ศ.ศ.ป.เผยแผนปี 56 พัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทย ครอบคลุมทุกมิติ พร้อมอนุรักษ์และสืบสานงานศิลป์สู่รุ่นต่อไป

20 Dec 2012

กรุงเทพฯ--20 ธ.ค.--ศ.ศ.ป.

ศ.ศ.ป.วัดผลความสำเร็จจากการดำเนินงานตลอดปี 2555 พัฒนาผู้ประกอบการ ควบคู่การผลักดันผลงานศิลปหัตถกรรมสร้างสรรค์สร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมผู้ประกอบการจากต้นทาง ลงพื้นที่เข้าถึง สร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ ส่งแบรนด์ใหม่ “Thai Navatasilp” พร้อมส่งเสริมการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาสร้างคุณค่าผลงานไทย

นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศเปิดเผยว่า ในปี 2555 ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ด้วยการใส่ดีไซน์และความคิดสร้างสรรค์เข้าไปในผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการจัดการองค์ความรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรม การสนับสนุนช่องทางตลาดการค้าในประเทศและต่างประเทศ และการเพิ่มความแข็งแกร่งของเครือข่ายสมาชิกสัมพันธ์ เพื่อผลักดันให้ ศ.ศ.ป.เป็น ศูนย์กลางงานหัตถกรรม อันประกอบด้วย ศูนย์กลางพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ศูนย์กลางองค์ความรู้ และศูนย์กลางการค้า

การดำเนินงานตลอดปี 2555 ที่ผ่านมา ศ.ศ.ป.ได้ให้ความสำคัญกับการนำเอาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยออกสู่ตลาดสากลเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การนำผลิตภัณฑ์ดีไซน์ไอเดียผ้าขาวม้า ไปจัดแสดงในมิติของงานนวัตศิลป์ไทยและจำหน่ายในงานTaste of London 2012 ประเทศอังกฤษ การเข้าร่วมแสดงงานหัตถศิลป์สร้างสรรค์ในงาน76th International Handicraft Fairที่ประเทศอิตาลี การเชื่อมโยงธุรกิจไทยและต่างประเทศในโครงการ“พัฒนาหมู่บ้านหัตถกรรม (Capital of Arts & Craft)”โดยการจับคู่ธุรกิจระหว่าง “หมู่บ้านมีดอรัญญิก ประเทศไทย และ หมู่บ้านมีดเมืองเซกิ ประเทศญี่ปุ่น”ทำให้เกิดแนวทางแห่งการบูรณาการร่วมมือระหว่างศ.ศ.ป. พาณิชย์จังหวัดอยุธยา ททท.สถานทูตญี่ปุ่น เทศบาลเซกิ เกิดเป็นแผนกิจกรรมงาน “หมู่บ้านมีดไทย – ญี่ปุ่น” พร้อมการหารือขยายโอกาสการค้า และจัดงานแสดงในญี่ปุ่นในปีต่อไป การเข้าร่วมจัดแสดงในงานแสดงสินค้า Maison et Objet 2012 ( เมซง เอ อ็อบเช่ ) ณ กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส

ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าและของตกแต่งบ้านที่ได้รับการยอมรับว่ามีชื่อเสียง ศ.ศ.ป.ได้นำผลิตภัณฑ์จากแรงบันดาลใจจากชาวเขาไปจัดแสดง อาทิ ของตกแต่งบ้าน หมอนอิง โคมไฟ เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติ และมียอดการสั่งผลิตสืบเนื่องจากการเข้าร่วมงานดังกล่าวตามมาอีกด้วยไม่เพียงแต่การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าของต่างประเทศ ศ.ศ.ป.ยังมีการจัดงานเพื่อเป็นเวทีแห่งการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมของกลุ่มสมาชิก ควบคู่กับการอนุรักษ์งานศิลป์ของไทย อาทิ การจัดงาน International Innovative Crafts Fair 2012 (IICF 2012)พร้อมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ จัดทำทำเนียบครูช่างหัตถกรรมไทย การส่งเสริมผ้าฝ้ายไทยในงาน “ฝ้ายทอใจ” ตลอดจน การเปิดศูนย์จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมของ ศ.ศ.ป. ณ ศูนย์การค้าอัมรินทร์พลาซ่า ใจกลางเมืองกรุง ให้ง่ายต่อการจับจ่ายเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้รักงาน Craftอีกด้วย นางพิมพาพรรณ กล่าวย้ำ

