การประชุมครั้งสำคัญด้านการวางแผนครอบครัวพุ่งเป้าไปที่สุขภาพของผู้หญิงทั่วโลก

12 Jul 2012

ลอนดอน--12 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์—ยูเอสนิวส์ไวร์ / อินโฟเควสท์


ผู้นำระดับโลกได้มารวมตัวกัน เพื่อช่วยให้ผู้หญิง 120 ล้านคนในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกได้เข้าถึงยาคุมกำเนิดภายในปี 2563


บริการวางแผนครอบครัวตามความสมัครใจ จะสามารถเปิดให้บริการแก่ผู้หญิงและเด็กหญิงอีกกว่า 120 ล้านคนในกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกภายในปี 2563 เนื่องจากพันธกิจล่าสุดที่ได้มีการประกาศร่วมกันในวันนี้โดยผู้นำจากประเทศผู้บริจาคและประเทศกำลังพัฒนา องค์กรระหว่างประเทศ ประชาสังคม มูลนิธิ และภาคเอกชน


การประกาศเจตนารมณ์ดังกล่าวมีขึ้นในการประชุม London Summit on Family Planning ซึ่งร่วมเป็นเจ้าภาพโดยฝ่ายการพัฒนาในต่างประเทศของรัฐบาลอังกฤษและมูลนิธิบิล แอนด์ เมลินดา เกตส์ โดยความพยายามที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นนี้ได้บ่งชี้ถึงความก้าวหน้าของนวัตกรรมความร่วมมือและความเป็นผู้นำระดับประเทศที่จะเพิ่มอำนาจให้กับผู้หญิง เพื่อให้บรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเอง การประชุมยังได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการเข้าถึงยาคุมกำเนิดทั้งในด้านสิทธิและสุขภาพ ตลอดจนการกำหนดวาระในด้านการพัฒนา


นายแอนดรูว์ มิทเชลล์ เลขาธิการองค์การเพื่อการพัฒนาในต่างประเทศแห่งรัฐ กล่าวว่า “นี่เป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่เด็กหญิงและผู้หญิงในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก จะได้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงชีวิตทั้งในปัจจุบันและรุ่นต่อๆ ไป พันธกิจของที่ประชุมสุดยอดในวันนี้จะช่วยสนับสนุนสิทธิของผู้หญิงในการตัดสินใจอย่างเสรี เพื่อตนเอง และตัดสินใจว่า จะมีลูกหรือไม่ และจะมีลูกกี่คน หรือมีเมื่อไหร่”


“การช่วยให้ผู้หญิงอีกกว่า 120 ล้านคนในกลุ่มประเทศยากจนที่สุดในโลกเข้าถึงและใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้หญิงในประเทศพัฒนาแล้วทำได้ จะช่วยคุ้มครองชีวิตของอีกหลายล้านคนและช่วยให้เด็กหญิงและผู้หญิงได้ตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของตนเอง”


ภายในปี 2563 เจตนารมณ์ที่ร่วมกันประกาศในวันนี้ จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงในระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้ 200,000 คน และอีกกว่า 110 ล้านคนที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ และกว่า 50 ล้านคนจากการทำแท้ง และเด็กอีกกว่า 3 ล้านคนที่เสียชีวิตในขวบปีแรก


เมลินดา เกตส์ ประธานร่วมของมูลนิธิบิล แอนด์ เมลินดา เกตส์ กล่าวว่า “ในการเดินทางไปพบปะและพูดคุยกับผู้หญิงทั่วโลก ผู้หญิงเหล่านั้นบอกกับฉันว่าการเข้าถึงยาคุมกำเนิดนั้น มีหลายครั้งที่สามารถกำหนดความเป็นความตายได้ วันนี้เราต้องรับฟังความคิดเห็นของพวกเขาในเรื่องการบรรลุซึ่งความปรารถนาของพวกเขา และให้อำนาจกับพวกเขาในการสร้างชีวิตที่ดีกว่าของตนเองและครอบครัว”


การประชุมสามารถระดมทุนเพื่อมอบยาคุมกำเนิดให้กับผู้หญิง 120 ล้านคน และคาดว่าอาจจะต้องใช้วงเงิน 4.3 พันล้านดอลลาร์ และมีประเทศกำลังพัฒนากว่า 20 ประเทศเข้าร่วมพันธกิจอย่างกล้าหาญในการแก้ปัญหาด้านนโนบาย การระดมทุน และอุปสรรคของผู้หญิงในการเข้าถึงข้อมูลยาคุมกำเนิด บริการ และ การรับยา ในขณะที่ประเทศผู้บริจาคได้เข้าร่วมพันธกิจเรื่องการเงินเพื่อสนับสนุนแผนต่างๆ เป็นจำนวนเงิน 2.6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นยอดที่สูงกว่าเป้าหมายทางการเงินของการประชุม


วิธีการเข้าถึงยาคุมกำเนิดอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพถูกมองว่าเป็นหนึ่งในการลงทุนที่มีประสิทธิภาพด้านต้นทุนมากที่สุดที่ประเทศต่างๆ สามารถทำได้เพื่ออนาคตของตนเอง ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่มีการนำมาลงทุนในบริการวางแผนครอบครัวให้ผลตอบแทนสูงถึง 6 ดอลลาร์ในการคุ้มครองเรื่องสุขภาพ ที่อยู่อาศัย ทรัพยากรน้ำ และ บริการสาธารณูปโภคอื่นๆ


นอกจากนี้ การใช้ยาคุมกำเนิดยังนำไปสู่การศึกษาที่สูงขึ้นและช่วยให้เด็กผู้หญิงมีโอกาสมากขึ้น ตลอดจนยุติวัฏจักรของความยากจนของเด็กหญิงและครอบครัว โดยเกือบหนึ่งในสี่ของเด็กหญิงในเขตทะเลทรายซาฮาราของแอฟริกาต้องเลิกเรียนกลางคันอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งนับเป็นการบั่นทอนศักยภาพในการมีชีวิตที่ดีกว่าทั้งของตนเองและบุตร


การประชุมได้กระตุ้นให้ชุมชนทั่วโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเรียกร้องให้จัดหาโซลูชั่นนวัตกรรมและความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างภาครัฐ และเอกชนและให้ความสำคัญกับผู้หญิงเป็นอันดับแรกพันธกิจที่ประกาศในวันนี้ จะช่วยให้ผู้หญิงมีทางเลือกมากขึ้น เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และมีสุภาพที่ดีขึ้น


การประชุม London Summit on Family Planning ได้รับการสนับสนุนและผลักดันโดยเลขาธิการสหประชาชาติด้านกลยุทธ์เพื่อสุขภาพสตรีและเด็กทั่วโลก ภายใต้คำขวัญ “Every Woman Every Child” และการพัฒนานวัตกรรมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และ สังคม ผ่านโครงการ Reproductive Health Supplies Coalition การประชุมยังสอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานของการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา (International Conference on Population and Development: ICPD) เมื่อเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา


สื่อประกอบข่าวประชาสัมพันธ์นี้ซึ่งรวมไปถึงวิดีโอและรูปภาพสามารถดูได้ที่ http://gatesfoundation.org/press-room/Pages/news-market.aspx


รายละเอียดผู้บริจาคที่ร่วมพันธกิจสามารถดูได้ที่ http://www.londonfamilyplanningssummit.co.uk/media.php#media-kit


หมายเหตุถึงบรรณาธิการ


ประมาณการณ์ทุนทรัพย์ที่จำเป็นต่อการดำเนินการอย่างยั่งยืนในปัจจุบันสำหรับการใช้ยาคุมกำเนิดของผู้หญิง 260 ล้านคน ในประเทศที่ยากจนที่สุด 69 ประเทศ อยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงระยะเวลา 8 ปี ระหว่างปี 2555-2563 ทุนทรัพย์เหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่จัดเตรียมโดยรัฐบาลผ่านงบประมาณด้านสุขภาพและได้รับสมทบจากผู้บริโภคและผู้บริจาคจากภายนอกประเทศ จำเป็นต้องมีความยั่งยืน การเข้าถึงผู้หญิงอีก 120 ล้านคนจะต้องใช้ทุนทรัพย์เทียบเท่ากับวงเงินเพิ่มมูลค่า 4.3 พันล้านดอลลาร์ในช่วงอีก 8 ปีข้างหน้า ตัวเลขดังกล่าวรวมไปถึงทุนทรัพย์และงบประมาณสนับสนุนจากประเทศกำลังพัฒนา และจากจำนวน 4.3 พันล้านดอลลาร์ที่จำเป็นดังกล่าว ผู้บริจาคจะต้องจ่ายสมทบเป็นเงิน 2.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าระดับเงินทุนในการวางแผนครอบครัวในปี 2553


ผู้บริจาคหลายรายได้ประกาศเพิ่มพันธกิจที่มีต่อการวางแผนครอบครัวในระหว่างปี 2555-2558 ในการประชุม 2010 G8 Muskoka Summit และโครงการริเริ่ม Every Woman Every Child ของเลขาธิการสหประชาชาติ การจ่ายเงินสมทบนี้ ซึ่งมีการเบิกจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป มีมูลค่าสูงกว่าระดับทุนทรัพย์ที่จัดให้สำหรับการวางแผนครอบครัวในปี 2553 และจะยังสมทบไปยังทุนทรัพย์ที่ได้เพิ่มมาจากการประชุมเพื่อให้เข้าถึงผู้หญิงและเด็กหญิงอีก 120 ล้านคน การประชุมได้บรรลุข้อตกลงในเรื่องวิธีการกับผู้ให้บริจาคถึงเรื่องสัดส่วนของพันธกิจที่มีมากขึ้นในด้านสุขภาพ เพื่อการวางแผนครอบครัว


ฝ่ายการพัฒนาในต่างประเทศ

ฝ่ายการพัฒนาในต่างประเทศ (Department for International Development: DFID) เป็นองค์กรที่เป็หัวหอกในการดำเนินการเพื่ต่อสู้กับความยากจน DFID ของรัฐบาลอังกฤษ โดยมีจุดประสงค์ที่จะขจัดความยากจนในประเทศที่ยากจนกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ด้วยการดำเนินการตามพันธกิจต่างประเทศของอังกฤษ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือของอังกฤษเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยปรับปรุงในเรื่องความโปร่งใสและมูลค่าของเงิน เป็นผู้นำด้านการดำเนินการในต่างประเทศ เพื่อช่วยให้ผู้หญิงและเด็กหญิงมีชีวิตที่ดีขึ้น สร้างความแข็งแกร่งด้านการปกครองและความมั่นคงในประเทศที่เปราะบางและได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ส่งเสริมความมั่งคั่ง และสนับสนุนภารกิจเร่งด่วนในการแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง


มูลนิธิบิล แอนด์ เมลินดา เกตส์

ด้วยความเชื่อที่ว่า ทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน มูลนิธิบิล แอนด์ เมลินดา เกตส์ ดำเนินงาน เพื่อช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิจะเข้าไปพัฒนาสุขภาวะของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาและมอบโอกาสให้พวกเขาหลุดพ้นจากความหิวโหยและความแร้นแค้น ส่วนในสหรัฐอเมริกา มูลนิธิทำงานเพื่อให้ประชาชนในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึงโอกาสที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จทั้งในโรงเรียนและชีวิต มูลนิธิมีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองซีแอตเทิล กรุงวอชิงตัน และบริหารงานโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจฟฟ์ เรคส์ และประธานมูลนิธิร่วม เซอร์วิลเลี่ยม เอช. เกตส์ ภายใต้คำแนะนำของบิล และเมลินดา เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์


-ปม-