ผลตรวจสารปรอทกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยืนยันไม่มีปัญหาปรอทในพื้นที่ 304 อินดัสเตรียล ปาร์ค เผยผลตรวจผักตบชวา ก็ไม่พบปรอท เช่นกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--31 ม.ค.--Maxima Consultants

304 อินดัสเตรียล ปาร์ค ชี้แจง ผลตรวจสอบสารปรอทจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมยืนยัน ไม่พบสารปรอทที่เป็นอันตรายต่อชุมชนในพื้นที่ สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำซึ่งตรวจสอบโดย เอสจีเอส ซึ่งเป็นบริษัทรับตรวจสอบคุณภาพน้ำที่มีเครือข่ายทั่วโลก ที่ได้มีการรายงานต่อดีเอสไอและตัวแทนชุมชนไปก่อนหน้านี้ โดยการตรวจวัดปริมาณสารปรอทของกรมโรงงาน ฯ นั้น มาจากการลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมาและใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์ประมาณ 2 สัปดาห์ โดยมีการเก็บตัวอย่างทั้งจากน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน น้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน พร้อมตัวอย่างกากตะกอน ดิน และถ่านหิน ไปตรวจสอบผลปรากฎว่าไม่พบสารปรอทเกินมาตรฐานที่กำหนดในพื้นที่ของ 304 อินดัสเตรียล ปาร์ค และบริเวณชุมชนโดยรอบ นายพูลศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท 304 อินดัสเตรียล ปาร์ค จำกัด เปิดเผยว่า “ผลการทดสอบตัวอย่างน้ำ กากตะกอน ดิน และถ่านหิน ที่กรมโรงงาน ฯ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างจากพื้นที่ในสวนอุตสาหกรรมและบริเวณโดยรอบไปตรวจสอบนั้น ยิ่งช่วยย้ำให้เห็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ทาง 304 ได้ชี้แจงกับดีเอสไอและตัวแทนชุมชนไปก่อนหน้านี้ว่า ไม่พบสารปรอทเกินมาตรฐานในพื้นที่ของ 304 และบริเวณชุมชนโดยรอบ จึงขอยืนยันผลการตรวจสอบจากหลาย ๆ หน่วยงานให้ทราบอีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจกับชุมชน” ทั้งนี้ นายพูลศักดิ์ ได้ชี้แจงผลการทดสอบตัวอย่างน้ำ กากตะกอน ดิน และถ่านหิน ที่ได้รับทราบจากกรมโรงงาน ฯ จากการลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่างไปเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา ดังนี้ ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ในบริเวณคลองชะลองแวง คลองวังรู และลำรางข้างสวนอุตสาหกรรม พบค่าสารปรอทดีกว่าค่ามาตรฐานถึง 3 เท่า และผลการตรวจสอบคุณภาพดินบริเวณคลองชะลองแวง คลองวังรู และลำรางข้างสวนอุตสาหกรรม รวมถึงถ่านหิน พบค่าสารปรอทดีกว่าค่ามาตรฐาน กว่า 400 เท่า ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำที่บำบัดแล้วในบ่อพักน้ำสุดท้ายของสวนอุตสาหกรรม 304 พบว่าค่าปรอทดีกว่าค่ามาตรฐาน 6 เท่า ผลการตรวจกากตะกอนดินจากการผลิต พบค่าสารปรอทดีกว่าค่ามาตรฐานถึง 25 เท่า ทั้งนี้ ผลการทดสอบทั้งหมดโดยกรมโรงงาน ฯ สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับผลการทดสอบที่ดำเนินการโดย เอสจีเอส ซึ่งได้มีการสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมาได้มีการสุ่มตรวจหาสารปรอทในผักตบชวาในคลองชะลองแวงเพิ่มเติม ซึ่งผลการตรวจไม่พบปริมาณสารปรอทในพืชน้ำดังกล่าวเช่นกัน จากข้อเท็จจริงทั้งหมดแสดงให้เห็นชัดว่า ผลวิเคราะห์จากการสุ่มตรวจในพื้นที่สวนอุตสาหกรรม 304 ดีกว่าค่ามาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดค่าปรอทอย่างต่อเนื่อง หรือจากผลการสุ่มตรวจล่าสุด จึงสามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าโรงงานในพื้นที่สวนอุตสาหกรรม 304 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารปรอทปนเปื้อนต่อชุมชนแน่นอน โดยคาดว่าจะทราบผลการตรวจสอบจากกรมควบคุมมลพิษอีกหน่วยงานหนึ่งในเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การศึกษาว่า สารปรอทเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าวจริงหรือไม่ อยากให้ผู้วิจัย เร่งทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างให้มากกว่าการศึกษาเส้นผมชาวบ้าน 20 คน และปลาช่อน 20 ตัวอย่าง โดยอยากให้เพิ่มจำนวนตัวอย่างของการศึกษาซ้ำในพื้นที่เดิม และขยายไปศึกษายังพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ เพราะจากการรวบรวมข้อมูลการศึกษาเรื่องสารปรอทในอดีตของประเทศไทย และในต่างประเทศ มีหลายประเด็นที่น่าจะนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ทั้งนี้จากการทบทวนรายงานของหน่วยงานระบาดวิทยาและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข ของประเทศสหรัฐอเมริกา (ATSDR, 1999, 2003) พบว่า การตรวจวัดค่าปรอทในเส้นผม มีค่าความถูกต้องต่ำกว่าวิธีการตรวจวัดด้วยวิธีการอื่น เช่น เลือด หรือ ปัสสาวะ ประเด็นแรกคือ เคยมีผลการศึกษาปรอทในปลาช่อนในพื้นที่อื่น ซึ่งพื้นที่นั้นไม่มีโรงกระดาษและโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยเป็นผลการศึกษาของ ณรงค์ ณ เชียงใหม่ และอรุณโชติ คงพล ม.สงขลานครินทร์ เมื่อปี 2530 หรือ 20 กว่าปีมาแล้ว ก็พบค่าสารปรอทในปลาช่อนสูงสุดอยู่ที่ 0.39 ส่วนในล้านส่วน (PPM) และต่ำสุดอยู่ที่ 0.13 ส่วนในล้านส่วน (PPM) ซึ่งก็เกินค่ามาตรฐานที่ผู้วิจัยระบุไว้ที่ 0.02 ส่วนในล้านส่วน (PPM) เช่นกัน และผลจากการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษที่ปากแม่น้ำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลากระบอก ปลาทู ปลาไส้ตัน ก็เกินค่ามาตรฐานที่นักวิจัยอ้างอิงเช่นกัน หรือแม้แต่ปลาทูน่ากระป๋องและปลาทูน่าแช่แข็งก็มีค่าสูงเกินค่าอ้างอิงดังกล่าว เช่นเดียวกับการศึกษาปรอทในเส้นผม ซึ่งในต่างประเทศเอง ก็มีการศึกษาเช่นกัน โดยหากใช้ค่ามาตรฐานอ้างอิงที่ผู้วิจัยระบุ ไม่ว่า เส้นผมของคนที่เคยถูกศึกษาในประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย บราซิล โปรตุเกส ก็มีค่าเกินมาตรฐาน 1 ส่วนในล้านส่วน (PPM) ตามที่นักวิจัยอ้างอิงเช่นกัน ในขณะที่ องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ค่าปรอทในเส้นผม ไม่ควรมีค่าเกิน 50 ส่วนในล้านส่วน (PPM) ซึ่งเมื่อเทียบเทียบกับข้อมูลที่ตรวจวัดโดยมูลนิธิฯ พบว่า ค่าปรอทในเส้นผมที่ตรวจวัดได้ คือ 4.60 ส่วนในล้านส่วน (PPM) ดังนั้น ค่าที่ตรวจวัดได้จึงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (พ.ศ. 2533) อย่างไรก็ตามการพบปรอทในเส้นผม ยังมีปัจจัยภายนอกได้จากหลาย ๆ ทางไม่ใช่เฉพาะปัญหาทางสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่อาจจะเป็นการเติมสารเคมีดังกล่าวเข้ามาได้เอง ไม่ว่าจะเป็น การใช้ยาฆ่าแมลง ครีมหน้าขาว ยาย้อมผม เป็นต้น จึงอยากให้ผู้วิจัยทำให้ชาวบ้านเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับปรอทมากยิ่งขึ้น เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้านในพื้นที่ “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทาง สวนอุตสาหกรรม 304 รวมถึงโรงงานลูกค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ก็ได้ให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด โดยในปี 2555 ที่ผ่านมา ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงอุตสาหกรรม เป็น 1 ใน 5 โครงการนำร่องในโครงการสวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของพื้นที่ ให้เจริญเติบโตไปพร้อมกับการดูแลสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อมครับ ” นายพูลศักดิ์ กล่าวปิดท้าย -นท-

