งานวิจัยเผย ยากลุ่ม PPI เหมาะสมสำหรับการรักษาโรคกรดไหลย้อน หรือทางเดินอาหารเรื้อรัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค

โรคทางเดินอาหาร เป็นภัยร้ายที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ชีวิตของใครหลายคนทั่วทวีปเอเชีย งานวิจัยชิ้นประวัติศาสตร์ กินเวลากว่า 15 ปี ยืนยันว่ายากลุ่ม proton pump inhibitor (PPI) ชนิด แพนโทพราโซล (pantoprazole) ปลอดภัยและรักษาภาวะผิดปกติในระบบทางเดินอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว งานวิจัยใหม่ เผยเทคนิคการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติทั้งในระบบทางเดินอาหารและหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางเดินอาหารจากทั่วโลกได้ร่วมประชุมระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหาโรคกรดไหลย้อน และอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารประเภทอื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งกำลังคุกคามเป็นภัยร้ายต่อสุขภาพชาวเอเชีย ปัจจุบัน ทั่วเอเชีย จากการศึกษาพบว่าจำนวนผู้ป่วย โรคผิดปกติในระบบทางเดินอาหารมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ดร. เดนิส ซี. โง อายุรแพทย์ประจำ แผนกวิทยาทางเดินอาหาร มหาวิทยาลัยซานโต โทมาส (UST) กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้กล่าวอธิบายไว้ว่า “แพทย์ในหลายประเทศของทวีปเอเชียพบแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง เช่นภาวะกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร หรืออาการแสบร้อนกลางหน้าอก เป็นผลมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป โรคอ้วน และความเครียดในชีวิตประจำวัน[i]” ในฟิลิปปินส์ อัตราผู้ป่วยที่มีอาการหลอดอาหารอักเสบเนื่องจากภาวะกรดไหลย้อนได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.9 เป็น 6.3 ภายในเวลาเพียง 6 ปี[ii] ในขณะที่มาเลเซีย ก็มีอัตราผู้ป่วยดังกล่าวพุ่งขึ้นจากร้อยละ 2.0 เป็น 8.4 ในระยะเวลาเพียง 10 ปี[iii] ส่วนในไต้หวัน งานวิจัยด้านโรคหลอดอาหารอักเสบได้เผยว่าอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากร้อยละ 5.0 เป็น 12.6 ในเวลา 7 ปี[iv] นอกจากนั้นความชุกของผู้ป่วยที่มีอาการโรคกรดไหลย้อนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี และไต้หวัน) แล้ว จะพบว่าอัตราผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.2 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 8.5 ในปี 2553[v] สำหรับในมาเลเซีย จำนวนผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในช่วงระหว่างปี 2534-2535 เป็น 9.0 ในช่วงปี 2543-2544[vi] ในขณะที่โรงพยาบาล Cipto Mangunkusumo ในอินโดนีเซียนั้น ก็พบว่าอัตราผู้ป่วยได้พุ่งขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในปี 2540 เป็นร้อยละ 25.18 ในปี 2545[vii] ทุกวันนี้ในแต่ละสัปดาห์ราวร้อยละ 2.5-4.8 ของประชากรทั่วทวีปเอเชีย ต้องประสบกับปัญหาอาการแสบร้อนกลางหน้าอกหรือกรดไหลย้อน[viii] นอกจากอาการแสบร้อนกลางหน้าอก ผู้ป่วยโรคเหล่านี้ จะมีอาการอื่นๆร่วม เช่น กลืนอาหารลำบาก อ่อนแรง นอนหลับไม่สนิท ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมมากกว่าอาการของโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่นโรคเบาหวาน ข้ออักเสบ หรือแม้แต่โรคหัวใจ[ix] หลายประเทศในเอเชียในขณะนี้ มีอัตราผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน (ร้อยละ 12.4)[x] ในจีน ถึงร้อยละ 17[xi] หรือ ในฮ่องกงถึงร้อยละ 29.8[xii] “อาการของโรคนี้มีความรุนแรงจนผู้ป่วยต้องการวิธีบำบัดรักษาที่สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว เช่นการใช้ยา PPI แทนที่จะบรรเทาอาการในระยะสั้นเท่านั้น” ดร. เดนิส ซี. โงกล่าวเสริม ทั้งนี้ ยาในกลุ่ม PPI