ไทยคมภูมิใจเป็นบริษัทไทยและบริษัทแรกในเอเชีย ที่ได้รางวัลจากกระทรวง MIC ในวันคลื่นวิทยุแห่งชาติของญี่ปุ่น จากการช่วยเหลือในเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่และไต้ฝุ่น No.12

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--ไทยคม

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ประกาศในวันนี้ว่า บริษัท ไอพีสตาร์ จำกัด สาขาประเทศญี่ปุ่น ได้รับรางวัล Director General Award จากสำนักงานกิจการโทรคมนาคมเขตคันโต กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร (Ministry of Internal Affairs and Communications: MIC) ของประเทศญี่ปุ่น เนื่องในโอกาสวันคลื่นวิทยุแห่งชาติ (Radio Wave Day) ประจำปี 2555 จากผลงานของไอพีสตาร์ ในการรักษาโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารในบริเวณพื้นที่ภัยพิบัติจากการเกิดแผ่นดินไหวทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นและจากพายุไต้ฝุ่นหมายเลข 12 ในปี 2554 โดยระบบไอพีสตาร์สามารถทำให้ระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือกว่า 600 สถานีให้กลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วในภาวะวิกฤติทั้งสองเหตุการณ์ ทั้งนี้ ไอพีสตาร์เป็นบริษัทแรกในเอเชียที่ได้รับรางวัลดังกล่าวในวันคลื่นวิทยุแห่งขาติของ MIC ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 62 ปี พิธีมอบรางวัลในวันคลื่นวิทยุแห่งชาติของ MIC ครั้งนี้ จัดขึ้นที่สำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งเขตคันโต กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร ณ กรุงโตเกียว โดยมี นายยาซูชิ โยชิดา ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการโทรคมนาคมเขตคันโต เป็นประธานในพิธี และ นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไอพีสตาร์ จำกัด (สาขาประเทศญี่ปุ่น) เป็นผู้รับมอบรางวัล นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม กล่าวว่า "บริษัทฯรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักงานกิจการโทรคมนาคมเขตคันโตในวันนี้ และที่สำคัญที่สุดคือเราเป็นบริษัทของไทยและเป็นบริษัทแรกในเอเชียที่ได้รับรางวัลดังกล่าวใน “วันคลื่นวิทยุแห่งชาติ ครั้งที่ 62” ของประเทศญี่ปุ่น บริษัทฯได้เริ่มให้บริการบรอดแบนด์ไอพีสตาร์ในประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 2552 โดยญี่ปุ่นเป็นตลาดที่สำคัญของไอพีสตาร์และต้องขอขอบคุณลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่มอบความไว้วางใจในบริการของเราตลอดมา” “ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเขตคันโตเมื่อปี 2554 ไอพีสตาร์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่าเป็น backhaul solution ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการกู้คืนระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยเราใช้ไอพีสตาร์เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เป็นสถานีฐานขนาดเล็ก (Femto cell) เพื่อใช้เป็นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G ชั่วคราวให้กับผู้ประกอบการมือถือรายใหญ่ของญี่ปุ่นทั้งสี่รายได้ทันทีในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากการที่บริษัทฯได้มีโอกาสเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤตดังกล่าว ทำให้บริษัทฯมุ่งมั่นที่จะรักษาคุณภาพบริการของไอพีสตาร์ เพื่อประโยชน์แก่ประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องต่อไป"นางศุภจีกล่าวเพิ่มเติม ปัจจุบัน ลูกค้าไอพีสตาร์ในญี่ปุ่นประกอบด้วยผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ 3 ราย ได้แก่ SoftBank Mobile Corporation, KDDI Corporation และ NTT DoCoMo, Inc ซึ่งใช้ไอพีสตาร์เป็น backhaul solution เพื่อให้บริการด้านเสียงและข้อมูลโทรศัพท์มือถือ 3G และใช้ในการจัดการกู้คืนระบบสื่อสารช่วงภัยพิบัติ ซึ่งโมเดลการใช้ไอพีสตาร์เชื่อมต่อเข้ากับสถานีฐานขนาดเล็กเช่นที่ญี่ปุ่นนี้ (IPSTAR-Femto cell Model) ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งอาจจะนำโมเดลดังกล่าวไปให้บริการในลักษณะเดียวกันกับที่ญี่ปุ่น บมจ.ไทยคม เป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีผู้ถือหุ้นไทยร้อยละ 95.02 มีกลุ่มอินทัช (บมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่น) เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ร้อยละ 41.14 และมีผู้ถือหุ้นรายย่อยร้อยละ 58.86 ทั้งนี้ มีจำนวนผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยกว่า 11,000 ราย (ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555) บริษัทฯ มีแผนจะจัดส่งดาวเทียมไทยคม 6 ในปี 2556 และดาวเทียมไทยคม 7 ในปี 2557 ตามลำดับ สำหรับดาวเทียมไทยคม 7 กำลังอยู่ในขั้นตอนการขอใบอนุญาตจากสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นางศุภจีกล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัทฯ ดำเนินการโครงการดาวเทียมไทยคม 7 ตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสามารถรักษาสิทธิ์ของประเทศไทยในตำแหน่งวงโคจรที 120 องศาตะวันออก นับเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทฯ อีกวาระหนึ่ง ที่ได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศในฐานะที่เป็นบริษัทมหาชนของคนไทย และบริษัทฯ เชื่อมั่นว่า กสทช. จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทฯ ได้ในเร็ววันนี้ เพราะบริษัทฯ ได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขและมีคณสมบัติครบถ้วนทุกประการในการที่จะเป็นผู้ประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารของไทย” -กผ-

ข่าวกิจการโทรคมนาคม+ประเทศญี่ปุ่นวันนี้

NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าวความพร้อมทดสอบการแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจกา... สำนักงาน กสทช. จัดกิจกรรมเชิญชวนประชาชนสมัครใช้ Mobile ID 2025 — สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน ก...

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจกา... สำนักงาน กสทช. จัดกิจกรรมเชิญชวนประชาชนสมัครใช้ Mobile ID 2025 — สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน ก...

กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจก... กทปส.จัดแสดงนิทรรศการโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก กทปส. ในงาน "BTFP Showcase 2024" — กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมน...