สรุปสถานการณ์มาตรการ AD/CVD/SG ของไทยในปี 2554

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--คต.

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสถานการณ์ด้านการปกป้องและตอบโต้ทางการค้าของไทยทั้งในเชิงรุกและรับ ณ เดือนธันวาคม 2554 ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้มาตรการ AD กับสินค้า 8 รายการที่นำเข้าจาก 17 ประเทศ และใช้มาตรการ SG กับการนำเข้าสินค้าบล็อกแก้วชนิดใส สำหรับมาตรการ CVD ยังไม่ได้มีการใช้กับสินค้าจากประเทศใด โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping measure: AD) กับสินค้า 6 รายการที่นำเข้าจาก 16 ประเทศ ในปี 2554 ประเทศไทยได้มีการใช้มาตรการ AD เพิ่มขึ้นรวม 2 สินค้าจาก 2 ประเทศ คือ สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและมาเลเซีย และสินค้ากระเบื้องปูพื้นหรือติดผนังที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้มาตรการ AD กับสินค้าที่นำเข้ารวม 8 สินค้าจาก 17 ประเทศ โดยเป็นการใช้มาตรการ AD กับประเทศจีนมากที่สุด นอกจากนี้ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการทบทวนความจำเป็นในการใช้มาตรการ AD ต่อไปกับสินค้า 2 รายการคือ สินค้าเหล็กโครงสร้างหน้าตัดรูปตัว H (เหล็ก H-Beam) และสินค้ากรดซิทริก (กรดมะนาว) จากจีน และอยู่ในระหว่างการไต่สวนเพื่อกำหนดมาตราการ AD กับสินค้าที่นำเข้าอีก 5 รายการจาก 5 ประเทศ สำหรับมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard measure: SG) ประเทศไทยได้มีการใช้มาตรการเป็นครั้งแรกในปี 2554 กับสินค้าบล็อกแก้วซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมจากทุกประเทศ ยกเว้นประเทศกำลังพัฒนา ในส่วนของประเทศคู่ค้าที่มีการใช้มาตรการ AD มาตรการ CVD และมาตรการ SG กับสินค้าของไทย ณ เดือนธันวาคม 2554 สินค้าไทยถูกใช้มาตรการ AD รวม 54 รายการจาก 16 ประเทศ โดยประเทศที่ใช้มาตรการ AD กับสินค้าไทยมากที่สุดคืออินเดีย รองลงมาคือสหภาพยุโรปและตุรกี โดยสินค้าที่ถูกใช้มาตรการมากที่สุดคือสินค้าประเภทด้าย เส้นใยสังเคราะห์และเรซิ่น สำหรับมาตรการ CVD มี 1 รายการ คือเหล็กแผ่นรีดร้อนจากสหรัฐอเมริกา และถูกใช้มาตรการ SG สินค้า 5 รายการจาก 2 ประเทศ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลก ประเทศต่าง ๆ จะมีแนวโน้มในการใช้มาตรการ AD/CVD/SG ต่อกันมากขึ้นเพื่อปกป้องเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศตนเอง ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตและ/หรือผู้นำเข้าจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจหลักเกณฑ์และขั้นตอนในกระบวนการไต่สวนเพื่อสามารถใช้สิทธิ์ในการปกป้อง สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ส่งออกควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย AD/CVD/SG ของประเทศคู่ค้าเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม โดยไม่ควรกำหนดราคาขายส่งออกต่ำเกินไปจนสร้างความเสียหายแก่ประเทศผู้นำเข้า หรือหากมีการส่งออกไปในปริมาณที่เพิ่มขึ้นก็ขอให้เพิ่มความระมัดระวัง เพราะอาจถูกประเทศคู่ค้าเปิดการไต่สวนได้ นอกจากนี้ผู้ผลิตและ/หรือผู้ส่งออกไทยควรให้ความร่วมมือในกระบวนการไต่สวน เช่น การตอบแบบสอบถาม การให้ข้อมูล เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการใช้สิทธิ์เพื่อปกป้องตนเอง ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการ AD/CVD/SG ได้ที่เว็ปไซด์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th

ข่าวสุรศักดิ์ เรียงเครือ+กรมการค้าต่างประเทศวันนี้

รัสเซียยกเลิกการขอ Veterinary Certificate ในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัสเซียได้ออกระเบียบ The Decision of the Customs Union Commission No. 810 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2554 เพื่อกำหนดให้หน่วยงาน Federal Service for Veterinary and Phytosanitary Surveillance (VPSS) ยกเลิกการขอเอกสาร Veterinary Certificate ในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวไรย์ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ท ข้าวโพด ถั่วเหลือง และกากของพืชน้ำมันอื่น ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ เป็นต้น รายละ

คต. เตือนผู้ประกอบการไทยปรับตัวรับมือ การพัฒนาคุณภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีน

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จีนได้เริ่มให้ความสำคัญคุณภาพ มาตรฐานของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานสินค้าดังกล่าว...

Ecomark ของอินเดีย

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานมาตรฐานของอินเดีย (Bureau of Indian Standards: BIS) ได้ประกาศใช้ฉลาก Ecomark รับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตั้งแต่ปี 2534 เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักและให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่ง...

อียูแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการปล่อย GHG ในการขนส่งทางเรือ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 คณะกรรมาธิการด้าน Climate Action ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) ในสาขาการขนส่งทางเรือ ดังนี้ 1...

สหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรสินค้า 9 รายการ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หน่วยงานศุลกากรของสหรัฐฯ (Customs and Border Protection : CBP) ได้ทบทวนพิกัดศุลกากรสินค้า 9 รายการ และได้ปรับเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องลักษณะที่เป็นจริงของสินค้า ดังนี้...

ฉลากสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (Environmental Protection Agency: EPA) ได้ประกาศใช้ฉลากประหยัดพลังงาน (Energy Star) มาตั้งแต่ปี 2535 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงาน...

อียูประกาศสารเคมีอันตรายเพิ่ม

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 สหภาพยุโรป (EU) ได้ออกระเบียบ Commission Regulation (EU) No 109/2012 กำหนดให้สารประกอบในกลุ่ม Boron (Boron Compounds) เป็นสารเคมีอันตราย ที่ผ่านมามีการ...

ตรวจสอบโรงงานอาหารทะเลก่อนส่งออกไปประเทศอาร์เจนตินา

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หน่วยงาน SENASA ของประเทศอาร์เจนตินาพอใจเป็นอย่างมากในการตรวจสอบโรงงานอาหารทะเลของไทย และคาดว่าไทยน่าจะได้รับข่าวดีในเร็ววันนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าด้านอาหาร ...

คต. แจ้งเตือนภาคอุตสาหกรรมไทย

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 หน่วยงานจัดการสารเคมีสหภาพยุโรป (ECHA) ได้ประกาศเตือนภาคอุตสาหกรรมเพื่อเตรียมจดทะเบียนสารเคมีจำนวน 2,300 รายการที่มีการผลิตหรือนำเข้ามาในสหภาพยุโรป (EU) ...

คต. ดันใช้ประโยชน์ FTA ปี 54 ยอดทะลุ 4 หมื่นล้านเหรียญ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์ส่งออกภายใต้ความตกลง FTA ในปี 2554 มีมูลค่าสูงถึง 39,944.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 กว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ...