สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มศว จัดอบรมวิชาการเรื่อง LD: พัฒนาอย่างไรให้เต็มศักยภาพ

02 Oct 2012

กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

โครงการอบรมวิชาการเรื่อง LD: พัฒนาอย่างไรให้เต็มศักยภาพ

หลักการและเหตุผล

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 10 ได้ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกันทั้งเด็กปกติ เด็กที่มีความต้องการ พิเศษ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กพิการ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของ บุคคลนั้น รวมถึงต้องจัดการศึกษาให้ได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องในกระบวนการทางจิตวิทยา ทำให้เด็กมี ปัญหาในการใช้ภาษา ทั้งในการฟัง การอ่าน การพูด การเขียนและการสะกดคำหรือมีปัญหาในการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ปัญหาดังกล่าวมิได้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางร่างกาย แขน ขา ลำตัว สายตา การได้ยิน ระดับสติปัญญา อารมณ์ และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก (ผดุง อารยะวิญญู, 2542: 115; Individuals with Disabilities Education Act (IDEA), 2004 อ้างใน Smith, T.E.C. et al 2008: 135-136; U.S. Department of Education, 2002 อ้างใน กุลยา ก่อสุวรรณ, 2553: 35) และประมาณการว่า 1 ใน 10 ของ เด็กทั่วไปมีปัญหาการเรียนจนต้องได้รับการศึกษาพิเศษและเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กจำนวนนี้เป็นเด็กที่มีปัญหา ในการเรียนรู้ การศึกษาของเด็กในวัยเรียนพบว่าร้อยละ 6-10 จะเป็นเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ เด็กชายจะมี ปัญหาได้บ่อยกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 4:1 ซึ่งนักวิจัยบางคนให้ความเห็นว่า การที่พบภาวะบกพร่องทางการ เรียนรู้ในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงนั้นอาจเนื่องมาจากการที่เพศชายมีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ มากกว่า นั่นเอง (Lerner, 2003 อ้างใน กุลยา ก่อสุวรรณ, 2553: 36; ชาญวิทย์ พรนภดล, 2549)

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้มีเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้อยู่ในระบบโรงเรียนตามปกติทั่วไป และมัก เรียนอยู่ในชั้นเรียนปกติและห้องสอนเสริม แต่สังคมไทยพึ่งให้ความสนใจอย่างจริงจัง โดยที่เด็กกลุ่มนี้ก็ยังไม่ได้ รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ซึ่งปัญหาสำคัญประการหนึ่งก็คือ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เป็นกลุ่มเด็กที่ ไม่มีความบกพร่องทางร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน แต่เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มีปัญหาในการรับและแปล ผลข้อมูลของสมองที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดปัญหาด้านการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนต่ำ แม้จะมีระดับสติปัญญาปกติ ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษาส่วนใหญ่ไม่เข้าใจสภาพ ปัญหาของเด็ก ทำให้มีกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้อีกมากที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม (สุวิมล อุดมพิริยะศักดิ์, 2551: 27) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จึงไม่สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ทั้งๆ ที่มี ศักยภาพสูง เพราะเด็กจะมีความยากลำบากในการอ่าน การเขียน กระบวนการคิด และการคำนวณ การใช้ ภาษา และใช้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหว เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จึงควรได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้องตั้งแต่ แรกเริ่ม พร้อมทั้งความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู โรงเรียน และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษ ก็จะสามารถพัฒนาเด็กให้เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จ มีการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ พึ่งตนเองได้ และพร้อม ทำประโยชน์ให้แก่สังคมส่วนรวม เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้บางคนจะสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ แต่ ต้องใช้กระบวนการและวิธีการสอนซึ่งควรจะดึงเอาจุดเด่น ความถนัด และความสามารถพิเศษของเด็กออกมา เพื่อชดเชยหรือลบจุดด้อย เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ (วันทนีย์ พันธชาติ, 2552: 4) ดังนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สมาคมแอลดีแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อการศึกษาพิเศษในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พิจารณาเห็นควรจัดโครงการอบรมวิชาการเรื่อง “LD: พัฒนาอย่างไรให้เต็มศักยภาพ” ขึ้น เพื่อให้ครู/ อาจารย์ ครูการศึกษาพิเศษ นักวิชาการ นิสิต/ นักศึกษา และ ผู้ที่สนใจได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ให้เต็มศักยภาพต่อไป

กำหนดการอบรมวิชาการ เรื่อง LD: พัฒนาอย่างไรให้เต็มศักยภาพ

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2555 เวลา 8.30-16.00 น.

ณ ห้องประชุม 8101 ชั้น 8 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

09.00 – 09.15 น. พิธีเปิดโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี ศักดิ์ศิริผล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

09.15 – 10.30 น. บรรยายพิเศษ เรื่อง เทคนิคในการปรับหลักสูตร การสอน การประเมินผลให้ สอดคล้องกับความต้องการพิเศษของเด็กแอลดี โดย ศาสตราจารย์ ดร.ผดุง อารยะวิญญู (ศาสตรเมธี) นายกสมาคมแอลดีแห่งประเทศไทย

13.00 – 14.30 น. บรรยายพิเศษ เรื่อง การจัดทำโครงการเปลี่ยนผ่านรายบุคคล (Individual Transition Plan: ITP) สำหรับเด็กแอลดี โดย ดร.สามารถ รัตนสาคร นักวิชาการศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ติดต่อ:

สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มศว โทร.02-649-5000 ต่อ 15639

โทร.086-8951616

-กผ-