กรีนพีซหนุนคนเมืองคอนประกาศพื้นที่อ่าวทองคำ เป็นเขตพื้น“พื้นที่คุ้มครองแหล่งผลิตอาหาร” ต้านอุตสาหกรรมพลังงานสกปรก

03 Oct 2012

กรุงเทพฯ--3 ต.ค.--กรีนพีซ

ชาวนครศรีธรรมราชกว่า 5,000คน ได้รวมตัวกันจัดงาน “รวมพลคนกินปลา” ประกาศศักยภาพความ อุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ชายฝั่ง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ที่ชาวบ้านเรียกว่า “อ่าวทองคำ” และประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็น “พื้นที่คุ้มครองแหล่งผลิตอาหาร” และจะร่วมกันรักษาพื้นที่ 30 กิโลเมตรจากชายฝั่งให้พ้นจากอุตสาหกรรมพลังงานสกปรก

นางสาวจริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่า กรีนพีซสนับสนุนและยืนอยู่ข้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับการเคลื่อนไหวของชุมชนเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่พวกเขาได้พึ่งพาอาศัย โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน ซึ่งจะทำให้วิถีชีวิตของชุมชนเปลี่ยนไป พื้นที่นี้เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ผลิตอาหารที่สำคัญของภูมิภาค ซึ่งไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงมาเลเซีย อินโดนีเซียจีนสิงคโปร์สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังนั้นทรัพยากรเหล่านี้ต้องได้รับการปกป้องจากอุตสาหกรรมสกปรก

"รัฐบาลไทยควรให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาที่ชุมชนท้องถิ่นได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง เช่น การพัฒนาพลังงานลม โดยผลการศึกษาพบว่าบริเวณอ่าวทองคำมีศักยภาพในการผลิตพลังงานลมได้อย่างน้อย 1,150 เมกะวัตต์ ดังนั้นพลังงานลมสามารถทำได้อย่างง่ายด่าย นี่คือเวลาที่เราจะหันหลังให้กับการพัฒนาพลังงานสกปรกเปลี่ยนเส้นทางพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่มีความยั่งยืน"

ด้านนายประสิทธิ์ชัย หนูนวล นักวิจัยท้องถิ่นเครือข่ายปกป้องพื้นที่การผลิตอาหารนครศรีธรรมราช กล่าวว่า อ่าวทองคำหมายถึงพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลา และ ปลาคือชีวิตของคนในพื้นที่ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมประชาชนต้องการรักษาพื้นที่แห่งความอุดมสมบูรณ์ตรงนี้ มากกว่าร้อยละ60 ของประชาชนในพื้นอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาการทำมาหากินจากท้องทะเล สามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดถึง 300 ล้านบาทต่อปี และสามารถสร้างงานให้กับคนพื้นที่ได้ถึง 5,000 คน

นายมนิตย์ หาญกล้า ชาวบ้านหน้าทับ ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา กล่าวว่า ทะเลคือบ้าน เราต่อสู้กันมาอย่างนานเพื่อรักษาทะเลด้วยหัวใจ เพราะทะเลคือทุกสิ่งทุกอย่างของเรา ถ้าทะเลเกิดมลพิษก็หมายถึงพวกเราถูกฆ่าให้ตายนั่นเอง

ทั้งนี้คำว่า “อ่าวทองคำ” ถูกเรียกโดยชาวบ้านในพื้นที่ อ.ท่าศาลา เมื่อประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านเคลื่อนไหวคัดค้านโครง?การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะ?เลภาค?ใต้ (Southern Seaboard) โดย “อ่าวทองคำ” หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรอาหารในพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเปรียบเสมือนศูนย์กลางพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีพ.ศ.2551 ที่ผ่านมาประชาชนท้องถิ่นจำนวนนับหมื่นได้มีการเดินขบวนประท้วงเพื่อหยุดโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโคงการการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะ?เลภาค?ใต้ และส่งผลให้โครงการดังกล่าวหยุดชะงัก อย่างไรก็ตามรัฐบาลชุดปัจจุบันได้มีการพิจารณาโครงการพัฒนาดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งรวมถึงโครงการอุตสาหกรรมสกปรกขนาดใหญ่อื่นๆ ทำให้ชาวบ้านเกรงว่าการเกิดขึ้นของการเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และก่อมลพิษในพื้นที่จะกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน และจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดลงของสัตว์น้ำ การสูญเสียพื้นที่สาธารณะจากการกัดเซาะชายฝั่ง มลพิษทางน้ำที่เกิดจากการเดินเรือขนาดใหญ่ ทำให้ชาวบ้านได้รวมกันอีกครั้งเพื่อประกาศให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ “ปกป้องแหล่ผลิตอาหาร” และค้านโครงการการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะ?เลภาค?ใต้ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงงานสกปรกทุกรูปแบบ

ข้อมูลเพิ่มเติม

1. หนังสือปลาคือชีวิต (2554) ผลการวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน สมาคมชาวประมง นครศรีธรรมราช

2. จอมภพ แววศักด์ และ คณะ ผลการวิจัยเรื่องการประเมินศักยภาพของพลังงานลมเฉพาะพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทย โดย มหาวิทยาลัยทักษิณ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรมส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน โดยได้รับการสนับสนุน โดย สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [email protected] ชลธิชา เหลิมทอง ผู้ประสานงานสื่อ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [email protected]

กรีนพีซทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ

-นท-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net