บทความ: สู่ฝันโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ปั้น “เด็กไทยหัวใจวิทยาศาสตร์”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--สสวท.

เป็นเวลานานนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่หลักวิชาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ของประเทศไทย คือ การขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ผู้เป็นกำลังหลักสำคัญ จึงมีความพยายามจากหลายภาคส่วนมาร่วมจุดประกาย “โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย (Thailand Children’s University)” เพื่อปูพื้นฐานเด็กไทยให้รักและสนใจการเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อายุยังน้อย ตลอดจนเกิดแรงบันดาลใจที่ไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายหลังเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ณ Shanghai Institutes for Biological Sciences เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านวิชาการ และการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ร่วมขับเคลื่อน ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มหาวิทยาลัยเครือข่าย กระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรความร่วมมือแลกเปลี่ยนทางวิชาการแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี (DAAD) ร่วมกันจัดทำโครงการนำร่องมหาวิทยาลัยเด็กมาตั้งแต่ปี 2554 จนเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยได้มีงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ และมีการจัดกิจกรรมสาธิตการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ในระหว่างวันที่ 29-31 ตุลาคม 2555 นี้ ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโครงการฯ ในวันที่ 30 ตุลาคม 2555 ทั้งนี้ รูปแบบการเรียนการสอนของโครงการ จะเป็นการนำต้นแบบโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก มหาวิทยาลัยบีเลเฟล สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี ๒๕๔๗ โดยศาสตราจารย์ ดร. Katharina Kohseh?inghaus ผู้ออกแบบห้องปฏิบัติการทอยโทแลปมาประยุกต์ใช้ ซึ่งยังคงเน้นให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ที่สนุกสนาน และได้พัฒนาทักษะการสังเกต รู้จักตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย นักศึกษาปริญญาตรี โท และเอกเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ ซึ่งในหลายประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ต่างประสบความสำเร็จในการกระตุ้นให้เด็ก ๆ เกิดแรงบันดาลใจ มีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์มากขึ้น ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การเรียนการสอนผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง (Hands-on) จะทำให้นักเรียนเกิดการจดจำ เรียนรู้ และเข้าใจวิทยาศาสตร์ได้ลึกซึ้งมากขึ้น โดยที่ผ่านมา สวทช. ได้นำกิจกรรมทดลองชุดต่าง ๆ ไปใช้จัดค่ายวิทยาศาสตร์รวม 7 ครั้ง มีนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายเข้าร่วมทั้งสิ้น 440 คน ซึ่งเด็ก ๆ ต่างเทคะแนนเต็มร้อยสำหรับความรู้และความสนุกสนานที่ได้รับ ไม่ต่างจากการนำไปใช้จัดการเรียนการสอนให้ครูสอนเด็กหูหนวกและนักเรียนหูหนวกรวม 88 คน ซึ่งกิจกรรมทดลองได้ถูกนำไปพัฒนาเป็นใบงานสำหรับสอนเด็กหูหนวกต่อไป “เราพยายามเปลี่ยนภาพของการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เคยเป็นเรื่องยากและน่ากลัวให้เป็นเรื่องง่ายและสนุก ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และใช้วิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบในเรื่องที่สงสัย โดยเรายังได้เชิญชวนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีความพร้อมมาร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนเรื่องสถานที่ อุปกรณ์การทดลอง ตลอดจนนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์รุ่นพี่เพื่อมาเป็นพี่เลี้ยงคอยตอบคำถาม ให้คำแนะนำ และร่วมกิจกรรมทดลองที่สนุกสนานไปพร้อมกับเด็ก ๆ ด้วย” เช่นเดียวกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้นำกิจกรรมทดลองชุดทดสอบน้ำนม ไปจัดแสดง ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2555 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ในชื่อกิจกรรม “สสวท.ผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์” โดยชูความสนุกสนานของกิจกรรม “Milk Milk Milk” เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ทดลองทำสีจากน้ำนมด้วยตนเอง ซึ่งเด็ก ๆ ต่างให้ความสนใจและร่วมทำการทดลองอย่างเพลิดเพลิน อาจารย์ดวงสมร คล่องสารา รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการมหาวิทยาลัยเด็กฯ มีส่วนช่วยเติมเต็มหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งถือเป็นความต่อเนื่องจากโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยที่ทางสสวท. จัดให้กับเด็กปฐมวัย รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาด้านการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ให้กับโรงเรียนต่าง ๆ ที่อาจขาดแคลนงบประมาณ อุปกรณ์การทดลอง ขาดครูที่จบสายวิทยาศาสตร์โดยตรง หรือเป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่ได้อยู่ในสังกัดของสสวท.และสพฐ. เช่น โรงเรียนชายขอบ โรงเรียน ตชด. ซึ่งส่งผลให้เด็กๆ ได้แต่เรียนรู้และสนุกกับวิทยาศาสตร์แค่บนหน้ากระดาษเท่านั้น “สสวท. จะใช้ศูนย์โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ 20 แห่งทั่วประเทศ เป็นศูนย์ให้บริการการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์กับเด็ก ๆ โดยมีรุ่นพี่นักศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโทมาเป็นพี่เลี้ยง รวมทั้งจะมีการดัดแปลงกิจกรรมทดลองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่ ซึ่งเราหวังผลให้เด็กเหล่านี้เติบโตไปเป็นคนที่มีจิตวิทยาศาสตร์ คือ รู้จักคิด วิเคราะห์ และค้นหาคำตอบด้วยกระบวนการที่เป็นเหตุเป็นผล ตลอดจนเกิดความสนใจที่จะศึกษาต่อจนจบเพื่อไปทำงานด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น” กิจกรรมที่น่าสนใจในโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ตัวอย่างเช่น กิจกรรมทดลองชุดผลไม้สกุลส้มในเรื่องของกลิ่นที่ได้จากน้ำมันหอมระเหยบริเวณผิวเปลือกส้ม การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากผิวส้ม การบีบน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มที่ทำให้เปลวเทียนลุกสว่างวาบได้ กิจกรรมทดลองชุดผลไม้สกุลส้มในเรื่องกรด ในการเปลี่ยนสีน้ำกระหล่ำปลีม่วงให้กลายเป็นสีแดง หรือการเติมสารละลายที่มีความเป็นกรดต่างกันในสีน้ำกระหล่ำปลีม่วงซึ่งทำให้เกิดสีที่แตกต่างกัน กิจกรรมทดลองชุดมายากล เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเปลือกไข่ที่ถูกน้ำมะนาว หรือ กิจกรรมทดลองชุดเคมีของน้ำนมในการสร้างสีจากดับเบิ้ลครีม ชีส ซึ่งสามารถนำมาใช้วาดภาพหรือสร้างงานศิลปะได้ เป็นต้น อาจารย์ บุษบา แก้วลังกา อาจารย์จากโรงเรียนสวนมิกสกวัน ซึ่งได้นำเด็กนักเรียนประถมศึกษากว่า 20 คน เข้าร่วมกิจกรรมการทดลองในงานเปิดตัวโครงการฯ กล่าวว่า โครงการนี้จะช่วยให้การเรียนรู้ทาง วิทยาศาตร์ของเด็ก ๆ มีความทัดเทียมกันในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะเด็กในต่างจังหวัด ซึ่งขาดแคลนทั้งครูและอุปกรณ์ นอกจากนี้ การออกแบบกิจกรรมทดลองยังใช้อุปกรณ์ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถหาได้ในท้องถิ่น ทำให้เด็กบางคนเมื่อได้ทดลองทำแล้ว ก็อยากนำไปทดลองกับสิ่งอื่น ๆ ถือเป็นการต่อยอดจินตนาการด้านวิทยาศาสตร์ที่เด็ก ๆ จะสนุกมากขึ้นเมื่อได้คิดและลงมือทำด้วยตัวเอง น้องแบม ดญ. ศุภิสรา แก้วลังกา และ น้องบีม ดญ. ทิฐินันท์ นาใจทน นักเรียนชั้น ป.6 ได้ช่วยกันทำการทดลองเรื่องน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้ม ซึ่งสามารถทำให้เปลวไฟสว่างวาบได้ กล่าวว่า มีความสนใจการเรียนวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว ยิ่งถ้าได้ทำการทดลองจะยิ่งชอบมาก เพราะทำให้เราได้รู้เรื่องแปลก ๆ ที่ไม่เคยรู้เพิ่มขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์ เหมือนที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าในเปลือกส้มมีน้ำมันหอมระเหยซ่อนอยู่ ทำให้อยากไปทดลองกับผลไม้อย่างอื่นบ้าง ส่วนน้องมอส ดช. กัมปนาท อำพร นักเรียนชั้น ป.5 กล่าวว่า ได้รู้เรื่องโครงการมหาวิทยาลัยเด็กจากคุณครูก็สนใจอยากเข้าร่วม พอมาเห็นกิจกรรมทดลองหลายอย่างซึ่งไม่เคยทำมาก่อน ก็รู้สึกตื่นเต้น วันนี้ได้ลองทำการทดลองหยดน้ำมะนาวบนเปลือกไข่จนเกิดเป็นฟองฟู่ รู้สึกสนุกมาก น้องสปาย ดช. นรภัทร เวทยะเวทิน นักเรียนชั้น ป.6 ซึ่งได้ร่วมทำกิจกรรมทดลองการเปลี่ยนสีน้ำดอกกระหล่ำปลีม่วงด้วยสารละลายต่าง ๆ ที่มีค่าความเป็นกรด-เบสต่างกันจนเกิดเป็นสีสันสวยงาม กล่าวว่า เคยมีความคิดที่จะทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์เองแต่ก็ไม่กล้า พอมีพี่ ๆ ในโครงการมาคอยสอนคอยแนะนำทีละขั้นตอนทำให้กลัวน้อยลง สนุกมากขึ้น และรู้สึกว่าการทดลองจะช่วยให้เราเข้าใจและจดจำความรู้ได้ดีกว่าการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งความหวัง และอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่ทุกฝ่ายจะมาร่วมมือกันในการเตรียมความพร้อมและผลักดันเด็กไทย ผ่าน “การฝึกฝน เรียนรุ้ จุดประกาย การพัฒนาพื้นฐานทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์” เพื่อการเติบโตอย่างมีศักยภาพสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ไทยที่พร้อมขับเคลื่อนประเทศและสังคมให้เจริญก้าวหน้าต่อไป -กภ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก+แนวพระราชดำริวันนี้

สวทช.-พันธมิตร จัดงานครบรอบ 12 ปี โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย

สวทช.-พันธมิตร จัดงานครบรอบ 12 ปี โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย และเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ กรรมการมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "ครบรอบ 12 ปี โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย และเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี" โดยมี นางดวงสมร คล่องสารา ประธานคณะทำงานโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย

ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสต... สวทช. จัดค่ายปิดเทอม เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านปรากฏการณ์ PM 2.5 — ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์...

ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี: กร... สวทช. จัดกิจกรรมวิทย์สุดสนุกรับปิดเทอมให้น้องประถมปลาย ในโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย — ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเท...

วันที่ 2 มิถุนายน 2560 ศูนย์ป้องกันและบรร... ปภ. โดย ศูนย์ ปภ.เขต 1 ปทุมธานี ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี — วันที่ 2 มิถุนายน 2560 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 ปทุมธา...

โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย จัดกิจกรรม "สนุกวิทย์ ปลูกแนวคิดวิทยาศาสตร์สู่เยาวชน"

ด้วย โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย กำหนดจัดกิจกรรม "สนุกวิทย์ ปลูกแนวคิดวิทยาศาสตร์สู่เยาวชน" โดยความร่วมมือระหว่าง 11 หน่วยงาน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม...

ปฏิทินข่าวหน่วยงานราชการประจำวันนี้(30 ตุลาคม 2555)

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2555 09.00 น. สวทช. จัดพิธีเปิด “โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโน...

ปฏิทินข่าวหน่วยงานราชการประจำวันพรุ่งนี้(30 ตุลาคม 2555)

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2555 09.00 น. สวทช. จัดพิธีเปิด “โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโน...

สวทช. จัดพิธีเปิด “โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย”

ด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย”ในวันอังคารที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น. ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อำเภอคลองหลวง...