กฟก.เร่งแก้หนี้ แก้จน สานต่อนโยบายปี 2556 พร้อมส่งเสริมเกษตรกรทำอาชีพอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--กฟก.

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญในปีงบประมาณ 2555 พร้อมเร่งดำเนินการโครงการชำระหนี้แทน พร้อมกับตั้งเป้าปีงบประมาณ 2556 ยังเน้นการชำระหนี้แทนเกษตรกร ควบคู่ไปกับการทำตลาดเพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกร นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยถึงแนวทางของนโยบายในปี 2556 กฟก.ยังสานต่อนโยบายเดิมคือ การชำระหนี้แทนเกษตรกร เพื่อเป็นการฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับปัญหาจากการทำเกษตรกรรมต่างๆ ซึ่งในส่วนของงบประมาณอยู่ที่ 800 ล้านบาทเนื่องจากงบประมาณเดิมยังคงเหลืออยู่ โดยจะให้เกษตรกรทำโครงการเพื่อนำมาเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร และผู้บริหารกองทุน ชำระหนี้แทนเกษตรกร และอีกส่วนคือการฟื้นฟูหนี้ ที่จำเป็นต้องนำงบประมาณในส่วนนี้เข้ามา เพื่อขอแปรใช้ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากครม.ก่อน โดยกระบวนการนี้จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางในการกระตุ้นฟื้นฟูหนี้ให้เกษตรกรด้วย “ในปีงบประมาณ 2555 ตั้งเป้าไว้ 845 โครงการ ณ ปัจจุบันได้อนุมัติโครงการไปจำนวนกว่า 600 โครงการ และยังเหลือเวลาอีก 2 เดือน ก็จะทำให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในปีงบประมาณ 2556 ตั้งเป้าไว้ไม่ต่ำกว่า 500 โครงการ ในงบประมาณฟื้นฟูหนี้แทนเกษตรกร และตั้งเป้าหมายการซื้อหนี้ไว้ไม่ต่ำกว่า 5,000 คน และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ในปี 2556 คือ กฟก.จะเน้นในเรื่องของการตลาด เพื่อไปช่วยดูแลสนับสนุนให้แก่เกษตรกร ส่งเสริมการปลูกการเลี้ยงต่อจากปี 2555 และหวังว่าโครงการที่ กฟก.ให้เกษตรกรไปดำเนินการนั้นจะสำเร็จถึง 80% และสำหรับพี่น้องเกษตรกรที่ถูกชำระหนี้ไปแล้วเกือบ 20,000 คน ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูหลังการจัดการหนี้ต่อไป เพื่อให้มีเงินมาชำระหนี้คืนกองทุน ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนซื้อหนี้” ด้านนายมูฮำหมัด ภูยุทธานนท์ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร (กฟก.) สาขาจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ในส่วนของเกษตรกรในจังหวัดปัตตานีถือเป็นจังหวัดชายแดนที่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ซึ่งเกษตรกรก็ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ทำอาชีพเก็บยางพารา โดยปกติเกษตรกรจะเก็บยางในช่วงเวลาตี หนึ่งถึงตีสาม เพราะปริมาณยางจะเก็บได้มากที่สุด เกษตรกรก็ต้องเปลี่ยนเวลาในการเก็บยางใหม่ เป็นช่วงเวลาเช้าคือ หกโมงเช้า ก็จะทำให้ได้ปริมาณยางลดลง ซึ่งก็กระทบกับรายได้ของเกษตรกร ทางจังหวัดก็จะมีมาตรการให้ในช่วยเหลือเป็นกรณีไป และแนะนำให้เกษตรกรหารายได้จากส่วนอื่นด้วย เช่น การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลา การปลูกผักสวนครัว ให้ค่าใช้จ่ายลดลง ก็ถือเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย “สำหรับนโยบายของทางส่วนกลางสามารถช่วยเกษตรกรในพื้นที่ได้มาก ทางจังหวัดได้มีการอบรม แนะนำ สร้างความเข้าใจในการให้เกษตรกรทำงานเป็นกลุ่ม และนำเสนอโครงการผ่านทางกฟก.จังหวัด เพื่อขออนุมัติงบประมาณต่างๆซึ่งจะได้ผลดีมากในโครงการที่ไม่เกิน 500,000 บาท เพราะกลุ่มเกษตรกรจังหวัดจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ส่วนของชายทะเล ซึ่งจะยาวพอสมควร เป็นกลุ่มประมงชายฝั่งเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มประมงชายฝั่งก็ทำอาชีพประมง อาชีพแปรรูป สัตว์น้ำ 2. ส่วนของเชิงเขา ก็จะมีอาชีพเกี่ยวกับยางพาราและสวนผลไม้ ทำการแปรรูปยาง และเลี้ยงสัตว์ 3. ส่วนของที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นไร่นา พืชสวนครัว พืชผัก และสัตว์เลี้ยง ทางจังหวัดจะเน้นการทำความเข้าใจของกลุ่มเกษตร เพราะถ้ากลุ่มไม่เข้าใจในสภาพความเป็นจริงของกลุ่มแล้วการทำงานร่วมกันก็จะยากขึ้น อาจค่อนข้างใหม่ในการทำงานเป็นกลุ่มของเกษตรกร แต่สามารถทำให้เกษตรสามารถทำอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืนต่อไป นายมูฮำหมัด กล่าว ติดต่อ: คุณอาริยา ผิวขำ [email protected] -นท- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร+กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรวันนี้

เลขาธิการกฟก.เตรียมลงพื้นที่ตรวจความพร้อมหน่วยเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรทั้ง 4 ภาค

เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เตรียมลงพื้นที่ตรวจความพร้อมการจัดเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่กำหนดวันอาทิตย์ที่ 12 พ.ย.เป็นวันเลือกตั้ง พร้อมรณรงค์ให้เกษตรกรสมาชิกกว่า 5.2 ล้านคน ออกมาใช้สิทธิอย่างพร้อมเพรียง เพื่อให้ได้ผู้แทนเกษตรกรร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้เข้มแข็งและยั่งยืน นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2566 กล่าวว่า ในเร็ว ๆ นี้ จะลงพื้นที่

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จัดปร... บอร์ดใหญ่ กฟก. ผลักดันงบประมาณรับภาระงานปี 2565 — สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรครั้งที่ 3/2564 ผ...

นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการ... กองทุนฟื้นฟูฯ วางเป้า 6 เดือนเสร็จ สะสางข้อมูลทะเบียนหนี้ใหม่หมด ย้ำเกษตรกรอัพเดทด่วน — นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรสำนักงานกอง...

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟ... เลขากองทุนฟื้นฟูฯ โชว์ผลงาน แก้หนี้และฟื้นฟูอาชีพ แถมช่วยเหลือช่วงโควิด-19 สำเร็จตามเป้า — นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (...

นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟ... กองทุนฟื้นฟูฯ ลุยยกระดับบริการ ลั่นพร้อมเต็มร้อยช่วยเกษตรกรทั่วไทยแก้หนี้ ฟื้นฟูอาชีพ — นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก...

นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการ... กองทุนฟื้นฟูฯ ย้ำระเบียบแก้หนี้ กรณีบุคคลค้ำประกัน ปี 63 เกษตรกรสมาชิกได้ประโยชน์เต็ม — นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร สำนักงานกอ...

นายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟู... กฟก. จัดเต็มเพื่อเกษตรกร ปี 64 อนุมัติเงินกู้ฟื้นฟูอาชีพแล้ว 576 โครงการ รวมกว่า 300 ล้าน — นายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สำนัก...

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ รักษาการในตำ... กองทุนฟื้นฟูฯ โชว์ผลงาน ช่วยเกษตรกรรักษาที่ดินทำกินไม่ให้ถูกเจ้าหนี้ แสนไร่ — นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟู...