การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

13 Mar 2013

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--โรงพยาบาลรามคำแหง

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย มีผู้ป่วยใหม่ปีละประมาณ 7,000 ราย ส่วนใหญ่พบเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี ปัญหาของโรคมะเร็งปากมดลูกคือผู้ที่เป็นมักไม่มีอาการใด ๆ จนกว่าจะกลายเป็นระยะที่ลุกลามแล้วซึ่งยกต่อการรักษาให้หายขาดอย่างไรก็ดี โรคนี้สามารถตรวจและสืบค้นได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติ การดำเนินโรคเป็นแบบค่อยค่อยไป ใช้ระนะเวลาค่อยข้างนาน อวัยวะปากมดลูกเป็นอวัยวะที่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตรวจได้ง่ายกว่าอวัยวะอื่น ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกหรือก่อนที่จะเป็นมะเร็งระยะลุกลาม การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็มะเร็งปากมดลูก

  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • มีคู่นอนหลายคน
  • มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การสูบบุหรี่
  • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือใช้ยากดภูมิต้านทาน
  • การติดเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV)

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, อายุและความถี่ที่ควรได้รับการตรวจ

ในปี พ.ศ. 2535 องค์การอนามัยโลกรวบรวมสถิติ พบว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวีธีแป๊บสเมียร์ (Pap smear) ในประชากรหญิง อายุ 35-60 ปี ทุก 5 ปี และมีความครอบคลุมร้อยละ 50 ของประเทศจะสามารถลดอุบัติการณ์ ของมะเร็งปากมดลูกได้ถึงร้อยละ 44 Pap smear จึงเป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ เสียค่าใช้จ่ายไม่สูง เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายกันมานานจนถึงปัจจุบัน คำแนะนำสำหรับสตรีบไทยคือ ควรรับการตรวจ Pap smear ครั้งแรกเมื่ออายุระหว่าง 30-35 และควรตรวจเป็นประจำทุก 1-3 ปี สำหรับความถี่ของการตรวจขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีแต่ละคน สูตินรีแพทย์ผู้ดูแลจะเป็นผู้แนะนำว่าสมควรตรวจบ่อยเท่าใด

ขั้นตอนการทำในปี Pap smear

Pap smear สามารถทำได้ระหว่างการตรวจภายในที่ห้องตรวจโดยสูตินรีแพทย์ ใช้เพียงเวลา 1-2 นาที ในการเก็บตัวอย่างเซลล์เยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดด้านในป้ายลงบนแผ่นสไลด์แก้ว ก่อนจะนำแผ่นสไลด์ส่งไปย้อมสีด้วยวิธีการเฉพาะแล้วให้พยาธิแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติผ่านกล้องจุลทรรศน์

การรายงานผลการตรวจ Pap smear

ผลการตรวจ Pap smear ที่โรงพยาบาลรามคำแหงจะรายงานภายใน 2-3 วัน ยกเว้นกรณีเร่งด่วนสามารถขอทราบผลได้ภายใน 3-4 ชั่วโมง

การรายงานผลมีหลายระบบ ปัจจุบันที่นิยมใช้กันอยู่เป็นประจำคือระบบ Bethesda system (รายงานเป็นรายละเอียดของเซลล์ที่ตรวจพบ) สูตินรีแพทย์ผู้ดูแลจะแปลผลรายงานแจ้งให้ผู้รับการตรวจทราบ

การรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของปากมดลูก

เมื่อการตรวจ Pap smear รายงานผิดปกติ สูตินรีแพทย์ผู้ดูแลจะแปลผลรายงานพร้อมวางแผนการดูแลรักษาหรือการตรวจเพิ่มเติมที่เหมาะสมแจ้งให้ผู้รับการตรวจทราบ เนื่องจากความคิดปกติที่เกิดได้กับปากมดลูกมีหลายแบบ คำแนะนำอาจแตกต่างกันออกไป เช่น บางรายอาจให้มารับยาปฏิชีวนะหรือยาเหน็บช่องคลอดแล้วนัดมาตรวจซ้ำภายหลัง บางรายอาจจำเป็นต้องนัดมาตรวจเพิ่มเติมด้วยกล้อง Colposcope

การตรวจด้วยกล้อง Colposcope

กล้อง Colposcope หรือกล้องส่องปากมดลุกเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจและส่องดูรายละเอียดรอยโรคของปากมดลูก มีเลนส์ที่มีกำลังขยาย 6-40 เท่า สำหรับดูการติดสีที่ผิดปกติ ขอบและความคมชัดของรอยโรค เส้นเลือดที่ผิดปกติบริเวณผิวของปากมดลูก (และช่องคลอด) เพื่อการวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องจำเพาะเจาะจง อันจะนำไปสู่การรักษาเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีตินเพร็พ (Liquid-based cytogy : Thinprep)

เป็นวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้อุปกรณ์ดฉพาะในการเก็บตัวอย่าง ป้ายเยื่อยุผิวจากบริเณปากมดลูกด้วยวิธีเดียวกับการทำ Pap smear นำเซลล์ตัวอย่างที่เก็บได้ทั้งหมดใส่ลงในขวดน้ำยาเพื่อรักษาเซลล์ ส่งเข้าเครื่องอัตโนมัติในการเตรียมเซลล์เยื่อบุผิวที่ปราศจากสิ่งปนเปื้อนพวกมูกหรือเม็ดเลือดและลดการซ้อนทับของเซลล์ที่หนาแน่นเกินไปลงบนแผ่นสไลด์แก้ว ช่วยเพิ่มโอกาสให้พยาธิแพทย์ในการตรวจพบความผิดปกติที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลจากการวิจัยทั่วโลกรายงานว่าการตรวจปากมดลูกด้วยวิธีตินเพร็พให้ผลการตรวจที่ถูกต้องกว่าการตรวจ Pap smear ด้วยวิธีเดิมข้อเสียคือมีราคาแพงกว่าวิธิเดิมมาก จึงแนะนำให้ใช้ตรวจเฉพาะในสตรีบางรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกหรือใช้ในการตรวจติดตามผลการรักษาโรคของปากมดลูกบางชนิดเท่านั้น

-กผ-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net