ได้รับการยอมรับในฐานะยาตัวสำคัญสำหรับการรักษาโรคทางเดินอาหารเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับกรดในกระเพาะอาหาร เนื่องจากตัวยาสามารถยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ที่กระตุ้นให้เกิดการผลิตกรดในกระเพาะอาหารได้ การรักษาโรคทางเดินอาหารในระยะยาว จำนวนผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารเรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้นในเอเชีย ทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกิดความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการใช้ยา PPI ในระยะยาว ซึ่งรวมถึงอาการกระดูกเปราะ หรือแม้แต่มะเร็งในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ยาร่วมกัน ระหว่างยา PPI บางประเภทกับยารักษาโรคหัวใจอย่าง ยาละลายลิ่มเลือด (clopidogrel) ซึ่งในหลายงานวิจัยพบว่า ยา PPI บางประเภทไปลดประสิทธิภาพการทำงานของ ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งเป็นยาที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งมิให้เกิดภาวะเลือดคั่ง อันอาจนำไปสู่อาการหัวใจล้มเหลวหรือโรคหลอดเลือดสมองได้ จึงทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูงขึ้น[xiii] “ผู้ป่วยหลายรายต้องใช้ทั้งยา PPI และยา clopidogrel ควบคู่กันไป และด้วยเหตุนี้เอง เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับปฏิกริยาเชิงลบที่เกิดขึ้นระหว่างตัวยาทั้งสองโดยละเอียด เพื่อค้นหาว่ายา PPI ทุกตัวมีผลกับยาละลายลิ่มเลือด เหมือนกันทั้งหมดหรือไม่ และตัวยาใดบ้างที่สามารถใช้รักษาโรคทางเดินอาหารเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจได้” ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดวิด เอ. พิวรา จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา กล่าวอธิบายก่อนขึ้นนำเสนอผลงานวิจัยล่าสุดด้านการใช้ยา PPI และ ยาละลายลิ่มเลือด งานวิจัยใหม่เผยข้อเท็จจริงของการใช้ยา PPI และยาละลายลิ่มเลือดควบคู่กัน งานวิจัยใหม่ชิ้นนี้ ได้ทำการทดลองใช้ยา PPI กับกลุ่มตัวอย่าง 160 คน โดยพบว่ายา PPI บางชนิด เช่นยา แลนด์โซ พราโซล (lansoprazole) และ เด็กซ์แลนด์โซพราโซล (dexlansoprazole) ถือเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารและผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยจากการวิเคราะห์ปฏิกริยาระหว่างยา PPI ชนิด แลนด์โซพราโซล, เด็กซ์แลนด์โซพราโซล , อีโซมีพราโซล (esomeprazole) และ โอมีพราโซล (omeprazole) ควบคู่กับยาละลายลิ่มเลือด พบว่ายา เด็กซ์แลนด์โซพราโซล และ แลนด์โซพราโซล มีผลกับการทำงานของยาละลายลิ่มเลือด น้อยกว่ายา PPI ชนิดอื่นมาก ดังนั้น แลนด์โซพราโซล และ เด็กซ์แลนด์โซพราโซล จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการใช้รักษาในผู้ป่วยที่ต้องได้รับ PPI ทั้งนี้ ยา อีโซมีพราโซล และ โอมีพราโซล มีผลลดประสิทธิภาพการทำงานของยาละลายลิ่มเลือด ลงราวร้อยละ 22.5 และ 19.2 ตามลำดับ ในขณะที่ยา แลนด์โซพราโซล และเด็กซ์แลนด์โซพราโซล นั้น มีผลกระทบเพียงแค่ร้อยละ 7.2 และ 0.2 เท่านั้น[xiv] “งานวิจัยนี้พิสูจน์ให้เห็นว่ายา PPI แต่ละตัวนั้น มีผลต่อยาละลายลิ่มเลือดไม่เท่ากัน และจะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถเลือกใช้ยา PPI ในการรักษาผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น” ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดวิด เอ. พิวรา กล่าวเสริม งานวิจัยชิ้นสำคัญยืนยันความปลอดภัยของยา PPI นอกจากนี้แล้ว งานวิจัยชิ้นสำคัญอีกหนึ่งชิ้นก็ได้ยืนยันถึงความปลอดภัยในระยะยาว ของยาแพนโตพราโซล (pantoprazole) ซึ่งเป็นยา PPI ที่เป็นที่นิยมตัวหนึ่ง[xv] โดยจากการทดลองใช้ยาแพนโตพราโซล ในกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยผู้ใหญ่ 142 คน เป็นเวลานานกว่า 15 ปี ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีอัตราการหายของโรคถึงร้อยละ 95.8 ภายในเวลา 12 สัปดาห์ โดยไม่พบความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงเช่นมะเร็งในกระเพาะอาหาร ทั้งนี้ การวิจัยผลข้างเคียงของยา PPI ที่ผ่านมานั้น ได้พิสูจน์ความปลอดภัยของตัวยากลุ่มนี้ในการใช้ยาระยะยาวนานที่สุดเป็นเวลา 10 ปี จึงทำให้ผลงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ถือว่าเป็นงานวิจัยยา PPI ที่ครอบคลุมระยะเวลายาวนานที่สุด “การวิจัยครั้งนี้ยืนยันว่ายาแพนโตพราโซล สามารถควบคุมปริมาณการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร และรักษาแผลในระบบทางเดินอาหารส่วนบนได้ในระยะยาว โดยไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด” ศาสตราจารย์ จี. บรุนเนอร์ แพทย์ประจำแผนกโรคทางเดินอาหารและตับ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮันโอเวอร์ ประเทศเยอรมนี กล่าวอธิบาย “จากงานวิจัยชิ้นนี้ของแพนโตพราโซล ข้อมูลนี้จะช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยมั่นใจยิ่งขึ้นไปอีกว่าการใช้ยา PPI รักษาโรคกรดไหลย้อนและอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ในระยะยาว นั้น เป็นเรื่องที่ปลอดภัย” [i] Fock KM et al. Asia-Pacific consensus on the management of gastroesophageal reflux disease: update.J Gastreoenterol Hepatol 2008:23:8-22. [ii] Sollano JD, Wong SN, Andal-Gamutan T et al. Erosive esophagitis in the Philippines: a comparison between two time periods. J. Gastroenterol. Hepatol. 2007; 22: 1650–5. [iii] Goh KL, Wong HT, Lim CH, Rosaida MS. Time trends in peptic ulcer, erosive reflux oesophagitis, gastric and oesophageal cancers in a multiracial Asian population. Aliment. Pharmacol. Ther. 2009; 29: 774–80. [iv] Lien HC, Chang CS, Yeh HZ et al. Increasing prevalence of erosive esophagitis among Taiwanese aged 40 years and above: a comparison between two time periods. J. Clin. Gastroenterol. 2009; 43: 926–32. [v] He J, Ma X, Zhao Y, et al. A population-based survey of the epidemiology of symptom-defined gastroesophageal reflux disease: the Systematic Investigation of Gastrointestinal Diseases in China. BMC Gastroenterol. 2010;10:94. [vi] Rosaida MS, Goh KL. Opposing time trends in the prevalence of duodenal ulcer and reflux esophagitis in a multiracial Asian population. Gastroenterology. 2004;126. Abstract 443. [vii] Syam AF, Abdullah M, Rani AA. Prevalence of reflux esophagitis, Barret’s esophagus and esophageal cancer in Indonesian people evaluation by endoscopy. Canc Res Treat 2003;5:83 [viii] Dent J et al. Gut 2005;54:710-17. [ix] Wiklund I, Review of the quality of life and burden of illness in gastroesophageal reflux disease. Dig Dis. 2004;22(2):108-14.http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15383750 accessed 230612 [x] Jung H. J Neurogastroenterol Motil 2011;17(1):14-27 [xi] Wang JH et al. World J Gastroenterol 2004;10:1647-1651 [xii] W. M. Wong, K C. Lai, K. F. Lam, W. M. Hui, W. H. C. Hu, C. L. K. Lam, H. H. X. Xia, J. Q Huang, C. K. Chan, S. K. Lam & B. C. Y. Wong. Prevalence, clinical spectrum and health care utilization of gastro-oesophageal reflux disease in a Chinese population: a population-based study. Aliment Pharmacol Ther 2003; 18: 595-604. [xiii] O’donoghue et al. Lancet 2009:37(4):989-997 [xiv] Frelinger AL. J Am Coll Cardiol 2011; 57:E1098 [xv] G. Brunner et al. Long-term, open-label trial: safety and efficacy of continuous maintenance treatment with pantoprazole for up to 15 years in severe acid peptic disease Alimentary Pharmacology Therapeutics 2012 -นท-

