เบิร์ก ฟาร์มา ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนากับสถาบันพาร์คินสัน เพื่อศึกษาและเร่งทำการรักษา ตลอดทั้งวินิจฉัยหาสาเหตุโรคพาร์คินสัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เคมบริดจ์, แมสซาชูเสตส์--26 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ / อินโฟเควสท์


เบิร์ก ฟาร์มา (Berg Pharma) บริษัทเวชภัณฑ์ในเมืองบอสตันและสถาบันพาร์คินสันที่มีชื่อเสียง ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรที่มีความพิเศษเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะช่วยพัฒนารูปแบบการวินิจฉัยโรคพาร์คินสันที่ดียิ่งขึ้น เนื่องจากมีชาวอเมริกันประมาณ 1 ล้านคนกำลังป่วยเป็นโรคพาร์คินสันและยังมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 50,000 คนต่อปี และคาดว่า อัตราดังกล่าวจะยิ่งสูงขึ้นเนื่องจากประชากรกลุ่มเบบี้ บูมเมอร์ มีอายุสูงขึ้น การให้ความสำคัญในเรื่องพยาธิสรีรวิทยาและความเข้าใจโรคพาร์คินสันยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากความซับซ้อนของโรคและโมเดลในปัจจุบันยังขาดศักยภาพในการทำนายผล

(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20120404/CL82745LOGO)

ดร.วิลเลียม แลงสตัน ผู้ก่อตั้ง ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ และซีอีโอของสถาบันพาร์คินสันกล่าวว่า “เราเชื่อว่า ด้วยความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับโรคพาร์คินสันของสถาบันและแพลตฟอร์ม Interrogative Biology(R) ใหม่อันน่าตื่นเต้นของเบิร์ก จะช่วยเร่งภารกิจในการค้นหาสาเหตุและวิธีรักษาโรคพาร์คินสันได้อย่างแท้จริง เหตุผลดังกล่าวทำให้เราตื่นเต้นไปกับความร่วมมือในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง”

การค้นพบ MPTP และโรคพาร์คินสันของสถาบันในปี 2525 โดยดร.วิลเลียม แลงสตัน นักวิจัยด้านประสาทวิทยาที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติและที่ปรึกษาของมูลนิธิไมเคิล เจ. ฟอกซ์ นำมาซึ่งการวิจัยในเรื่องดังกล่าวและปัจจุบัน ดร.แลงสตัน เป็นผู้นำของสถาบันพาร์คินสัน ซึ่งมีศักยภาพสูงในด้านคลินิกและการวิจัย

ไนเวน อาร์. นาเรน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของเบิร์ก ฟาร์มา กล่าวว่า “โอกาสในการร่วมมือกับผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น ดร.แลงสตัน และโอกาสในการได้รับประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลาหลายปี ความรู้เชิงลึกด้านคลินิก และความร่วมมือด้านการวิจัย บวกกับพลังของ Interrogative Biology(R) จะนำมาซึ่งความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับโรคร้ายนี้และช่วยให้สามารถปรับการบริหารในเชิงคลินิก การวินิจฉัย และทำนายโรคไปสู่ระดับเฟิร์สคลาส”

แพลตฟอร์มการค้นคว้า Interrogative Biology(R) ของเบิร์กได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพที่เป็นเลิศในเรื่องการผลิตยาตามเป้าหมายและตรงกับลักษณะทางพันธุกรรมของโรค นอกจากนี้ ยังสามารถเร่งปฏิกิริยาของโมเลกุลในการทดลองทางคลินิกขั้นสุดท้ายได้ในปัจจุบัน ตลอดจนช่วงก่อนการบำบัดรักษาโรคมะเร็งในทางคลินิกและการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของต่อมไร้ท่อและโรคเนื้องอก CNS นอกจากนี้ แพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถถอดรหัสพันธุกรรมของโรคด้วยการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มยีนในเซลล์ สารที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญ โปรทีโอม และ ไลปิโดม ในรูปแบบของข้อมูลสนเทศแบบเบเซียน ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำกลับไปทดสอบความถูกต้องในห้องปฏิบัติการทดลองก่อนที่จะมีการดำเนินการต่อไป เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีก่อนทำการทดลองทางคลินิกในการวินิจฉัยโรคหรือพัฒนาการรักษา

อีลิค เจ. เนสต์เลอร์, M.D. Ph.D., ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการฝ่ายประสาทวิทยาของสถาบันแนช และผู้อำนวยการสถาบันฟรีด์แมน เบรน แห่งเดอะ เมานท์ ซีไน สคูล ออฟ เมดิซีน ในนิวยอร์ก กล่าวว่า “ความร่วมมือกันในครั้งนี้ช่วยให้เรามีศักยภาพสูงขึ้นในการทำความเข้าใจและรักษาโรคพาร์คินสัน โดยเฉพาะการนำศักยภาพที่กว้างขวางของเบิร์ก ฟาร์มา ในการค้นหาความผิดปกติทางชีวเคมี มารวมกับการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อเยื่อของคนไข้ของสถาบันพาร์คินสัน ซึ่งจะช่วยให้ผลลัพธ์พื้นฐานของเรามีความก้าวหน้าในด้านการวินิจฉัยโรคพาร์คินสัน ตลอดทั้งการรักษาที่ถูกจุด จึงเป็นความร่วมมือที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง”

ทั้งนี้ เบิร์ก ฟาร์มา จะสามารถเข้าถึงเหมืองทองคำแห่งข้อมูลประกอบกับตัวอย่างการทดลองทางคลินิกของเนื้อเยื่อ ซึ่งได้จากการวิจัยตัวอย่างโรคพาร์คินสันหลายชนิด ตลอดทั้งการกลายพันธุ์ในรูปแบบเฉพาะ เช่น การกลายพันธุ์แบบ LRKK2 ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เบอร์กิตต์ ชูเลอร์ ได้เก็บรวบรวมไว้ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โดยดร.ชูเลอร์ จะเป็นผู้นำร่วมกับพอลลา พี. เปเรซ จากโครงการโรคเนื้องอก CNS ของเบิร์ก ทีมงานของเบิร์กจะนำคุณสมบัติของโปรโตคอลตัวอย่างมาใช้ในแพลตฟอร์มการค้นคว้า Interrogative Biology(R) เพื่อวินิจฉัยและรักษาตามผลลัพธ์ที่ได้ ทั้งนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดทางการเงินเกี่ยวกับความร่วมมือดังกล่าว

เกี่ยวกับ เบิร์ก ฟาร์มา

เบิร์ก ฟาร์มา เป็นบริษัทเวชภัณฑ์ในเมืองบอสตัน และเป็นบริษัทแม่ของ เบิร์ก ไบโอซิสเต็มส์ และ เบิร์ก ไดแอกนอสติกส์ การวิจัยของเราเน้นไปที่การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการเมตาบอลิซึม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค เราได้ค้นพบข้อมูลที่ลึกซึ้งในเรื่องปัจจัยควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึม รวมถึงแจกแจงองค์ประกอบต่างๆตามสมมติฐานวอร์เบิร์ก บริษัทมีเทคโนโลยีขั้นต้นมากมายในการรักษาโรคระบบประสาทส่วนกลางและโรคที่เกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึม ซึ่งเป็นส่วนเติมเต็มกิจกรรมการทดลองทางคลินิกขั้นปลายในด้านการรักษาโรคมะเร็งและการป้องกันภาวะเคมีบำบัดเป็นพิษ บริษัทมีแพลตฟอร์มที่สามารถแปลงผลผลิตทางชีวภาพเป็นการรักษาอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นแหล่งรวบรวมตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้ ทั้งนี้ เบิร์ก ฟาร์มา ก้าวเดินอย่างมั่นคงไปสู่อนาคตของการมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

เกี่ยวกับสถาบันพาร์คินสันและศูนย์ทดลองทางคลินิก

สถาบันพาร์คินสันเป็นองค์กรวิจัยทางการแพทย์ที่ให้ความสำคัญกับการค้นหาสาเหตุและการรักษาโรคพาร์คินสัน ในขณะที่ทำการรักษาผู้ป่วยในระดับเวิลด์คลาส สถาบันมีแผนกการวิจัยพื้นฐานในการตรวจสอบทางพันธุศาสตร์ ชีวเคมี และ กลไกของเซลล์ของโรคพาร์คินสัน ฝ่ายวิจัยทางคลินิกขนาดใหญ่ของสถาบันได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมการศึกษาสถิติการระบาดในกลุ่มประชากรที่ป่วยเป็นโรคพาร์คินสัน คลินิกของสถาบันยังนำเสนอการบำบัดรักษาความผิดปกติทั้งทางประสาทและร่างกาย โรคที่เกิดจากสภาพของอาชีพการงานที่ทำ การรักษาโรคติดอ่าง ซึ่งเข้าถึงกลุ่มผู้ป่วยและโครงการศึกษาที่หลากหลาย

-ปม-

ข่าวสถาบันพาร์คินสัน+ลงนามความร่วมมือวันนี้

TBN จับมือ Reentry ลงนาม MOU เปิดตัว "ReN3 Enterprise Agentic AI" เดินหน้าจำหน่ายโซลูชัน Agentic AI ในประเทศไทย

บริษัท ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TBN จัดพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU Signing Ceremony) กับ Reentry ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม "ReN3 Enterprise Agentic AI" นำโดย นายปนายุ ศิริกระจ่างศรี (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TBN และ Mr. Edmuan Tan (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้ก่อตั้ง Reentry พร้อมด้วยทีมผู้บริหารจากทั้งสองบริษัทฯ ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกัน ต่อยอดความร่วมมือการนำแพลตฟอร์ม ReN3 Enterprise Agentic AI เข้าสู่ตลาดไทย ซึ่งเป็นโซลูชัน AI อัจฉริยะที่สามารถวางแผน วิเคราะห์ข้อมูล ตัดสินใจ และดำ

ขยายขอบเขตบริการใหม่ หนุนอนาคตเติบโตก้าวก... BKGI จับมือ MGI Tech ขยายแพลตฟอร์ม NGS ยกระดับศักยภาพให้บริการตรวจพันธุกรรม-จีโนมิกส์ในไทย — ขยายขอบเขตบริการใหม่ หนุนอนาคตเติบโตก้าวกระโดด บมจ.แบงคอกจีโน...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาค... จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชา...