ทาเคดามอบทุน 200,000 บาท แก่สมาคมอุรเวชช์ เพื่อวิจัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค

มร. ปีเตอร์ หวง (ที่สองจากขวา) กรรมการผู้จัดการ และนายปรีชา ยิ่งวัฒนากุล (ขวาสุด) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนมอบทุนจากทาเคดา จำนวน 200,000 บาท ให้แก่สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ในประเทศไทย ภายใต้โครงการ “การมอบทุนการศึกษาวิจัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง” หรือ ActCOPDifferently Research Grants โดยมีศาสตราจารย์แพทย์หญิง สุมาลี เกียรติบุญศรี (ที่สองจากซ้าย) หน่วยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรองศาสตราจารย์นายแพทย์กิตติพงศ์ มณีโชติสุวรรณ (ซ้ายสุด) ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาโรคระบบการหายใจและวัณโรค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานฝ่ายวิจัย สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นตัวแทนรับมอบทุนดังกล่าว ภายในงานประชุมวิชาการกลางประจำปี 2555 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ จัดโดยสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา ระหว่างวันที่ 23-25 สิงหาคม ที่ผ่านมา โครงการ “การมอบทุนการศึกษาวิจัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง” จากทาเคดา ประเทศไทย จะทำการมอบทุนวิจัยทั้งหมดเป็นเวลา 5 ปี (ปีละ 200,000 บาท) โดยรวมเป็นเงิน 1 ล้านบาท ให้แก่สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ในประเทศไทยต่อไป เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังถือว่าเป็นโรคเรื้อรังและรักษาให้หายขาดไม่ได้ โดยเป็นโรคร้ายที่สร้างความเสียหายให้กับปอดและส่งผลให้มีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยหอบ มีเสมหะมาก มีอาการไอเรื้อรัง สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นก็คือการสูดเอามลภาวะต่างๆ เข้าไปในปอด ไม่ว่าจะเป็นควันบุหรี่ ควันจากเตาถ่าน และอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อปอดอักเสบ และส่งผลให้ทางเดินหายใจตีบตัน จนสุขภาพของผู้ป่วยทรุดโทรมลงอย่างร้ายแรงในที่สุด อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจกำเริบได้แบบเฉียบพลัน จนกระทั่งผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการณ์ว่ามีผู้ป่วยจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระดับความรุนแรงปานกลางถึงสูงอยู่กว่า 65 ล้านคนทั่วโลก โดยในปี 2548 นั้น มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลก ปัจจุบัน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 5 ของโลก และอาจขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2573 อีกด้วย เกี่ยวกับ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทยาอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นและยังเป็นหนึ่งในผู้นำในอุตสาหกรรมยาทั่วโลก โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ ขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของมวลมนุษยชาติทั่วโลก ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทได้ที่ www.takeda.com -กภ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง+สุมาลี เกียรติบุญศรีวันนี้

ภาพข่าว: เครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย เดินหน้าชูเป้าหมายการทำงาน Admission Rate Near Zero

เครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย เดินหน้าชูเป้าหมายการทำงานAdmission Rate Near Zero เพื่ออนาคตที่สดใสของผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง เมื่อเร็วๆนี้ พญ.เขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย (ที่ 3 จากซ้าย) ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและ COPD และศ.พญ.สุมาลี เกียรติบุญศรี (ที่ 1 จากซ้าย) นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ร่วมเปิดงานและประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 9 เน้น เป้าหมายการรักษาผู้ป่วยโรคหืด

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดงาน “วิกฤตโรคถุงลมพองกับทางเลือกที่ดีกว่า” เนื่องในวัน “โรคปอดอุดกั้นเรื้อรั้งโลก”

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุมาลี เกียรติบุญศรี หน่วยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กำหนดจัดงาน “วิกฤตโรคถุงลมพองกับทางเลือกที่ดีกว่า” เนื่องในวัน “...

ภาพข่าว: เครือข่ายคลินิคโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย ตั้งเป้าลดจำนวนการเข้ารักษา ในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ให้ใกล้ศูนย์มากที่สุด

เมื่อเร็วๆนี้ ศ.พญ.สุมาลี เกียรติบุญศรี (กลาง) นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดงานประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 8 ของ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอ "มุ้งสู... กรมอนามัย โชว์ มุ้งสู้ฝุ่น เสนอกรรมาธิการสภา หวังช่วยกลุ่มเสี่ยงลดสูดฝุ่น PM 2.5 — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอ "มุ้งสู้ฝุ่น" แก่คณะกรรมาธิการการสาธา...