็นพลังของเด็กว่าไม่ใช่เรื่องเด็กๆ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างพื้นที่ทางโอกาสและเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนได้แสดงออกซึ่งความสามารถที่มีอยู่” ทีมวิชาการกล่าว ทั้งนี้ ภายในการประชุมถอดบทเรียนการจัดงานฯ และหารือแนวทางการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 3 ภาคีการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคมในประเด็นต่างๆ ยังได้ร่วมกันย้อนวิเคราะห์แนวทางและผลของการขับเคลื่อนมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคมทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา จากนั้นจึงร่วมกันสังเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งต่อไปผ่านกระบวนการ “การประเมินผลแบบเสริมพลัง” (Empowerment Evaluation: EE) โดยมีทีมวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒดำเนินการจัดกระบวนการเสริมศักยภาพการทำงานและการเรียนรู้ ก่อนเปิดเวทีให้องค์กรภาคีแต่ละเครือข่ายประเด็นสะท้อนแนวทางและรูปแบบการทำงานที่จะใช้ขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนของตนในระยะต่อไปเป็นการปิดท้าย นางสาวนันทินี มาลานนท์ ผู้จัดการศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้แทนประเด็นพลังเยาวชนพลเมืองอาสานำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาเยาวชนของกลุ่มโดยกล่าวว่า ทางกลุ่มมีแนวทางการขับเคลื่อนใน 2 แนวทางหลัก คือ 1.การยกระดับให้สังคมมีความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องจิตอาสามากขึ้น โดยไม่จำกัดเฉพาะเรื่องของการทำความดี แต่เชื่อมโยงไปถึงการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น และ 2.การผลักดันให้เกิดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างองค์กรเครือข่ายจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุดเครื่องมือและองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาเยาวชน ขณะเดียวกันภาคีเครือข่ายจิตอาสายังเสนอให้มีคณะทำงานกลางซึ่งจะเป็นผู้เฝ้าติดตามและกำหนดวาระสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับชาติ ตลอดทั้งให้มีคณะทำงานระดับภูมิภาคทำงานคู่ขนานกันไปอีกด้วย “ในงานมหกรรมพลังเยาวชนฯ สิ่งที่ภาคีเห็นความสำคัญเหมือนๆ กันคือ เรื่องของการเรียนรู้ และเรื่องของกระบวนการเรียนรู้ จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ที่นี่ไม่เหมือนที่อื่นๆ ที่นี่เราทำงานพัฒนาเด็กและเยาวชนกันบนพื้นฐานของความรู้ เราไม่ได้แค่ให้โอกาสเยาวชนมาแสดง แต่เราชี้ให้เขาเห็นคุณค่าของสิ่งที่เขาทำด้วยว่ามันคืออะไร และสิ่งเหล่านี้มันคือการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงจากภายในมาสู่ภายนอก” ผู้แทนประเด็นพลังเยาวชนพลเมืองอาสากล่าว นายเปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ ชมรมเยาวชนคนสร้างหนังแห่งประเทศไทย ผู้แทนประเด็นพลังเยาวชน คนไอซีที นำเสนอว่า ภาคีเครือข่ายประเด็นไอซีทีจะใช้แนวทางการจัดค่ายเยาวชนเพื่อเฟ้นหาเยาวชนที่มีศักยภาพ และพัฒนาต่อยอดให้ขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญของเครือข่าย อาทิ การเป็นผู้นำกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เยาวชนอื่นๆ ในเวลาเดียวกันจะจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายมหกรรมพลังเยาวชนฯ ให้สามารถนำเครื่องมือไอซีที เช่น หนังสั้น เป็นสื่อในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเด็นต่างๆ นายสุรินทร์ วราชุน เจ้าหน้าที่อาวุโส องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ผู้แทนประเด็นพลังเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทางกลุ่มมีเป้าหมายร่วมกันที่จะทำให้เกิดเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้มแข็งกระจายตัวกันทำกิจกรรมอยู่ในชุมชนท้องถิ่นของตนเองในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และภายใน 3 ปีข้างหน้า เยาวชนกลุ่มนี้จะสามารถเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันได้เป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง โดยระหว่างนี้ องค์กรภาคีด้านสิ่งแวดล้อมจะได้แสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เพิ่มเติม จากนั้นจึงร่วมกันวางแผนการทำงาน รวมถึงการจัดเวิร์คช็อปรับฟังความต้องการของเยาวชนเพื่อวางหลักสูตรการขับเคลื่อนงานร่วมกันในอนาคต ส่วน นายวิกรม เสือดี ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้แทนประเด็นพลังเยาวชน พลังท้องถิ่น นำเสนอว่า ทางกลุ่มจะกลับไปจัดเวทีสังเคราะห์องค์ความรู้ของเด็กและเยาวชนในชุมชนท้องถิ่นเพื่อนำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและหนุนเสริมการทำงานของเยาวชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงนำผลที่ได้นั้นไปหารือร่วมกันในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนทำงานในระดับภูมิภาคก่อนสังเคราะห์เป็นแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานของมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ประเด็นพลังเยาวชน พลังท้องถิ่น ครั้งต่อไป “ทางกลุ่มของเรามีเป้าหมายใช้งานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม เป็นเวทีสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กและเยาวชนได้นำประสบการณ์กลับไปทำงานต่อให้ดีขึ้น” ผู้แทนประเด็นพลังเยาวชน พลังท้องถิ่นกล่าว สุดท้ายที่ประเด็นพลังเยาวชน พลังแห่งการเรียนรู้ นายพิสิทธิ์ สุพล มูลนิธิเพื่อเพื่อนมูลนิธิแบะเพื่อนอาสา เป็นผู้แทนนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาเยาวชนว่า ภาคีเครือข่ายประเด็นพลังเยาวชน พลังแห่งการเรียนรู้จะมีการทบทวน สำรวจทุนเดิมที่มีอยู่ ตลอดจนถอดบทเรียน และสรุปองค์ความรู้ของกลุ่มเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อน และส่วนหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการเผยแพร่สร้างการเรียนรู้แก่สังคมอีกทางหนึ่งด้วย สำหรับผู้สนใจติดตามและต้องการทราบรายละเอียดของงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม เพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์มหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม www.thailandyouthfestival.com โดยจะมีการรายงานความคืบหน้าของการเตรียมการจัดงานมหกรรมพลังเยาวชน พลังสังคม ครั้งที่ 3 ให้สาธารณชนรับทราบเป็นระยะๆ สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวหอจดหมายเหตุพุทธทาส+มูลนิธิสยามกัมมาจลวันนี้

LIBERATOR จัดกิจกรรม "LIB for Society" บริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเชียงราย ผ่านหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ)

จากสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือที่เกิดจากพายุฝนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำป่าและน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ทั้งด้านการดำรงชีวิต การคมนาคม และความเสียหายของบ้านเรือน บริษัทหลักทรัพย์ Liberator จึงได้จัดกิจกรรม "LIB for Society" เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา บล.ลิเบอเรเตอร์ นำโดย นางสาววริศรา เกิดสังข์ Chief Financial Officer พร้อมทีมงาน ได้รวบรวม และ บริจาคสิ่งของจำเป็น เช่น อาหารแห้ง น้ำดื่ม

ไทยพีบีเอส จับมือ 10 องค์กรภาคีเครือข่าย ... ไทยพีบีเอส จับมือ 10 องค์กรภาคีเครือข่าย เปิดตัวโครงการ Happyland แดน (เคย) สุขใจ — ไทยพีบีเอส จับมือ 10 องค์กรภาคีเครือข่าย ทวงคืนรอยยิ้มคนไทย เปิดตัวโคร...

"สวนโมกข์กรุงเทพ" ชวนร่วมเจริญสติเพื่อต้อ... "สวนโมกข์กรุงเทพ" ชวนร่วมเจริญสติ กับกิจกรรม 12 วันสุดท้ายของปีต้อนรับปีใหม่ 2566 — "สวนโมกข์กรุงเทพ" ชวนร่วมเจริญสติเพื่อต้อนรับปีใหม่า 2565 ตั้งแต่วันที...

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคมนี้เตรียมพบกับอีกหน... สวนโมกข์กรุงเทพ ชวนเรียนรู้ธรรมะผ่านบทเพลง มินิคอนเสิร์ต ธรรมะ 9 ตา/ 9 eyes on arts — วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคมนี้เตรียมพบกับอีกหนึ่งกิจกรรม 9 eyes on arts :...

#ล้ออายุ๑๑๖ ปีพุทธทาส จัดโดย สวนโมกข์กรุง... "สวนโมกข์กรุงเทพ" เตรียมจัดกิจกรรม "ล้ออายุ๑๑๖ ปีพุทธทาส" และ "บันดาลใจให้สตรี" ครั้งที่ ๒ — #ล้ออายุ๑๑๖ ปีพุทธทาส จัดโดย สวนโมกข์กรุงเทพ ในวันศุกร์ที่ ๒๗...

เสวนาเรื่อง ความหมายของคำว่า แม่ หัวข้อ "... สวนโมกข์กรุงเทพ จัดเสวนา "ความหมายของคำว่า แม่" วันที่ ๙ ส.ค.๖๔ — เสวนาเรื่อง ความหมายของคำว่า แม่ หัวข้อ "แม่ที่ท่านยังไม่รู้จัก" วันจันทร์ ๙ สิงหาคม ๒๕๖...