ทั่วโลกจับจ้องสถานการณ์ค้างาช้างในไทย ผู้บริโภคในเอเชียยังเป็นตัวเร่งการล่าช้างเข้าขั้นวิกฤต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--26 ก.พ.--WWF

องค์กรระหว่างประเทศที่จัดระบียบการค้าสัตว์ป่าควรเริ่มกระบวนการเพื่อคว่ำบาตรประเทศต่างๆที่อยู่ในวงจรการค้าข้ามชาติที่ผิดกฏหมายในการลักลอบค้างาช้าง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ช้างแอฟริกาตายมากกว่า 30,000 ตัวในแต่ละปี WWF และ TRAFFIC เรียกร้องให้รัฐบาลทั้ง 177 ประเทศ ที่จะเข้าร่วมการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 3-15 มีนาคมให้เริ่มมาตรการอย่างเป็นทางการที่นำไปสู่การจำกัดการค้าที่เข้มงวดขึ้น เพื่อหยุดยั้งผู้กระทำผิดที่สมควรได้รับโทษมากที่สุดในการลักลอบค้างาช้าง จากหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทย ไนจีเรีย และสาธารณรัฐคองโก (DRC) ยังไม่ประสบความสำเร็จ ในการแก้ไขปัญหาการค้างาช้างในประเทศ แม้จะมีข้อกำหนดจาก CITES ในการห้ามการค้างาช้างที่ไม่มีการควบคุม ซึ่งภายใต้ข้อตกลงนี้ ประเทศที่เป็นสมาชิกของ CITES สามารถออกข้อแนะนำให้สมาชิกหยุดทำการค้าชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ 35,000 ชนิดพันธุ์ ภายใต้อนุสัญญาฯ ตั้งแต่ไม้ซุง กล้วยไม้ไปจนถึงหนังจระเข้ กับประเทศที่ไม่ปฏิบัติตาม “ประเทศเหล่านี้ได้รับการระบุในบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการค้างาช้างมาโดยตลอดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุดกับขบวนการลักลอบค้างาช้าง” สตีเฟ่น บรอด กรรมการบริหาร TRAFFIC กล่าว “เมื่อความต้องการงาช้างเป็นตัวการ ทำให้ปัญหาลักลอบล่าสัตว์รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นประเทศสมาชิก CITES จึงยิ่งจำเป็นต้องเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฏหมายระหว่างประเทศ” เป็นที่เข้าใจว่า ประเทศไทยซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการประชุม CITES เป็นหนึ่งในตลาดการค้างาช้างที่ไม่มีการควบคุมแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก อาชญากรใช้ประโยชน์จากกฏหมายของไทยที่อนุญาตให้ค้างาช้างบ้านในประเทศได้ และลักลอบนำงาช้างแอฟริกันผิดกฏหมายจำนวนมากเข้ามาฟอกผ่านร้านค้าในประเทศไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติก็เป็นผู้ซื้องาช้างเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ “ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเฉียบพลัน ด้วยการห้ามการค้างาช้างทุกรูปแบบในประเทศ และการทำเช่นนี้จะช่วยกำจัดความต้องการค้าขายงาช้าง” คาร์ลอส ดรูวส์ ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์โลก WWF กล่าว “WWF จึงยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีไทย ให้สั่งห้ามการค้างาช้างในทุกรูปแบบทันที และตอนนี้มีคนไทย และผู้คนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 400,000 คนแล้ว ที่ร่วมเรียกร้องเพื่ออนาคตของช้างป่า” “ช้างล้มหายไปจากถิ่นต่างๆในแอฟริกามากขึ้นทุกที เนื่องจากการค้างาช้างที่แพร่หลายเกินการควบคุม ทุกประเทศที่ลงนามในอนุสัญญา CITES ต่างมีความรับผิดชอบในการปกป้องช้าง ด้วยการบอกให้รัฐบาลของประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าเปื้อนเลือดนี้ แสดงความรับผิดชอบ” ดรูวส์กล่าวเสริม WWF และ TRAFFIC ยังร่วมกันเรียกร้องต่อประเทศจีนให้แก้ไขประเด็นที่ร้ายแรงนี้ ด้วยการบังคับใช้กฏหมายกับตลาดค้างาช้างถูกกฏหมายในประเทศ ขณะเดียวกัน CITES ก็ควรต้องเรียกร้องต่อประเทศจีนให้มีมาตรการที่ดีขึ้น และหากปีหน้ายังไม่มีความก้าวหน้าที่สำคัญที่เป็นรูปธรรมก็ควรต้องพิจารณาบังคับใช้มาตรการจำกัดทางการค้า ข้อเท็จจริงจากการติดตามความก้าวหน้าของการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ระบุว่า ยังมีมาตรการบางมาตรการที่ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ได้เริ่มดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาการค้างาช้าง และลักลอบล่าช้าง ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนผู้ค้างาช้างและที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ จัดตั้งกลไกติดตามจำนวนงาช้างในโกดังทั่วโลก การบังคับลงทะเบียนหลังตรวจยึดงาช้างจำนวนมาก และการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นประจำ รวมทั้งติดตามการสืบสวนสอบสวนร่วมกันของเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ “ขณะนี้ข้อมูลสำคัญจากการตรวจยึดงาช้างครั้งใหญ่กำลังสูญหายไป หรือไม่มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการติดตาม หรือค้นหาความจริงเบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นการสืบสวนหาผู้อยู่เบื้องหลังการลักลอบขนส่ง การสืบหาว่างาช้างส่งขึ้นพาหนะในการขนส่งได้อย่างไร และใครจะได้รับประโยชน์จากงาช้างที่ส่งมาถึง จึงไม่น่าแปลกใจที่การลักลอบค้างาช้างจะแพร่หลายยิ่งขึ้น” บรอดกล่าว สภาพการณ์อันเลวร้ายของแรดแอฟริกาก็เป็นประเด็นที่น่าห่วงใยอีกประการสำหรับ WWF และ TRAFFIC จากข้อมูลพบว่า เมื่อปีที่แล้วมีแรดแอฟริกาถูกฆ่าเพื่อเอานอมากถึง 668 ตัว ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีการระบุว่า เวียดนาม เป็นประเทศผู้บริโภคนอแรดประเทศหลัก และแทบจะไม่ลงมือแก้ปัญหาเพื่อหยุดยั้งการลักลอบค้า ที่ประชุม CITES ควรจะต้องกดดันทั้งเวียดนามและโมซัมบิกซึ่งเป็นศูนย์กลางลักลอบนำเข้าและส่งออกนอแรด ให้แสดงผลการปฏิบัติงานในการหยุดยั้งการค้านอแรดในระยะอันใกล้ หรือไม่ก็ต้องเผชิญกับมาตรการจัดการต่อไป การประชุมทางไกลกับสื่อมวลชน ผู้เชี่ยวชาญของ WWF และ TRAFFIC จะจัดการบรรยายสรุปผ่านโทรศัพท์ใน วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 ในเวลา 15.00 น. และ 22.00 น. เพื่อพูดคุยในประเด็นการค้างาช้างและสัตว์สายพันธุ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการประชุม CITES ที่จะมีขึ้น ข้อมูลาในการโทรศัพท์ ดังนี้ 0800 GMT (15.00 น. เวลาในประเทศไทย) ทั่วโลก โทร: +41 58 262 07 22 1500 GMT (22.00 น. เวลาในประเทศไทย) โทร : +1 678-302-3550 (ไม่มี PIN) ดาวน์โหลดภาพถ่ายได้ที่ : https://photos.panda.org/gpn/external?albumId=4334 TRAFFIC: Richard Thomas, [email protected], +44 752 6646 216 ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนเกี่ยวกับ CITES ดูได้ที่ www.panda.org/citesmedia. ข้อมูลอัพเดทจากการประชุม ติดตามเราได้ที่ Twitter @WWF_media, @WWFThailand Facebook/wwfthailand -นท-

ข่าวการค้าระหว่างประเทศ+การลักลอบค้างาช้างวันนี้

ธนาคารเอชเอสบีซี ได้รับการโหวตเป็น ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของไทย

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ได้รับการยกย่องให้เป็น "ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของประเทศไทย" หรือ Best Trade Finance Bank พร้อมรั้งตำแหน่งผู้นำด้านการให้บริการลูกค้า ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ และผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการค้าระหว่างประเทศ จากผลสำรวจ Euromoney Trade Finance Survey 2025 (ยูโรมันนี่ เทรด ไฟแนนซ์ เซอร์เวย์ 2025) ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 13,000 ราย จากธุรกิจในกว่า 100 ประเทศและเขตแดนทั่วโลก ธนาคารเอชเอสบีซี ยังได้รับการโหวตให้เป็น "ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของโลก"

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย... กรมเจรจาฯ เชิญผู้ประกอบการกาแฟไทย! เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกาแฟไทยอย่างยั่งยืนด้วย FTA — กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ขอเชิญผู้ประกอบการ สหกรณ...

บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์น... "โกลเบล็ก" คัด 5 หุ้นเด่นติดโผกองทุน Thai ESGX เข้าลงทุน — บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์นี้ Sideway ออกข้าง แนะจับตาสถานการณ์ตึงเครียดด้านการค้...

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิ... SME ไทยในคลื่นเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันทางการค้า Funding Societies ชี้โอกาสของ SME ในยุคแห่งความผันผวน — ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิญกับความผัน...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระ... DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที "THAIFEX - ANUGA ASIA 2025" — กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับหอการค้าไทย แ...