(Cloud Computing in Asia Pacific: The Annual Cloud Maturity Index)
เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นมีความสำคัญสำหรับเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง
องค์กรต่างๆ ปรับใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อพัฒนาการใช้ทรัพยากร ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความยืดหยุ่น
ความกังวลเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวส่งผลให้ไฮบริด คลาวด์ได้รับความนิยมมากขึ้น
วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกในด้านเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยจากรายงาน คลาวด์คอมพิวติ้งในเอเชีย แปซิฟิก: ดัชนีรายปีชี้วัดพัฒนาการของคลาวด์ (Cloud Computing in Asia Pacific: The Annual Cloud Maturity Index) ฟอร์เรสเตอร์ คอนซัลติ้ง จัดทำขึ้นในนามของวีเอ็มแวร์ เมื่อเดือนตุลาคม 2554
การศึกษาดังกล่าว ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่สอง โดยผลการศึกษาล่าสุดระบุว่า 90 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในเมืองไทย เชื่อว่าคลาวด์ คอมพิวติ้งมีความเกี่ยวข้องกับบริษัทของตน และ 32 เปอร์เซ็นต์ระบุว่ากำลังดำเนินโครงการคลาวด์อยู่ เพิ่มขึ้นจาก 21 เปอร์เซ็นต์เมื่อ 12 เดือนที่แล้ว นอกจากนี้ 40 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรกำลังวางแผนอย่างจริงจังสำหรับการดำเนินโครงการคลาวด์ ถือเป็นหนึ่งในอัตราที่สูงที่สุดจาก 8 ประเทศในเอเชีย แปซิฟิกที่ทำการศึกษาในครั้งนี้
คลาวด์ คอมพิวติ้งเชื่อมโยงกับความยืดหยุ่นและการประหยัดค่าใช้จ่าย
เมื่อกล่าวถึงความสนใจในเวอร์ช่วลไลเซชั่นสำหรับความสามารถทางด้านเซิร์ฟเวอร์และดาต้าเซ็นเตอร์ (84 เปอร์เซ็นต์) และศักยภาพในการสนับสนุนความต่อเนื่องในการดำเนินงานและการกู้คืนระบบ (76 เปอร์เซ็นต์) ปรากฏว่า 74 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรคิดว่าเวอร์ช่วลไลเซชั่นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรองรับระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง
ปัจจัยหลักที่ผลักดันในเรื่องนี้ได้แก่ ความสามารถในการใช้ทรัพยากรไอทีร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (89 เปอร์เซ็นต์), การเสียค่าใช้จ่ายสำหรับทรัพยากรไอทีตามปริมาณการใช้งานจริง (89 เปอร์เซ็นต์) และการเพิ่มความยืดหยุ่น (86 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ การประหยัดค่าใช้จ่ายยังถือเป็นภารกิจสำคัญสำหรับองค์กร 74 เปอร์เซ็นต์ในเมืองไทย สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาคที่ 55 เปอร์เซ็นต์
“ผลการศึกษา Annual Cloud Maturity Index แสดงให้เห็นว่าองค์กรของไทยมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับประโยชน์ทางธุรกิจที่จะได้รับจากเวอร์ช่วลไลเซชั่นและคลาวด์คอมพิวติ้ง” ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของวีเอ็มแวร์ กล่าว “จากการเกิดอุทกภัยในเมืองไทยส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและการเดินทางของพนักงาน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของโซลูชั่นการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานและการกู้คืนระบบโดยอาศัยเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น และเราคาดว่าแนวโน้มนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
ไฮบริด คลาวด์ได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้น
บริษัทส่วนใหญ่ในเมืองไทยระบุถึงแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับการใช้หรือพิจารณาการผสมผสานระบบคลาวด์แบบไพรเวทและพับบลิค (39 เปอร์เซ็นต์) หรือการใช้ไพรเวท คลาวด์ (44 เปอร์เซ็นต์) ส่วนการใช้พับบลิค คลาวด์ได้รับความนิยมน้อยที่สุด (7 เปอร์เซ็นต์) เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลและแอพพลิเคชั่นภายในองค์กร
นอกจากนี้ จากผลการศึกษา Annual Cloud Maturity Index คาดว่าบทบาทของผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะเปลี่ยนไปขณะที่มีการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์อย่างต่อเนื่อง ที่จริงแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าผู้ให้บริการโฮสติ้งจะมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มมากขึ้นภายในองค์กร
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การดูแลรักษา การสูญหาย และการควบคุม คืออุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการปรับใช้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง (7.6 จาก 10) นับว่าสอดคล้องกับส่วนอื่นๆ ในภูมิภาค เมื่อกล่าวถึงการสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ สำหรับคลาวด์โดยเฉพาะ ประเด็นที่น่ากังวลใจมากที่สุดก็คือ ความปลอดภัย และการสูญเสียการควบคุม (8.1 จาก 10)
“ความกังวลใจในเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวและความปลอดภัยส่งผลให้ผู้ตอบแบบสอบถามในเมืองไทยให้ความสนใจในรูปแบบไฮบริด คลาวด์มากกว่า” ดร. ชวพล กล่าว “วีเอ็มแวร์เชื่อว่าการผนวกรวมข้อมูลอย่างกลมกลืนระหว่างระบบคลาวด์แบบพับบลิค, ไพรเวท และไฮบริด นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากคลาวด์ คอมพิวติ้ง คู่ค้าในโครงการ VMware Service Provider Program จะช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากการจัดหาโซลูชั่นระดับองค์กรและเครื่องมือการจัดการอย่างปลอดภัย ซึ่งทำงานร่วมกันอย่างโปร่งใสบนสภาพแวดล้อมคลาวด์ที่แตกต่างหลากหลาย”
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวีเอ็มแวร์ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กรุณาเยี่ยมชม www.vmware.com/ap.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
รีเบคคา วอง ภัทธิรา บุรี / คุณอุทัยวรรณ ชูชื่น
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสัมพันธ์ วีเอ็มแวร์ ภูมิภาคอาเซียน บริษัท พีอาร์ วัน เน็ทเวิร์ค จำกัด
อีเมล์:
[email protected] อีเมล์:
[email protected],
[email protected]
โทรศัพท์ +65 6501 2135 โทรศัพท์ 0-2937-4518-9