คลาวด์สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--PR One Network

ระบบคลาวด์ มีความสำคัญอย่างไร เป็นไปได้หรือไม่ที่องค์กรธุรกิจจะหันหลังให้กับเทคโนโลยีนี้ และดำเนินธุรกิจตามแบบแผนเดิมๆ บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและการให้บริการทางด้านเทคโนโลยีอย่างครบ ถ้วน รวมไปถึงโซลูชั่นคลาวด์ ซอฟต์แวร์อีอาร์พี การบริหารจัดการโครงสร้างทางด้านไอที การจัดวางระบบ ที่ปรึกษาทางด้านไอที คอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ และสแกนเนอร์ พร้อมที่จะไขปัญหาและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการต่อยอดระบบคลาวด์ให้ CIO ในทุกๆองค์กรได้ตระหนักและวางแผนดำเนินการอย่างเร่งด่วน การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีคลาวด์ได้เปลี่ยนแปลงวิถีในการให้บริการด้านไอที แต่มันสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ คำถามนี้สำคัญเพราะการนำบริการคลา วด์มาใช้งานนั้นเราต้องใส่ใจทั้งในเชิงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยมีสองประโยชน์สำคัญที่ธุรกิจจะได้รับในการใช้บริการคลาวด์ เทคโนโลยีคลาวด์ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าแอพพลิเคชันและข้อมูลจะพร้อมใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ประโยชน์หลักของคลาวด์ ประโยชน์ด้านการเงิน ระบบคลาวด์มอบคุณประโยชน์ด้านการเงินในหลายๆ แง่มุม: ลดค่าใช้จ่าย เมื่อใช้บริการคลาวด์ค่าใช้จ่ายจะต่ำลงเมื่อเทียบกับการจัดเตรียมและบำรุงรักษาระบบเอง ลดมูลค่าความเป็นเจ้าของ มีเพียงค่าใช้จ่ายตามจริงที่ต้องเสีย สามารถใช้งานได้เลยไม่ต้องรอ จึงพร้อมรองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ลดการลงทุน เปลี่ยนจากการลงทุนไอทีก้อนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายแทน ค่าใช้จ่ายแปรผันตามความต้องการทางธุรกิจ สามารถบริหารกระแสเงินสดได้ดียิ่งขึ้น เพราะจ่ายตามการใช้งานจริง ประโยชน์ด้านความรวดเร็วในการตอบสนอง คลาวด์ช่วยให้องค์กรมั่นใจว่าจะตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจได้รวดเร็ว โดย: พร้อมใช้งาน ทรัพยากรในการประมวลผลและระบบต่างๆ พร้อมใช้งานได้ทันทีตามต้องการ เข้าถึงได้ไม่จำกัดคลาวด์ช่วยให้แอพพลิเคชันและข้อมูลสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา การจัดสรรทรัพยากรอย่างคล่องตัว ระบบคลาวด์รองรับการตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปได้อย่างทันท่วงที โดยอาศัยการนำเสนอทรัพยากรไอทีที่ เหมาะสม การนำเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้งาน มิได้เป็นเพียงแค่ประเด็นด้านไอทีเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อทุกองค์ประกอบทางธุรกิจและนี้ คือประโยชน์จากการทำงานบนคลาวด์ อย่างไรก็ดี การนำคลาวด์ไปใช้งานต้องวิเคราะห์และให้น้ำหนักกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ประกอบด้วย ได้แก่ ความปลอดภัยของข้อมูลธุรกิจ สถานที่จัดเก็บข้อมูลและเขตอำนาจศาลตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ปัญหาเกี่ยวกับการยึดติดอยู่กับเทคโนโลยีของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ความสามารถในการใช้งานร่วมกันระหว่างบริการคลาวด์และผู้ให้บริการหลายราย การนำเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้งาน มิได้เป็นเพียงแค่ประเด็นด้านไอทีเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อทุกองค์ประกอบทางธุรกิจตัว อย่างเช่น ระบบอีเมล์ ในหลายๆ องค์กรได้เปลี่ยนมาใช้บริการบนคลาวด์ ซึ่งอาจเป็นที่ยอมรับมิได้ตามกลยุทธ์ด้านการจัดการความเสี่ยง เพราะมีโอกาสที่ ข้อมูลสำคัญต่างๆ จะสูญหายหรือถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาถึงข้อกำหนดกฎหมายทางธุรกิจก่อนนำคลาวด์มาใช้งาน ได้แก่ ตำแหน่งที่ใช้จัดเก็บข้อมูลขององค์กร ผลกระทบต่อเขต อำนาจศาลตามกฎหมาย ผลกระทบต่อกระบวนการทางธุรกิจ ความคล่องตัวทางธุรกิจเมื่อเงื่อนไขด้านการตลาดเปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่ใช้อิมพลีเมนต์และใช้คลา วด์แล้ว เมื่อพิจารณาทั้งประโยชน์และความเสี่ยงในการประยุกต์ใช้คลาวด์สำหรับธุรกิจอย่างรอบคอบแล้ว มีกฎเกณฑ์ง่ายๆ ที่ช่วยตัดสินใจว่าจะใช้คลา วด์เมื่อไร และใช้ระบบใดบ้าง ในบทที่ 4 ของคู่มือนี้จะกล่าวถึงเฟรมเวิร์กที่จะช่วยให้หน่วยงานด้านไอทีวางวางแนวคิดสร้างโมเดลว่าในการใช้คลาวด์ ดังนี้ ข้อมูลสำคัญและลับเฉพาะหรือข้อมูลสารสนเทศ ต้องได้รับการประมวลผลและจัดเก็บในพื้นที่ที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว จากเงื่อนไขนี้อาจเป็นได้ ทั้งการใช้บริการคลาวด์แบบส่วนตัวที่ติดตั้งในไซต์ของลูกค้า หรือใช้บริการจากศูนย์ข้อมูลของผู้ให้บริการก็ได้ ข้อมูลที่สำคัญน้อยกว่าหรือแอพพลิเคชันสามารถเก็บไว้ในคลาวด์แบบเครือข่ายได้ โดยการควบคุมการแชร์ด้วยกรุ๊ปของผู้ใช้งาน ข้อมูลสาธารณะและข้อมูลที่ไม่ค่อยสำคัญและไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัทสามารถจัดเก็บไว้ในระบบพับบลิค คลาวด์ (Public Cloud) ภายนอก องค์กร ประโยชน์ทางธุรกิจของเทคโนโลยีคลาวด์ ตารางด้านล่างนี้แสดงถึงประโยชน์ของคลาวด์ในเชิงธุรกิจ และแน่นอนว่าตารางนี้ไม่ใช่ประโยชน์ทั้งหมดที่มี แต่เป็นประโยชน์ที่โดดเด่นที่ การให้บริการคลาวด์ทั่วไปสามารถให้ได้ (Cloud Speak ในหน้า 57 ได้นิยามไว้สำหรับคำศัพท์ที่ใช้ด้านล่างนี้) และสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจว่า ประโยชน์ที่ได้รับทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสัญญาในการใช้บริการและแนวคิดการลงทุนเกี่ยวกับการเอาต์ซอร์สของฝ่ายไอที ตัวอย่างเช่น องค์กรแห่ง หนึ่งกำลังอยู่ในระยะที่สองของการเอาต์ซอร์ส โดยมุ่งเน้นการลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากกว่าระยะแรก อาจเทียบผลประโยชน์ที่ได้รับนั่นไม่ได้กับองค์กรที่ ไม่เคยเอาต์ซอร์สมาก่อนเลย ประโยชน์ทางธุรกิจ IaaS PaaS SaaS DaaS BPaaS ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมทางด้านไอที:ให้บริการด้านไอทีได้เท่าเดิมหรือดีกว่า แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ? ? ? ? ? เสียค่าใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งานจริง:เปลี่ยนการลงทุนด้านไอทีจากงบลงทุน เป็นงบค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน ? ? ? ? ? ค่าใช้จ่ายแปรผันตรงกับความต้องการ:ค่าใช้จ่ายด้านไอทีมีขึ้นมีลง โดยแปรผันตรงกับความต้องการ ไม่จำเป็นต้องลงทุนล่วงหน้า ? ? ? ? ? ให้บริการแอพพลิเคชันใหม่ได้อย่างรวดเร็ว:แอพพลิเคชันต่างๆ พร้อมใช้ทางธุรกิจได้เร็วกว่า ช่วยให้ฝ่ายไอทีตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจใหม่ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ? ? ? ? ระบบไอทีแข็งแกร่ง ทดสอบการใช้งานได้จริง:ทดสอบการใช้งานจริงสำหรับแอพพลิเคชั่นใหม่หรือการอัพเกรด รวมไปถึงส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบที่ใช้งาน และไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงจนเกินไป ? ? ความสม่ำเสมอในการให้บริการ:รองรับระบบงานของแผนกต่างๆ ในลักษณะที่เสมอต้นเสมอปลายและสามารถดำเนินการซ้ำได้ ? ? ? ? ประโยชน์ทางธุรกิจ IaaS PaaS SaaS DaaS BPaaS ความยืดหยุ่นในการปรับขนาด:สามารถเพิ่มหรือยกเลิกทรัพยากรไอทีได้อย่างรวดเร็วเมื่อความต้องการทางธุรกิจเปลี่ยนแปลง ? ? ? ? ? การปรับใช้ฟังก์ชั่นธุรกิจ:สามารถเปิดตัวคุณลักษณะใหม่ๆ ทั่วทั้งองค์กรได้อย่างสม่ำเสมอและบ่อยครั้ง ? ? ? ปรับปรุงการตัดสินใจทางด้านธุรกิจ:ด้วยการเข้าถึงชุดข้อมูลที่สมบูรณ์มากขึ้นและการปรับใช้ระบบข้อมูลเชิงลึกทางด้านธุรกิจ ผู้ใช้จึงสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสมโดยอาศัยข้อมูลที่เพียงพอ ? ? ? กำหนดกระบวนการมาตรฐาน:มีการปรับใช้กระบวนการหลักและกระบวนการย่อยอย่างเสมอต้นเสมอปลายทั่วทั้งองค์กร ? ? รองรับBPO:ด้วยการแยกส่วนไอทีออกจากบริการด้านธุรกิจ จึงสามารถเอาต์ซอร์สส่วนงาน/บุคลากรสำหรับบริการดังกล่าวได้ง่ายขึ้น ? ทดลองใช้งานก่อนตัดสินใจซื้อ:องค์กรสามารถทดลองใช้บริการโดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย ก่อนที่จะปรับใช้ระบบทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ ? ? ? ? ? พัฒนาแอพพลิเคชั่นบางอย่างโดยไม่ต้องให้ฝ่ายไอทีเข้ามาเกี่ยวข้อง:การใช้เครื่องมือพัฒนาที่มุ่งเน้นธุรกิจช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างแบบฟอร์ม รายงาน การปรับกระบวนการให้สอดคล้องกัน ฯลฯ ? ? ? ? สนับสนุนหลายช่องทาง/หลายแพลตฟอร์ม:ระบบคลาวด์ได้รับการออกแบบมาเพื่อนำเสนอฟังก์ชั่นของแอพพลิเคชั่น/ข้อมูลให้แก่อุปกรณ์/ช่องทางทั้งหมดที่ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย ? ? ข้อมูลความคิดเห็นจากรอบด้าน:เนื่องจากมีลูกค้าหลายรายใช้บริการคลาวด์ร่วมกัน ดังนั้นผู้ให้บริการจึงได้รับข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นที่หลากหลายจากลูกค้า และสามารถปรับปรุงคุณภาพและฟังก์ชั่นการทำงานได้อย่างเหมาะสม ? ? ? ปราศจากปัญหาในการอัพเกรด:การอัพเกรดส่งผลกระทบน้อยมากต่อผู้ใช้ในส่วนงานธุรกิจและการดำเนินธุรกิจโดยรวม ? ? ? ? ? ตารางด้านล่างนี้ระบุถึงประโยชน์เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ตั้งของบริการคลาวด์ ประโยชน์เพิ่มเติม Private Community Public cloud cloud cloud ความปลอดภัย:ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลสำคัญขององค์กรให้ปลอดภัย ? ? การประสานงานร่วมกันทั่วทั้งองค์กร:สามารถใช้ข้อมูล กฎเกณฑ์แอพพลิเคชั่น หรือบริการร่วมกับองค์กรอื่นๆ ที่ไว้ใจได้ ? ทางเลือก:สามารถเปรียบเทียบเทคโนโลยีของหลายบริษัท และเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะกับธุรกิจของลูกค้ามากที่สุด ? ? ผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศควรเชื่อมโยงเป้าหมายทางธุรกิจโดยรวมขององค์กรเข้ากับคุณประโยชน์ที่จะได้รับ โดยอ้างอิงจากคุณประโยชน์ทางธุรกิจ ของสองตารางข้างต้น และจากนั้นก็ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่บริการคลาวด์ตามประเภทที่เหมาะสม นอกจากนี้ สำหรับแอพพลิเคชั่นหรือบริการธุรกิจแต่ละ อย่าง จำเป็นที่จะต้องจัดเตรียมข้อมูลกรณีทางธุรกิจ โดยประเมินและให้เหตุผลสนับสนุนการเปลี่ยนย้ายระบบ แล้วทบทวนข้อมูลทั้งหมดตลอดอายุการใช้งาน ของบริการคลาวด์ อีกด้วย และสิ่งที่ต้องตระหนักอย่างชัดเจนนั่นคือประโยชน์ที่จะได้รับในความเป็นจริงนั้น อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นหรือบริการ ธุรกิจที่โยกย้ายไปสู่ระบบคลาวด์ รวมถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของบริการ ประสิทธิภาพของบริการ สถานที่ตั้งของระบบคลาวด์ ความแตกต่างหลากหลายของ ระบบคลาวด์ที่ใช้ และลักษณะเฉพาะของธุรกิจ อีกด้วย พร้อมลงมือและทดลองใช้ ระบบคลาวด์ได้แล้วค่ะท่าน CIO ทั้งหลาย เพราะธุรกิจไม่สามารถหยุดยั้งหรือ “รอ” ได้แม้แต่วินาทีเดียว -นท-

ข่าวฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส+เทคโนโลยีสารสนเทศวันนี้

ฟูจิตสึ พร้อมก้าวสู่ผู้นำทางด้านไอทีในปี 2020 ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด มีผลอย่างเป็นทางการ 1 สิงหาคม 2559

รายงานข่าวจาก บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด ในการแจ้งเปลี่ยนชื่อบริษัท เป็น บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด โดยเริ่มมีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไป ทั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนเพียงชื่อบริษัท เท่านั้น เลขที่ตั้งและทีมงานผู้บริหาร งานการให้บริการโซลูชั่นต่างๆต่างๆ ยังคงมีโครงสร้างเหมือนเดิม มร. อิจิ ฟูรูคาวา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ FTH กล่าวถึงการเปลี่ยนชื่อ บริษัทอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 สิงหาคม 2559 นี้ เพื่อก้าวเข้าสู่ฐานะผู้นำด้านการ

ฟูจิตสึ พร้อมโชว์นวัตกรรม เพื่อสิ่งแวดล้อมในงาน Eco-products International Fair 2016 International Conference ภายใต้แนวคิด “The Power of ICT for Green Future”

รายงานข่าวจาก บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมโชว์นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิด "The Power of ICT for Green...

บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไท... ภาพข่าว: ฟูจิตสึจัดกิจกรรมปลูกป่า ฉลอง 80 ปี เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คุ้งบางกระเจ้าเป็นปีที่ 2 — บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด นำทีมโดย ...

ภาพข่าว: ฟูจิตสึประกาศวิสัยทัศน์ “Human Centric Innovation in Action” นวัตกรรมเพื่อมนุษยชาติ เพื่อการใช้งานได้จริง ในยุคดิจิทัล IoT

มร. อิจิ ฟูรูคาวา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด (ที่ 1 จากซ้าย) ผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมด้วย มร. ฮิโรยูกิ ซาไค...

ภาข่าว: ฟูจิตสึ จัดกิจกรรม “Fujitsu Vaccination Day against Diphtheria” ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบให้กับพนักงาน

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) ได้จัดทำโครงการให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ "Fujitsu Vaccination Day against Diphtheria" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการป้องกันและ...

ภาพข่าว: ฟูจิตสึ รวมพลังจัดกิจกรรมเพื่อสังคม “The 15th FSBT Voluntary Blood Donation” ร่วมบริจาคโลหิตให้กับสภากาชาดไทย ครั้งที่ 15

เมื่อเร็วๆนี้ มร. อิจิ ฟูรูคาวา กรรมการผู้จัดการ (ที่ 5 จากซ้าย) และพนักงาน บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสภากาชาดไทย จัดกิจกรรม"The 15th FSBT...