รัฐบาลสหรัฐคัดเลือกเอเอ็มดีให้รับผิดชอบโครงการด้านวิศกรรรม และกำหนดอนาคตของระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส

บริษัท เอเอ็มดี ประกาศว่า บริษัทได้รับเลือกให้ดำเนินโครงการวิจัย 2 โครงการรวมมูลค่า 12.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลขนาดมหึมา (Extreme-Scale Computing Research and Development Program) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “FastForward” ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ (DOE) โดยโครงการทั้ง 2 แบ่งเป็น โครงการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีตัวประมวลผล มูลค่า 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีหน่วยความจำ มูลค่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หน่วยประมวลผล AMD Opteron? ซึ่งคว้ารางวัลจากหลายสถาบัน ได้เข้าไปเป็นขุมพลังขับเคลื่อนการทำงานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจำนวนหลายระบบ และบริษัทยังเป็นผู้สร้างสรรค์ เทคโนโลยีหน่วยเร่งการประมวลผล (APU) รายแรกและรายเดียวของโลกในขณะนี้ โครงการ FastForward เป็นโครงการทำงานร่วมกันด้วยเงินทุนสนับสนุน จากสำนักงานวิทยาศาสตร์ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ และสำนักบริหารความมั่นคงทางนิวเคลียร์แห่งชาติ (NNSA) เพื่อริเริ่มการสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับบริษัทต่างๆ และกระตุ้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญๆ ที่จำเป็นต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลขนาดมหึมา บนเส้นทางของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรรถนะในการประมวลผลระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์หลักเอ็กซาฟลอป หรือความเร็วในการประมวลผลชุดคำสั่งได้ถึงล้านล้านหน่วยต่อวินาที (Exascale Computing) เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ Exascale Computing เป็นความท้าทายอันใหญ่หลวงและมีความสำคัญยิ่ง ต่อการสร้างพลังในการคำนวณของคอมพิวเตอร์ให้ก้าวสู่ระดับที่สูงยิ่งขึ้น ซึ่งจำเป็นต่อความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคงปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา โดยแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐคือการเสาะหาอย่างเร่งด่วนที่สุดที่ทำให้การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุการณ์จำลองสามารถเกิดขึ้นได้จริง ด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับ Exascale Supercomputers ที่มีความเร็วในการประมวลผลระดับสูงสุดของโลก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับ Exascale จะได้รับการพัฒนาด้านสมรรถนะที่สามารถคำนวณด้วยความเร็วสูงถึง 1 ควินทิลเลียน (quintillion) หรือพันล้านพันล้านหน่วยต่อวินาที หรือเร็วกว่าระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในปัจจุบันถึง 1,000 เท่า โดยได้รับการออกแบบให้เป็นการพัฒนาเพื่อหลุดพ้นจากข้อจำกัดที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเผชิญอยู่ ด้วยการลดระยะเวลาที่คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการตามโปรแกรม (run time) ให้สั้นลง ซึ่งมีความสำคัญต่อสมรรถนะในการคำนวณ และปรับปรุงความสามารถในการทำงานด้านการวิเคราะห์แบบลงรายละเอียดของระบบที่มีความซับซ้อน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์, ฟิสิกส์ดาราศาสตร์, การทำแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงของชาติ ล้วนแล้วแต่มีแอพพลิเคชั่นที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลระดับมหึมา (Extreme Computing) "เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลขนาดใหญ่มาก สำนักบริหารความมั่นคงทางนิวเคลียร์แห่งชาติ และสำนักงานวิทยาศาสตร์ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ กำลังดำเนินขั้นตอนเชิงรุกในการสร้างความร่วมมือด้านการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ในสาขาหลักๆ ได้แก่ เทคโนโลยีตัวประมวลผล, เทคโนโลยีการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล และเทคโนโลยีหน่วยความจำ ร่วมกับเอเอ็มดี และพันธมิตรรายอื่นๆ” นายทุค ฮวง จากสำนักบบริหารความมั่นคงทางนิวเคลียร์แห่งชาติ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐกล่าว และเสริมว่า “หัวใจของความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) ยุคต่อไปก็คือ การนำโนว์ฮาว และมันสมองที่ล้ำเลิศของผู้นำในอุตสาหกรรมและห้องปฏิบัติการแห่งชาติ เข้ามาทำงานร่วมกันบนความท้าทายที่ยิ่งใหญ่นี้” “เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับคัดเลือกสำหรับโครงการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงก้าวข้ามไปสู่ขอบเขตที่สูงขึ้น” นายอลัน ลี รองประธานบริหารฝ่ายองค์กร ซึ่งรับผิดชอบงานวิจัยและพัฒนาขั้นก้าวหน้า ของเอเอ็มดีกล่าว พร้อมทั้งระบุเพิ่มเติมว่า “ เอเอ็มดี เป็นพันธมิตรชั้นนำในด้านเทคโนโลยี สำหรับผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงชั้นนำของโลกหลายราย และเงินทุนจากกระทรวงพลังงานสหรัฐในครั้งนี้ ก็จะนำมาสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอันสำคัญยิ่ง ซึ่งจะช่วยให้เกิดระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับมหึมา ที่ประหยัดพลังงาน และมีสมรรถนะการประมวลผลในระดับสูง พร้อมกันนนี้ เอเอ็มดี จะเดินหน้าทำงาน เพื่อขับเคลื่อนความเร็วในการเข้าถึงหน่วยความจำ และความเร็วในการสื่อสาร ให้ล้ำหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับสถาปัตยกรรมที่ใช้ตัวประมวลผลที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับ Exascale ที่มีตัวประมวลผลติดตั้งอยู่หลายพันตัว” ขณะที่ ดร.วิลเลี่ยม เจ.แฮร์รอด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ประจำสำนักงานวิทยาศาสตร์ กระทรวงพลังงานสหรัฐ , ASCR ก็ระบุว่า “เทคโนโลยีในการประมวลผลขนาดใหญ่มาก จะทำให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในอีกระดับที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง สามารถทำงานที่สูงขึ้นจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่พลังการประมวลผลในหลักเพทาฟล็อป (Petascale Computers) ในปัจจุบันถึง 1 พันเท่าตัว ขณะเดียวกัน ก็ประหยัดพื้นที่ และพลังงาน “ ปัจจุบัน ตัวประมวลผล AMD Opteron ได้ถูกนำไปใช้ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลกมากมาย โดยรวมถึง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Roadrunner ของไอบีเอ็ม ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอส อลามอส ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ซึ่งเมื่อปี 2551 ถือว่าเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลในระดับ เพทาฟล็อป ที่มีความเสถียร นอกจากนี้ ยังมีการนำไปใช้ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลในระดับเพทาฟล็อปเครื่องที่ 2 ของโลก คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Jaguar ของบริษัท เครย์ (Cray) ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊ค ริดจ์ นอกจากนั้น กระทรวงพลังงานสหรัฐ ยังประกาศเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่ผ่านมา ว่าจะมีการติดตั้งตัวประมวลผลตระกูล AMD Opteron? 6200 จำนวน 19,200 ตัว เพื่อเป็นขุมพลังให้กับการประมวลผลของระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใหม่ในชื่อ Titan ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊ค ริดจ์ โดยมีการคาดหมายว่า จะช่วยเพิ่มสมรรถนะการประมวลผลสูงสุดได้เกินกว่า 20 เพทาฟล๊อป เมื่อมีการใช้งานเต็มที่ในต้นปี 2557 ทั้งนี้ ตัวประมวลผล AMD Opteron ยังได้รับเลือกสำหรับโครงการระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Blue Waters ที่ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ประยุกต์แห่งชาติ (National Center for Supercomputing Applications) ซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ที่เออร์แบนา-แชมเปญจ์ (Urbana-Champaign) -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวกระทรวงพลังงานสหรัฐ+กระทรวงพลังงานวันนี้

เอซ กรีน รีไซคลิง ลงนามข้อตกลงการวิจัยการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ร่วมกับห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทนแห่งสหรัฐ

ข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา (CRADA) จะมุ่งเน้นไปที่การรีไซเคิลแบตเตอรี่ LFP และโซลูชันการกู้คืนแกรไฟต์จากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่หมดอายุการใช้งาน เอซ กรีน รีไซคลิง (ACE Green Recycling) หรือเอซ (ACE) และห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทนแห่งชาติ (NREL) ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา (CRADA) เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุนต่ำของเอซ ซึ่งครอบคลุมการรีไซเคิลแกรไฟต์, ลิเธียมเหล็กฟอสเฟต

PGNiG บรรลุข้อตกลงซื้อก๊าซแอลเอ็นจีจาก Venture Global LNG เพิ่มอีก 1.5 ล้านตันต่อปี

เนื่องในโอกาสที่นายอันด์แชย์ ดูดา ประธานาธิบดีโปแลนด์ เดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ บริษัท Polish Oil and Gas Company (PGNiG) ได้ลงนามข้อตกลงซื้อก๊าซแอลเอ็นจีจากบริษัท Venture Global LNG เพิ่มอีก 1.5...

กระทรวงพลังงานสหรัฐออกใบอนุญาตให้ Venture Global Calcasieu Pass ส่งออกก๊าซไปยังประเทศนอกกลุ่มเขตการค้าเสรี

บริษัท Venture Global LNG, Inc. ประกาศว่า กรมพลังงานฟอสซิล สังกัดกระทรวงพลังงานสหรัฐ ได้ออกใบอนุญาตให้สถานีส่งออกก๊าซ Venture Global Calcasieu Pass สามารถส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลวที่ผลิตจากแหล่งคา...

ปตท. นำลดราคาดีเซลและเบนซินลง 60-80 สตางค์ เป็นครั้งที่ 36

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกอ่อนตัวลงจากการที่กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ได้ปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันโลกปี 2552 ลง 740,000 บาร์เรลต่อวัน...

กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ โดดร่วมทดสอบ เชฟโรเลต อีคิวน็อกซ์ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ไฮโดรเจน ฟิวเซล “ปลอดน้ำมัน ไร้มลพิษ”

วอชิงตัน สหรัฐอเมริกา – “เชฟโรเลต อีควิน็อกซ์” รถยนต์พลังงานไฟฟ้า พลังทางเลือกใหม่ ไฮโดรเจน ฟิวเซล นวัตกรรมสรรสร้างด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้า ได้รับความร่วมมือจาก กระทรวงพลังงาน สหรัฐอเมริกา ...

ภาพข่าว: นายกรัฐมนตรีให้การต้อนรับประธานโอเปกและคณะฯ ในโอกาสเดินทางมาประชุม Asian Energy Dialogue ที่ประเทศไทย

นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ขวามสุด แถวหน้า) นำนายโมฮัมหมัด บิน อัล ฮัมลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และประธานโอเปก (ที่ 3 จากซ้าย แถวหน้า)...

กระทรวงพลังงานร่วมกับปตท. ดึงกลุ่มโอเปกร่วมประชุมความร่วมมือทางการค้าด้านพลังงานภูมิภาคเอเชียในประเทศไทย

นายมูฮัมหมัด บิน ดาอิน อัล ฮัมลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประธานโอเปก พร้อมด้วย นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน...