ฟังดนตรีฮาร์พเพื่อการกุศลช่วยกาชาดไทย และชมการแข่งขันฮาร์พเยาวชนนานาชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--10 ส.ค.--ศูนย์ฮาร์พตำหนักประถม

ภาคดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับศูนย์ฮาร์พตำหนักระถม ได้ร่วมมือกันจัดงานเทศกาลดนตรีฮาร์พ และการแข่งขันฮาร์พระดับเยาวชนนานาชาติหรือ 2nd Thailand International Harp Festival and Youth Competition 2012 ระหว่างวันที่ 15-19 สิงหาคม ศกนี้ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยรายได้สมทบกองทุนสุทธสิริโสภา สภากาชาดไทย งานเทศกาลดนตรีฮาร์พ และการแข่งขันฮาร์พระดับเยาวชนนานาชาตินี้ เริ่มขึ้นเมื่อปี 2009 โดยแบ่งเป็นสองส่วนคือ การแข่งขัน และการแสดงคอนเสิร์ต ภายใต้คำขวัญ “ มิตรภาพผ่านดนตรี” โดยได้ขอพระราชทานถ้วยการแข่งขันดนตรีฮาร์พ เป็นถ้วยรางวัลประจำการแข่งขัน โดยได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ผู้สอนฮาร์พ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกันสนับสนุนส่งเยาวชนนักฮาร์พของตนเข้าร่วม โดยหวังเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ วิชาการของนักฮาร์พทั้งหลายในแถบนี้ ให้มีความก้าวหน้า ขึ้นไปอีก และได้เชิญนักฮาร์พระดับโลกมาแสดงในงานนี้ร่วมกัน Elinor Bennett นักฮาร์พผู้มีชื่อเสียงและบรมครูฮาร์พชาวเวลส์ ประธานด้าน Artistic Director รวมทั้งคณะกรรมการอื่นๆ รศ.ดร.ธงสรวง อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจารย์ประจำภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Co Artistic Director ของไทย Marielle Nordmann นักฮาร์พชื่อดังชาวฝรั่งเศส Florence Sitruk ครูฮาร์พประจำที่ Geneva Conservatoire Yasuko Kashiwabara ครูฮาร์พประจำ Tokyo College of Music และกรรมการ สมาชิกของ Nippon Harp Association Catrin Finch อดีตนักฮาร์พหลวงประจำพระองค์ Prince of Wales, Jie Zhou นักฮาร์พประจำวงDusseldorf Stage Opera Orchestra และ Judith Utley ครูฮาร์พจากมหาวิทยาลัยพายัพ การแข่งขันครั้งนี้มีเยาวชนมาเข้าร่วม 16 คน จากเจ็ดประเทศ ทั้งเอเซียและยุโรป อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ เวลส์ และประเทศไทย ผู้ชนะการแข่งขันและครองถ้วยพระราชทานครั้งแรกนั้นคือ Yeona Pi จากประเทศเกาหลี เธอจะมาร่วมแสดงในปีนี้ ในฐานะผู้ชนะเลิศและเพื่อส่งต่อถ้วยรางวัลพระราชทานแก่ผู้ชนะคนต่อไป การแข่งขันฮาร์พในปีนี้ จะมีขึ้น ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่าง วันที่ 17 และ 18 สิงหาคมนี้ คณะผู้จัดได้จัดคอนเสิร์ตฮาร์พทุกคืนของงาน รวมทั้งหมดสี่รายการ โดยได้นำนักฮาร์พเยาวชนผู้ชนะการแข่งขันฮาร์พในระดับอายุต่ำ กว่า 17 ปี 3 คน คือ Yeona Pi ผู้ชนะเลิศครั้งที่แล้ว Artemiy Izmaylov อายุ 16 ปี จากประเทศรัสเซีย และ Mared Pugh Evans อายุ 15 ปี จากเวลส์ ประเทศสหราชอาณาจักร มาแสดงคอนเสิร์ตเปิดงาน ในวันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม ให้ชื่อว่า “ Focus On Youth ” เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจแก่นักฮาร์พเยาวชนทั้งหลาย Artemy Izmaylov ชนะเลิศ การแข่งขัน Szeged International Harp Competition of Hungary ประเภทอายุต่ำกว่า 17 ปี และ Mared Emyr Pugh-Evans ชนะเลิศการแข่งขัน Godefroid Competition ณ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อปีที่ผ่านมานี้ ในวันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พบกับศิลปินนักฮาร์พระดับโลก Catrin Finch อดีตนักฮาร์พหลวงของมกุฎราชกุมารชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ในคอนเสิร์ต LIVE in Concert ณ หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกคอนเสิร์ตในวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม จะเป็นการแสดงของกลุ่มนักดนตรีรุ่นใหม่ คือ The Lumaka Ensemble ซึ่งประกอบด้วย นักฮาร์พ ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และฟลุ้ต จากประเทศเนเธอแลนด์รวมห้าคน รายการสุดท้ายในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม เป็นการแสดงของนักฮาร์พยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส คือ Marielle Nordmann ผู้เคยมาแสดงถวาย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมาแล้ว ครั้งนี้ Marielle Nordmann จะมาแสดงรายการ “Encuentro” Tangos et Milongas” ร่วมกับนัก bandoneon หรือ accordian ชื่อ Eduardo Garcia โดยจะนำเสนอผลงานของ Albeniz, Villa-Lobos , Piazzola ณ หอประชุมเล็ก ของศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รายได้จากการแสดงคอนเสิร์ต จะนำสมทบกองทุนสุทธสิริโสภา เพื่อแผนกโลหิตวิทยา สภากาชาดไทย บัตรราคา 1,200 บาท ( 500 สำหรับนักเรียน ) ราคาบัตรพิเศษ ชุดละ 4,000 บาท สำหรับ 4 คอนเสิร์ต สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ฮาร์พตำหนักประถม โทร.02 261 4777-8 หรือ [email protected] หรือผ่าน Thaiticket Majors 02 262 3456 -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+กรมส่งเสริมวัฒนธรรมวันนี้

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จับมือ วช. พลิกงานวิจัยสร้างสังคมไร้ความรุนแรง ผลิตภาพยนตร์ "เรื่องของเรา" เล่าเรื่องคนชายแดนใต้ มุ่งสู่สันติภาพด้วยมุมมองก้าวพ้นตัวตน

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สร้างผลงานวิจัยตามยุทธศาสตร์นำนวัตกรรมสื่อสร้างสังคมไร้ความรุนแรง ในโอกาสครบรอบ 60 ปี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ผลิตภาพยนตร์ผลงานจากการวิจัย "เรื่องของเรา" เล่าเรื่องความขัดแย้งชายแดนใต้ที่ก้าวพ้นตัวตน เสนอเรื่องราวคนในพื้นที่ที่ถูกบดบังจากความขัดแย้ง หนุนบทบาทการสร้างสันติภาพด้วยความรู้และนวัตกรรมทางสังคม รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ

ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนพูดคุย...จิบถ้อยคำผ่านบทกวี — ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร่วมวงแลกเปลี่ยนเขียนอ่านของผู้ที่รักหนังสือ The Writer's Life...

นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร... SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต สนับสนุนประกันเดินทางนักกีฬาจุฬาฯ เข้าแข่งขันตุมปังเกมส์ 2025 — นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ...

ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญ... จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University — ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...

ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ ร... ถอดบทเรียน Passion with Purpose — ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...

พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจ... ขอเชิญเข้าร่วมฟังงาน Research Seminar ในหัวข้อ: AI, MARKETING ROBOTS AND LOVE — พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial I...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที... เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...