“อี้อูโมเดล”เป็นทั้งวิกฤตและโอกาส เชื่อเฟสแรกจีนปูพื้นฐานให้แน่นปึกในการผลิตสินค้าทั้งระบบต้น กลาง ปลายน้ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--27 มี.ค.--กรมส่งเสริมการส่งออก

“อี้อูโมเดล”เป็นทั้งวิกฤตและโอกาส เชื่อเฟสแรกจีนปูพื้นฐานให้แน่นปึกในการผลิตสินค้าทั้งระบบต้น กลาง ปลายน้ำ ก่อนเดินเกมเฟสสองปั้มเมดอินไทยแลนด์แบรนด์ไชน่า ยึดหัวหาดทั่วโลก เอสเอ็มอีไม่ปรับตัวรอวันถูกกลืน นายวุฒิชัย ดวงรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยถึงผลกระทบโครงการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ในประเทศไทย กรณีศึกษาศูนย์ค้าส่งสินค้าไทย – จีน หรือ ไซน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์(China City Complex) ว่า จากผลการศึกษานี้พบทั้งโอกาสและความท้าทายที่ต้องเร่งพัฒนาแรงงาน การบูรณาการกฎหมายมาใช้อย่างเข้มแข็ง ภายใต้ศักยภาพของไทยในความเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN LOGISTICS HUB) ซึ่งผลการศึกษาทั้งหมด กรมฯจะเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ พิจารณาเพื่อดำเนินการนำข้อเสนอของภาคเอกชนที่ได้รับและไม่ได้รับผลกระทบ รวมถึงเสนอมาตรการรองรับของหน่วยงานภาครัฐ “สัมมนาครั้งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ 300 รายในไทยที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งผู้เข้าร่วมฟังควรจะนำผลการวิจัยไปสร้างกลยุทธ์และหาแนวทางการป้องกันของโครงการฯที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประเทศและต่ออุตสาหกรรมของตนเอง แนวทางในการปรับตัวของไทยนั้น ผมมีความเห็นว่า ต้องมองให้เห็นถึงโอกาสในธุรกิจเป็นพันธมิตรเพื่อลงทุนในจีน พันธมิตรเพื่อตลาดส่งออก หรือ แหล่งวัตถุดิบเพื่อให้ต้นทุนต่ำลง ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นที่รู้จักกับผู้ประกอบการจีนมากขึ้น”นายวุฒิชัย กล่าว นอกจากนี้จากเขตการค้าเสรี 9 ประเทศ ( 13 ความตกลง) ที่ไทยทำไว้ควรใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวให้เต็มที่ ซึ่งบางความตกลงมีจีนทำร่วมกับไทยด้วย และต้องปรับทัศนคติในการทำธุรกิจ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ เข้าสู่ธุรกิจของตนให้ได้ เพื่อต่อยอดธุรกิจและศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพื่อสร้างโอกาสในทางธุรกิจให้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อการเปิดเสรีการค้าอาเซียนเต็มรูปแบบในปี 2558 นางเนตรปรียา ชุมไชโย ผอ.สำนักโลจิสติกส์การค้า กรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ศูนย์ฯนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศ อาทิ ในเวียงจันทร์ ประเทศลาว ซึ่งศูนย์ฯที่เปิดให้บริการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคทางรัฐบาลและประชาชนให้การต้อนรับ เนื่องจากลาวยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจำนวนมาก ขณะที่ได้ซื้อสินค้าราคาถูก เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ในขณะที่รัสเซียซึ่งมีถึง 3 แห่ง เอสเอ็มอีได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยบางส่วนต้องปรับตัว ด้วยการนำเข้าสินค้าจีนมาขายต่ออีกทอดหนึ่ง สิงคโปร์ ไม่ได้เปิดให้ขายสินค้าจีนเต็มพื้นที่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เปิดพื้นที่ให้ชาติอื่นเช่าเพื่อลดแรงกดดันจากสถานะที่สิงคโปร์เป็นผู้นำเข้าสินค้า(เทรดเดอร์)รายใหญ่ของภูมิภาคนี้ เป็นต้น ส่วนในไทยความจริงศูนย์ฯแบบนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ถูกย่อส่วนตามจุดค้าขายสำคัญหลายแห่ง และที่กำลังจะเปิดล่าสุด คือ ที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐกำลังจับตาดูอยู่ว่า จะใช้รูปแบบใดในการบริหารงาน สำหรับผลการวิเคราะห์โอกาสจากศูนย์ค้าส่งสินค้าไทย-จีนทำให้กรมฯเห็นโอกาสในระดับประเทศ คือ จ้างงานภายในเพิ่มขึ้น(ในระยะแรก) มีเงินหมุนเวียนทำให้เศรษฐกิจเติบโต สร้างจุดซื้อแห่งใหม่ เกิดการตื่นตัวเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ ด้านผู้ประกอบการเกิดเอสเอ็มอีทำธุรกิจในเชิงรุกมากขึ้น เป็นแหล่งช้อปปิ้งใหม่ในเอเชีย จัดซื้อวัตถุดิบได้สะดวกรวดเร็วและธุรกิจเกี่ยวเนื่องได้ประโยชน์ในระยะสั้น ส่วนผู้ประกอบการมีทางเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น สะดวกในการหาซื้อสินค้าได้ครบวงจร สำหรับผลกระทบนั้นมองได้ 6 มิติ กล่าวคือ ด้านการค้าอาจเกิดการสวมสิทธิแหล่งกำเนิดสินค้าเป็นเมดอินไทยแลนด์ ทำให้ธุรกิจเกิดความเสียหายต่อสายตาชาวโลก ในขณะที่ไทยเป็นที่รับทราบในตลาดโลกว่า เป็นส่งออกสินค้าคุณภาพ ตรงต่อเวลาและเชื่อถือได้ และวิเคราะห์ว่าในอนาคตจีนอาจมาตั้งฐานการผลิตสินค้าจีนในไทยเพื่อส่งออก ด้านการผลิต จีนมีการผลิตครบวงจร ดังนั้นทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยด้อยกว่าจีนอย่างเห็นได้ชัด ผู้ประกอบการไทยต้องสร้างกลยุทธ์ในการแข่งขันใหม่เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ โดยปรับปรุงคุณภาพสินค้าอยู่เสมอเพื่อยากต่อการเลียนแบบและทำให้มีความหลากหลาย หากไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจีนได้ อาจต้องเลิกกิจการเหมือนในประเทศต่างๆ ที่ศูนย์ฯนี้ไปตั้งอยู่ ด้านแรงงาน อาจมีแรงงานจำนวนมากจากจีนหลั่งไหลเข้ามาในไทย ทำให้ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานในประเทศและอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง สร้างปัญหาต่อสวัสดิภาพความเป็นอยู่ของประชาชนไทย ด้านโลจิสติกส์นั้น ในระยะแรกจะได้ประโยชน์ ภายใต้การเปิดประชาคมอาเซียน(เออีซี) ไทยจะเป็นช่องทางผ่านและเข้าถึงของสินค้าจากอาเซียน ซึ่งจีนจะวางบริบทไทยเป็นประตูการค้าสู่ตลาดอาเซียน รวมถึงยุโรปและสหรัฐ ด้วยความพร้อมของระบบโลจิสติกส์ในอาเซียนที่เชื่อมถึงไทย แต่โดยธรรมชาติของผู้ประกอบการจีนมักจะทำธุรกิจแบบครบวงจรและเชื่อว่าในระยะกลางจนถึงระยะยาวจีนจะนำผู้ให้บริการขนส่งจีนมาให้บริการเอง ส่วนมิติผู้บริโภคนั้น สินค้าของจีนส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำและราคาถูก ซึ่งสินค้าจีนมีหลายระดับตั้งแต่คุณภาพสูงจนถึงคุณภาพต่ำ ดังนั้นในระยะสั้น ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าราคาถูก แต่เมื่อมองไปในเรื่องคุณภาพและอายุการใช้งาน คุณภาพชีวิตจะแย่ รวมไปถึงขยะที่จะเกิดขึ้น เพราะอายุการใช้งานสั้น โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงสินค้าอาหารที่หลายประเทศได้ปฏิเสธสินค้าบางประเภทของจีน เนื่องจากปัญหาสารตกค้าง สิ่งปลอมปน รวมถึงสารตะกั่ว สารปรอทที่เกินค่ามาตรฐาน ที่มองด้วยตาไม่เห็นในการจำหน่ายปลีก และมิติด้านบริการและท่องเที่ยว ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางด้านบริการสุขภาพเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคและมีแหล่งท่องเที่ยวที่ทั่วโลกต่างยอมรับ เมื่อศูนย์ฯเกิดขึ้นไทยจะได้ประโยชน์จากผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้ามาในไทย แต่นักธุรกิจต่างชาติอาจเปลี่ยนไปซื้อสินค้าจีนไปประเทศของนักธุรกิจนั้นๆ แทนที่ไทย โดยใช้ระบบการเงินและการธนาคารที่ไทยมีมาตรฐานและความน่าเชื่อถือมากกว่า รวมถึงสรรหาสินค้าเอกลักษณ์จากไทยเข้าไปขายในแต่ละประเทศแทนผู้ส่งออกไทยด้วย “เป็นที่ทราบกันดีว่า จีนเป็นแหล่งผลิตอันดับ1ของอุตสาหกรรม ด้วยความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคม ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ต้นทุนแรงงานที่ต่ำ รวมถึงมีตลาดขนาดใหญ่ภายในประเทศ ซึ่งแบ่งเป็นคลัสเตอร์อย่างชัดเจน ปัจจุบันสินค้าส่วนใหญ่ต่างถกส่งไปค้าขายหรือกระจายไปยังเมืองและประเทศต่างๆ มากกว่า 300 ประเทศทั่วโลกผ่านเมื่ออี้อู มณฑลเจ้อเจียง “อี้อูโมเดล”เป็นศูนย์กลางตลาดขายส่งและกระจายสินค้าเบ็ดเตล็ดนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในจีนและในโลก มีพื้นที่กว่า 4 ล้านตร.ม. 7 หมื่นร้านค้า มีสินค้ามากกว่า 2 ล้านชนิด ใช้เงินลงทุนกว่า 700 ล้านหยวน” ทั้งนี้มีนักธุรกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกไปทำการค้าขายและส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 1,000 คอนเทนเนอร์ นับเป็นความสำเร็จจีนได้พยายามนำรูปแบบธุรกิจนี้เป็นต้นแบบในการรุกคืบสู่ตลาดต่างๆ ในอาเซียนและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันมีที่ประเทศลาว สิงคโปร์ สเปน รัสเซีย(3ที่) เป็นต้น ซึ่งต่างให้การต้อนรับและไม่อาจปฏิเสธได้กับการรุกคืบธุรกิจของจีน เพราะทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ต่างได้รับผลกระทบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของแต่ละประเทศและผู้ประกอบการ รูปแบบธุรกิจที่เป็นไปได้ของศูนย์ค้าส่งสินค้าส่งออกนานาชาติของประเทศไทยภายใต้ อี้อู โมเดล (Yiwu Model) สำนักประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการส่งออก โทร.(02) 507-7932-34 -นท-

ข่าววุฒิชัย ดวงรัตน์+เมดอินไทยแลนด์วันนี้

กรมส่งเสริมการส่งออกเดินหน้าปั้นเอสเอ็มอีไทยไปตลาดโลก ยกระดับ “เมดอินไทยแลนด์ 2554” สร้างแบรนด์ไทยในใจผู้บริโภค

คำบรรยายใต้ภาพ: (จากซ้าย) นายสมชาย ธนพลเกียรติ นายกสมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แนวดีไซน์ ร.อ.สุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล ผู้อำนวยการสำนักบริหารกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก จิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ สุพัฒน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย นายวุฒิชัย ดวงรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก และคุณดวงใจ คูห์ศรีวินิจ นายกสมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ นับถอยหลังสู่งาน “เมดอินไทยแลนด์ 2554” (Made in Thailand

นายวุฒิชัย ดวงรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์... ภาพข่าว: งานมหกรรมสร้างบ้านและวัสดุก่อสร้าง 2559 เปิดให้ชมงานแล้ว! — นายวุฒิชัย ดวงรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมสร้า...

ภาพข่าว: สัมมนาการลงทุนในกัมพูชาอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

วุฒิชัย ดวงรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ฯพณฯ Mrs. Eat Sophea เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย ฯพณฯ Ms.Teketh Kamrang รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา และ ชนิตร ชาญชัยณรงค์ ประธานสภาธุรกิจไทย-กัมพูชา พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและ...

คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการค้าระหว่างประเ... ภาพข่าว: เปิดเวทีประลองความรู้ทางการตลาด เตรียมพร้อมรับ AEC ปี 58 — คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) เปิดสนามประลองควา...

ภาพข่าว: พิธีเปิดย่านธุรกิจสร้างสรรค์ ในงานเทศกาลเที่ยวไทย ปี 2557

อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ร่วมกับ กระทรวงพาณิชย์ เปิดย่านธุรกิจสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์ย่านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์ย่านธุรกิจสร้างสรรค์ในภูมิภาคต่างๆ ให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง สนับสนุนการ...

หอการค้าฝรั่งเศส-ไทย จัดพิธีเปิดงาน “บงชูร์ เฟรนช์ แฟร์ 2013” (Bonjour French Fair 2013)

หอการค้าฝรั่งเศส-ไทย ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนร่วมพิธีเปิดงาน “บงชูร์ เฟรนช์ แฟร์ 2013” (Bonjour French Fair 2013) มหกรรมแสดงสินค้าฝรั่งเศสที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2556 เวลา...

ภาพข่าว: “TIFF 2013” เตรียมพร้อมโชว์ศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทย

นายวุฒิชัย ดวงรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แถลงข่าวความพร้อมในการจัด งานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ 2556 หรือ TIFF 2013 งานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ระดับนานาชาติของไทยที่มีดีไซน์และสวยงามที่สุดงานหนึ่งในเอเชีย โดยจะจัดขึ้นภายใต้...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ตั้งเป้าส่งออกเฟอร์นิเจอร์ 1,150 ล้านเหรียญ เตรียมจัดงาน TIFF 2013 ดันยอดส่งออก เปิดยิ่งใหญ่ 13-17 มีนาคมนี้

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าส่งเสริมการส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์ พร้อมวางกลยุทธ์ให้งานเฟอร์นิเจอร์ TIFF 2013 ดันยอดส่งออกให้ได้ตาม...