ข่าวกรมโรงงานอุตสาหกรรม+โรงงานอุตสาหกรรมวันนี้

เปิดงานแล้วอย่างเป็นทางการ กับงาน "Boilex Asia และ Pumps and Valves Asia 2025"

เปิดงานแล้วอย่างเป็นทางการ กับงาน "Boilex Asia และ Pumps and Valves Asia 2025" โดยได้รับเกียรติจาก นายพรยศ กลั่นกรอง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มาเปิดงาน โดยภายในงานพบกับ สัมมนาเรื่อง "Towards a Greener and Safer Industry อุตสาหกรรมไทยยุคใหม่ที่ปลอดภัยและยั่งยืน" จาก กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมเปิดโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่ เรียนรู้เทคโนโลยีสีเขียว และต่อยอดโอกาสทางธุรกิจไปด้วยกันในงาน Boilex Asia และ Pumps and Valves Asia เป็นงานแสดงเทคโนโลยีด้านหม้อไอน้ำ

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับเจ้าหน้าที่จา... เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน กรมโรงงานฯ เยี่ยมชมการผลิตดั๊บเบิ้ล เอ — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับเจ้าหน้าที่จากกองส่งเสริมเทคโนโลยีคว...

กรมควบคุมมลพิษ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่... กรมควบคุมมลพิษ ร่วม 5 หน่วยงานรัฐ-เอกชน ลงนาม MOU พัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมตรวจวัดกลิ่นด้วย E-nose — กรมควบคุมมลพิษ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ...

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนัก... กทม. เข้มตรวจใบอนุญาตฯ-สุขลักษณะโรงเชือดไก่ 8 รายใน ซ.ปรีดีพนมยงค์ 44 — นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนาม...

กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหก... ดานิลี่ ได้รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 — กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จัดพิธีมอบรางวัล CSR-DIW Continuous...

บริษัทยูนิไทยชิปยาร์ดฯ รับรางวัลสถานประกอ... บริษัทยูนิไทยชิปยาร์ดฯ รับรางวัลสถานประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 — บริษัทยูนิไทยชิปยาร์ดฯ รับรางวัลสถานประกอบการที่มีความรับผ...

นางสาวปาร์ย อรรถพิสาล รองประธานเจ้าหน้าที... NER รับรางวัล CSR-DIW Award 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 สะท้อนความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน — นางสาวปาร์ย อรรถพิสาล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานพัฒ...