นักวิจัยไทยเจ๋งพบยีนเสี่ยงดื้อยาต้านเอดส์ครั้งแรกของโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--4 มี.ค.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

อาจารย์จากรามาธิบดี ดร.ชลภัทร สุขเกษม ค้นพบยีน ที่เสี่ยงต่อการดื้อยาต้านเอดส์ “เอฟาวิเรนซ์” เป็นครั้งแรกของโลก เผยอยู่ในขั้นตอนการขอจดสิทธิบัตร เตรียมผลักดันให้องค์กรเภสัชกรรมผลิตยาสนับสนุน พร้อมทั้งเรียกร้องสำนักงานสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รับลูก ครอบคลุมสิทธิรักษาปรับเปลี่ยนยาให้ผู้ป่วยเอดส์ในกรณีจำเป็น หวั่นกระทบระบบสาธารณสุขของประเทศ ผศ.ภก.ดร.ชลภัทร สุขเกษม หัวหน้าห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์ และหัวหน้าสาขาวิชาเภสัชพันธุศาสตร์ และการแพทย์เฉพาะบุคคล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน CYP2B6 ร่วมกับการวิเคราะห์ระดับยาเอฟาวิเรนซ์ในผู้ป่วยเอชไอวี พบว่าผู้ป่วยไทยมีความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อระบบประสาทในผู้ป่วยบางรายที่มีระดับยาสูง เนื่องจากร่างกายขับยาออกได้น้อย นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าผู้ป่วยบางรายที่มีระดับยาดังกล่าวในกระแสเลือดต่ำกว่าระดับของการรักษาได้ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิผลของการรักษา เนื่องจากระดับยาที่ต่ำจะไม่สามารถไปกดเชื้อไวรัสเอชไอวีในผู้ป่วยเหล่านี้ได้ จะนำไปสู่การกลายพันธุ์ของเชื้อเอชไอวีทำให้เกิดการดื้อยาในอนาคต และหากผู้ป่วยมีโอกาสส่งผ่านเชื้อที่มียีนดื้อยาไปกับผู้ติดเชื้อรายใหม่ ทำให้ผู้ป่วยรายใหม่นั้นไม่สามารถใช้ยาสูตรพื้นฐานต่อไปได้ ก็ต้องเปลี่ยนยาสูตรอื่นที่ราคาแพงขึ้น ทำให้สิ้นเปลืองต่อการรักษา และอาจเป็นปัญหาทางสาธารณาสุขของประเทศได้ “การค้นพบครั้งนี้เป็นการค้นพบครั้งแรกของโลก ซึ่งผมได้ยื่นตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศไปแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการขอจดสิทธิบัตร ทั้งนี้ที่ผ่านมาทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ได้ทำการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนดังกล่าวร่วมกับการวิเคราะห์ยาต้านไวรัสเอชไอวีเอฟาวิเรนซ์ พบการเกิดพิษต่อระบบประสาทในผู้ป่วยที่มีระดับยาในกระแสเลือดสูงกว่าระดับของการรักษา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า ฝันหลอน นอนไม่หลับ เซื่องซึม ทำงานไม่ได้ รุนแรงที่สุดอาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล” หัวหน้าห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์ กล่าว อย่างไรก็ตาม ดร.ชลภัทร กล่าวว่า ไม่ว่าระดับยาในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีเอฟาวิเรนซ์ จะต่ำหรือสูงก็ตาม ล้วนแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งสิ้น ดังนั้นองค์การเภสัชกรรมควรผลิตยามาสนับสนุนให้เหมาะสม เช่น ถ้าจำเป็นต้องปรับขนาดยาเพิ่มขึ้น หรือลดลง จาก 600 มิลลิกรัม ให้เป็น 800 หรือ 400 มิลลิกรัม ก็ควรมีการผลิตยา 100-200 มิลลิกรัมด้วย เพื่อให้สามารถปรับขนาดยาจากลักษณะยีนของผู้ป่วยได้ ไม่ใช่การนำเม็ดยามาแบ่งครึ่งเพื่อให้เต็มขนาด 800 มิลลิกรัม ก็อาจจะทำให้ระดับยาในกระแสเลือดสูงไปส่งผลข้างเคียงได้ ขณะเดียวกัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเอง ก็ควรจะครอบคลุมสิทธิการรักษาไปถึงการตรวจยีน CYP2B6 และการตรวจวัดระดับยาในกระแสเลือด เพื่อติดตามการรักษาของผู้ป่วยเพื่อให้ได้ระดับยาที่เหมาะสมด้วย เพราะหากผู้ป่วยดื้อยาและต้องปรับเปลี่ยนสูตรยาที่ราคาสูงขึ้น จะส่งผลกระทบในวงกว้างทางการสาธารณสุขของประเทศต่อไป สำหรับการศึกษานี้ เป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สำนักงานการอุดมศึกษา (สกอ.) และมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TCELS) ให้การสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาการตอบสนองของยาที่สัมพันธ์กับลักษณะทางพันธุกรรมของแต่ละบุคคล เพื่อการวางแผนการใช้ยาอย่างเหมาะสม โดยที่ผ่านมา คณะผู้วิจัยในโครงการดังกล่าว ได้ค้นพบยีนแพ้ยาต้านไวรัสเอชไอวี สตาร์วูดีน และ เนวิราปิน เป็นครั้งแรกของโลกมาแล้ว ติดต่อ: www.tcels.or.th, http://www.facebook.com/tcelsfan?ref=tn_tnmn , 02-6445499 -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ+ชลภัทร สุขเกษม ค้นพบยีนวันนี้

การเคหะแห่งชาติ จับมือ สปสช. เดินหน้าติดตั้ง "ตู้ห่วงใย" สร้างสุขภาวะชุมชนอย่างยั่งยืน ???

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ "เพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและนวัตกรรมบริการ" สำหรับประชาชนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในโครงการที่พักอาศัยภายใต้การกำกับดูแลของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดย ตน และ นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

วันนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2568 ) ดร.นายแพทย์ปอ... กรมอนามัย จับมือ กรมพินิจฯ สปสช เร่งหนุนบริการทันตกรรม มอบโอกาสให้เด็กและเยาวชน — วันนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2568 ) ดร.นายแพทย์ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย น...

กทม. หนุนองค์กร-ภาคีเครือข่าย-ชุมชนจัดทำโครงการป้องกันฝุ่น PM2.5 ส่งเสริมสุขภาพประชาชน

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวกรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอให้ทุกหน่วยงานจัดทำโครงการป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ...

นาโนเทค สวทช.-สภาเภสัชกรรม-สปสช. ร่วมนำร่... นาโนเทค สวทช.-สภาเภสัชกรรม-สปสช. ร่วมนำร่องผลักดันชุดตรวจคัดกรองโรคไตในร้านยา — นาโนเทค สวทช.-สภาเภสัชกรรม-สปสช. ร่วมนำร่องผลักดันชุดตรวจคัดกรองโรคไตในร้า...

LINE ประเทศไทย อัปเดต LINE OA บัญชีทางการ... รวม 9 บัญชี LINE OA บริการจากภาครัฐเพื่อคนไทย ฉบับอัปเดตส่งท้ายปี 2024 เพิ่มเพื่อนได้เลย! — LINE ประเทศไทย อัปเดต LINE OA บัญชีทางการจากภาครัฐส่งท้ายปี 20...

กทม. จัดมาตรการเชิงรุกป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ลดผลกระทบจากบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการขับเคลื่อนการควบคุมและลดผลกระทบจากบุหรี่ โดยเฉพาะควันบุหรี่มือสองว่า สนพ. ร่วมกับแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ ...