มิติใหม่ไทย-โอมาน MOU กระชับความสัมพันธ์ทางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ให้แน่นแฟ้น

18 Mar 2013

กรุงเทพฯ--18 มี.ค.--สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ

คุณสมชาย พรจินดารักษ์ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ และประธานสมาพันธ์อัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่าแห่งประเทศไทย ร่วมด้วย Mr.Hassan Ramadhan Suliman รักษาการผู้จัดการทั่วไปฝ่ายปฏิบัติการของศูนย์แสดงสินค้านานาชาติประเทศโอมาน (OMAN INTERNATIONAL EXHIBITION CENTRE (OIEC))ตัวแทนผู้จัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศโอมานคือ4th Muscat Int’l Jewelry Exhibition 2013 ทั้งคู่ได้ร่วมลงนามในสัญญาข้อตกลงด้านความสัมพันธ์ระหว่าง2องค์กรมีเป้าหมายในการสร้างบรรยากาศทางธุรกิจและความแข็งแกร่งทางการค้า การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกันด้าน ทองคำ อัญมณีและเครื่องประดับของทั้ง2ประเทศ

พิธีลงนามความร่วมมือ(MOU)นี้ จัดขึ้น ณ ห้องจูปิเตอร์ 10 อาคารอิมแพค เมืองทองธานี โดยมี คุณจารุดล ตุลยกิจจา รองนายกสมาคมฯ และประธานกลุ่มภูมิภาคตะวันออกกลางสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ พร้อมกับคณะกรรมการและสมาชิกสมาคมฯ ร่วมยินดีในพิธีครั้งนี้ด้วย เนื้อหาข้อตกลงประกอบไปด้วยมิติด้านธุรกิจการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีด้านผลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างนักธุรกิจไทยและโอมาน ตลอดจนการสร้างบรรยากาศทางธุรกิจและเสริมความแข็งแกร่งในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน ขยายธุรกิจการลงทุนทางด้านเทคนิคและวิทยาการร่วมกัน รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมศึกษาดูงานของคณะผู้แทนทางการค้าจากสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ คุณสมชายพรจินดารักษ์ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ได้เปิดเผยว่า “ความร่วมมือนี้จะเป็นการเปิดทางและส่งเสริมเศรษฐกิจของทั้ง2ประเทศให้โดดเด่นและมีความแข็งแกร่งขึ้น การค้าทองคำ อัญมณีและเครื่องประดับของทั้ง 2 ประเทศจะสำเร็จรุดหน้า เป็นมิติใหม่ทางการค้าของไทยและโอมานสู่อนาคตที่สดใสอย่างแน่นอน ” คุณสมชายกล่าวสรุปท้ายสุด

ประเทศโอมาน เป็นประเทศคู่ค้าอันดับ3 ของประเทศไทยในกลุ่มตะวันออกกลาง รองจากสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์และซาอุดิอาระเบีย มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยเฉพาะเครื่องประดับทองคำ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมาก ย่านการค้าเครื่องประดับอัญมณีที่สำคัญจะอยู่ในกรุงมัสคัต มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าทองคำ อัญมณีและเครื่องประดับในอัตรา0-5%หากเป็นการนำเข้าจากประเทศในกลุ่มGCC จะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ทั้งนี้โอมานได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติที่เสรีมากที่สุดในอ่าวอาหรับ ชาวโอมานมีพฤติกรรมการบริโภคนิยมเครื่องประดับทองคำล้วน21กะรัต รองลงมาคือเครื่องประดับทองตกแต่งเพชร และเครื่องประดับทองตกแต่งอัญมณีเลียนแบบ โดยมียอดจำหน่ายสูงในช่วงเทศกาลรอมฎอน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองทางศาสนาอิสลามหรือ Eid กลุ่มอื่นๆที่บริโภคเครื่องประดับได้แก่ชาวต่างชาติที่มาทำงานและอาศัย ได้แก่ชาวเอเชียใต้ และชาวตะวันตก

-นท-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net