กรมการค้าต่างประเทศผนึกกำลังจุฬาฯ เร่งพัฒนาคุณภาพหอมแดงสู้ตลาดเสรี จับมือแม็คโครเพิ่มช่องทางขาย และกระตุ้นให้เกิดการบริโภค

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--4 เม.ย.--กรมการค้าต่างประเทศ

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ดันศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเร่งพัฒนาหอมแดงให้มีคุณภาพพร้อมรับมือ FTA สินค้าเกษตร ทั้งการผลิต การเก็บรักษา และการตลาดพร้อมเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายจับมือแม็คโครกระตุ้นให้เกิดการบริโภค หวังช่วยเกษตรกรไทยให้มีรายได้ ตั้งเป้ายอดขายทั้งปีกว่า 200 ตัน นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแผนการช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกหอมแดงว่า “กรมการค้าต่างประเทศได้มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการวิจัยและพัฒนากลุ่มเกษตรกรหอมแดง เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดเสรีสินค้าเกษตรได้ โดยให้ความสำคัญกับ การวิจัย และพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องการผลิต และการเก็บรักษา ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่น การสนับสนุน และให้ความรู้กับเกษตรกร ทั้งการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ต้านทานโรค และให้ผลผลิตดี รวมทั้ง การเพาะปลูกอย่างถูกวิธี การพัฒนาคุณภาพดิน ฯลฯ และจัดให้มีการตรวจประเมินเพื่อการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ซึ่งในรอบแรกของการตรวจประเมิน เกษตรกรผ่านการรับรองจำนวน 552 ราย หรือร้อยละ 79.8 ของจำนวนเกษตรกรที่สมัครทั้งหมด ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร” “นอกจากนี้แล้วยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การเก็บรักษา การ แปรรูป บรรจุภัณฑ์ การทำบัญชี และบริหารต้นทุนในการขนส่ง โดยกระบวนการทั้งหมดอยู่ภายใต้ การบริหารของศูนย์รับซื้อหอมแดง สุดท้ายก็คือการเก็บรักษา และยืดอายุหอมแดง ก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภค โดยในขั้นตอนการจัดจำหน่าย กิจกรรมการตลาด และระบบโลจิสติกส์นั้น ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก แม็คโคร ที่มีระบบบริหารจัดการศูนย์กระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ได้สนับสนุนในการรับซื้อสินค้าเกษตรและจัดจำหน่ายผ่านสาขาของแม็คโครทั่วประเทศ รวมถึงจัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการบริโภคด้วย” ผศ. ดร. จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา นักวิจัย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า “นักวิจัยได้ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปหอมแดง และการตลาดเชิงรุก เพื่อช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจเกษตรกรมีศักยภาพในการผลิต และการตลาด ตลอดจนการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เพื่อยกระดับจากผู้ปลูกไปสู่ผู้ส่งออกที่มีศักยภาพ และมีรายได้มากขึ้น สามารถที่จะผลิตแข่งขันได้ ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ป้อนเข้าสู่ตลาด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หอมแดงเป็นพืชเศรษฐกิจแปรรูปที่มีศักยภาพของไทย โดยเฉพาะ การส่งออกไปตลาดอาเซียนซึ่งมีชาวมุสลิมจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคหอมแดงจำนวนมาก” นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความร่วมมือกับภาครัฐในการผลักดันให้ผลิตภัณฑ์หอมแดงได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ว่า “ปัจจุบันเกษตรกรกำลังปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปิดการค้าเสรีเพื่อให้พืชผลทางการเกษตรของไทยสามารถแข่งขันได้และเพิ่มโอกาสในการขยายผลผลิตเพื่อรองรับตลาดประชาคมอาเซียน แม็คโคร จึงร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการกองทุน FTA เพื่อใช้ศักยภาพการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพของแม็คโครทั่วประเทศ เป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าพืชผลการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทย โดยเฉพาะสินค้าตามฤดูกาล ลูกค้าสมาชิกแม็คโครจะได้รับสินค้าสดใหม่และ ส่งตรงจากสวนผู้ผลิต ซึ่งในช่วงเดือนปลายเดือนมกราคม – มีนาคม นี้ เป็นช่วงหัวหอมแดงออกสู่ตลาด จำนวนมาก ทำให้ราคาหัวหอมแดงของไทยต่ำ และจำหน่ายได้ในปริมาณที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม็คโครได้ช่วยเกษตรกรชาวชุมยางน้อย จังหวัดศรีสะเกษ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ในการจำหน่าย หัวหอมแดงคุณภาพดีผ่านสาขาแม็คโคร ซึ่งได้รับกระแสการตอบรับที่ดีจากลูกค้ากลุ่มร้านอาหาร กลุ่มโรงแรม และกลุ่มบริการจัดเลี้ยง ซึ่งแม็คโคร มีสมาชิกอยู่ประมาณ 2 ล้านรายทั่วประเทศ” หลังจากนี้ แม็คโคร จะได้ต่อยอดไปยังผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ ต่อไปในอนาคต เพื่อช่วยรณรงค์ ให้ผู้บริโภคคนไทยสนับสนุนสินค้าเกษตร เพื่อเป็นการสนับสนุนชาวเกษตรกรไทยให้มีรายได้ และเข้มแข็ง อย่างยั่งยืน”-นท-

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+กรมการค้าต่างประเทศวันนี้

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือ ยกระดับความเป็นเลิศด้านสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ แอนิมอล เฮลท์ (ประเทศไทย) จำกัด และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ (Collaboration Agreement) โครงการ Next Level Veterinary Excellence ซึ่งเป็นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อยกระดับองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติทางสัตวแพทย ศาสตร์ในประเทศไทย ผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพ งานวิจัย และการให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน ภายใต้ข้อตกลงฉบับนี้ เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ ร่วมกันกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตรอบรมขั้นสูงสำหรับสัตว

นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร... SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต สนับสนุนประกันเดินทางนักกีฬาจุฬาฯ เข้าแข่งขันตุมปังเกมส์ 2025 — นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ...

ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญ... จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University — ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...

ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ ร... ถอดบทเรียน Passion with Purpose — ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...

พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจ... ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE — พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มห... จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025 — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...