ข่าวระบบทางเดินอาหาร+โรคกรดไหลย้อนวันนี้

"กรดไหลย้อน" โรคยอดฮิตที่เกิดได้ทุกวัย

"กรดไหลย้อน" เป็นภาวะระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อย และเป็นโรคใกล้ตัวที่ไม่ว่าจะวัยไหน ๆ ก็สามารถเป็นได้ โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่มักสับสนระหว่างกรดไหลย้อนและอาการจุกเสียดแน่นท้อง ดังนั้นเพื่อเข้าใจความแตกต่าง เรามาทำความเข้าใจถึงสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค และการป้องกันดูแลตนเองอย่างถูกต้อง โรคกรดไหลย้อน คืออะไร ? "โรคกรดไหลย้อน" สามารถพบได้ทุกวัย เกิดจากภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองจากกรดและเกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยทั่วไปมักมีอาการ

เซเบลา ฟาร์มาซูติคอลส์ ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพื่อพัฒนาและจัดจำหน่ายยาเทโกพราซานในสหรัฐและแคนาดา

เริ่มการทดลองเฟส 3 โดยใช้ยาเทโกพราซานรักษาอาการหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อนและกรดไหลย้อนชนิดไม่มีการอักเสบของหลอดอาหาร เซเบลา ฟาร์มาซูติคอลส์ (Sebela Pharmaceuticals(R) ) ได้ทำข้อตกลงแต่...

ศูนย์ทางเดินระบบอาหาร โรงพยาบาลไทยนครินทร... ภาพข่าว: รู้ป้องกัน รู้รักษา โรคกรดไหลย้อน — ศูนย์ทางเดินระบบอาหาร โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เล็งเห็นความสำคัญของโรคกรดไหลย้อน เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็น...

เนื้อหาสำคัญในการประชุม SAGES 2016 บ่งชี้ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของ Stretta Therapy ในการรักษาโรคกรดไหลย้อน

Mederi Therapeutics, Inc. เปิดเผยว่า มีการนำเสนอข้อมูลใหม่เกี่ยวกับ Stretta และมีการพูดถึง Stretta ในการบรรยายให้ความรู้หลายรอบระหว่างการประชุมของสมาคมศัลยแพทย์ส่องกล้องและศัลยแพทย์ระบบทาง...

รพ.กรุงเทพ จัดงาน Food for GERD Market เนื่องในวันกรดไหลย้อนโลก

รพ.กรุงเทพ จัดงาน Food for GERD Market เนื่องในวันกรดไหลย้อนโลก วันที่ 29 30 พฤษภาคม 2558 โรงพยาบาลกรุงเทพ ร่วมกับ สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ขอเชิญผู้สนใจ หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคกรดไหลย้อน ร่วม “งาน Food for GERD Market”...

โรงพยาบาลนครธน จัดงาน “สุขภาพดี…เลือกได้ by Nakornthon : Healthy for Life”

ด้วยโรงพยาบาลนครธน จะมีการจัดงาน “สุขภาพดี…เลือกได้ by Nakornthon : Healthy for Life” รวบรวมกิจกรรม และแพ็คเกจสุขภาพดีราคาพิเศษ รวมถึงสิทธิพิเศษสำหรับสุขภาพดีอื่นๆ อีกมากมาย พร้อมรับฟังเสวนาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวัน - ...

โรงพยาบาลนครธน ขอเชิญผู้รักสุขภาพร่วมงาน ... สุขภาพดี…เลือกได้ by Nakornthon : Healthy for Life — โรงพยาบาลนครธน ขอเชิญผู้รักสุขภาพร่วมงาน “สุขภาพดี…เลือกได้ by Nakornthon : Healthy for Life” พบกับ...

รายงานการศึกษาล่าสุดเผย Stretta อาจรักษาโรคกรดไหลย้อนได้เป็นที่น่าพอใจกว่าการใช้ยาในกลุ่ม PPI หรือการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยบางราย

รายงานการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษาด้วย Stretta ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เมื่อเร็วๆนี้ทำให้ผู้คนหันกลับมาสนใจวิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อนแบบไม่ต้องผ่าตัดอีกครั้ง โดยรายงานดังกล่าว...

กาวิสคอน ดูอัล แอคชั่น จัดงาน “ศูนย์กู้ภัยอาหารไม่ย่อยและกรดไหลย้อน” บรรเทาสองโรคฮิตของคนยุคดิจิตัล

เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ ?ผู้นำ?เข้า?และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ กาวิสคอน (Gaviscon) จัดงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ กาวิสคอน ดูอัล แอคชั่น ใหม่ (Gaviscon Dual Action) ยาบรรเทาอาการอาหาร ไม่ย่อยและแสบร้อนกลางอก...

รายงานล่าสุดของ SAGES แนะนำให้ใช้ Stretta ในการรักษาโรคกรดไหลย้อน

- คุณภาพของหลักฐาน ( ) - ระดับคำแนะนำ: Strong (สูงสุด) Mederi Therapeutics Inc. ประกาศว่า สมาคมศัลยแพทย์ส่องกล้องและศัลยแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งอเมริกา (Society of American Gastrointestinal and Endoscopic Surgeons: SAGES) ได้แนะนำให้...