ในส่วนของยุทธศาสตร์ ปี 2556 ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศวางแผนการดำเนินงาน ในมิติที่เป็นเชิงลึกมากขึ้น ผ่านการค้นคว้า และศึกษาแก่นแท้งานหัตถกรรมของไทย เพื่อนำมาพัฒนาและต่อยอดในประเด็นต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็มุ่งดำเนินงานในมิติเชิงกว้างควบคู่กันไป ด้วยการขยายตลาดให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มและประเทศต่างๆ พร้อมกับปรับรูปแบบและลักษณะผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมของไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มและประเทศเหล่านั้น เพื่อเป็นการสร้างความชื่นชม การยอมรับ และนำมาสู่รายได้ให้กับช่าง ครูช่าง ชุมชน ตลอดจนผู้ประกอบการงานศิลปหัตถกรรมของไทยต่อไป ขับเคลื่อนภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ได้แก่1) การเสริมสร้างองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรม (Craft and Cultural Research)เพื่อจุดมุ่งหมายแห่งการสืบสานและคงคุณค่างานศิลปหัตถกรรมไทย ด้วยโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการจัดทำฐานข้อมูลการตลาดงานศิลปหัตถกรรมโครงการจัดการองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรม โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรม ผ่านข้อมูลในหอนิทรรศการ2) การเพิ่มสมรรถนะและพัฒนาธุรกิจงานศิลปหัตถกรรม (Incubation and Business Development) เพื่อให้ครูช่าง ช่างศิลปหัตถกรรมและผู้ประกอบการงานศิลปหัตถกรรมได้รับการเพิ่มสมรรถนะอย่างครบวงจรตลอดจนชุมชนหัตถกรรมได้รับสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจ เพื่อสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของชุมชน และมีโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการพัฒนาทักษะช่างและครูช่างศิลปหัตถกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการโครงการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าชุมชนหัตถกรรม (Craft Value Chain Development)โครงการยกระดับวิทยฐานะช่างศิลปหัตถกรรม(Craft Academy) โครงการ ASEAN Craft Roadmap3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม (Product Development) เพื่อผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพและศิลปหัตถกรรมให้ได้รับการเพิ่มมูลค่าเชิงนวัตศิลป์ แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าเดิม (Heritage) และเพิ่มเสน่ห์ที่สะท้อนวิถีชีวิต (way of life) ผสมผสานด้วยนวัตกรรม (Innovative)และมีโครงการที่น่าสนใจต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โครงการประกวดผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์และเชิดชูผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้าน โครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการสนับสนุนด้านลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ 4) การขยายตลาดงานศิลปหัตถกรรม (Market Expansion) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพและศิลปหัตถกรรมได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้เข้าสู่ตลาด ในกลุ่มลูกค้าเฉพาะ (Niche Market) และผู้ประกอบการมีเครือข่ายการค้าที่ต่อเนื่อง พร้อมทั้ง ส่งเสริมการรับรู้งานศิลปหัตถกรรมไทย และมีโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการแสดงสินค้าและส่งเสริมการค้าร่วมกับหน่วยงานอื่น โครงการแสดงสินค้านานาชาติในประเทศ โครงการเปิดตลาดการค้าในต่างประเทศ (Road Show, Outgoing/Incoming Mission, In-store Promotion) โครงการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โครงการส่งเสริมการรับรู้และเสริมสร้างคุณค่างานหัตถกรรมไทย

ดังนั้น การดำเนินงานของ ศ.ศ.ป. จะดำเนินงานด้วยความครอบคลุมมากขึ้น ทั้งมิติของการสืบสาน และรักษาไว้ ซึ่งศิลปหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของไทย ตลอดจนมิติของการสร้างสรรค์ และส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมสามารถนำมาประยุกต์ และดีไซน์ป้อนเข้าสู่ตลาดได้ รวมถึงมิติแห่งการสร้างเครือข่าย ที่ในปี 2556 นี้ ศ.ศ.ป.จะมุ่งสร้างพันธมิตรทางการค้า และสร้างเครือข่ายให้แก่กลุ่มสมาชิกมากขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตงานศิลป์สามารถเลี้ยงชีพได้ และให้งานศิลป์เข้ามาเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ยกระดับคุณภาพชีวิต จนเกิดการสืบสานกันจากรุ่นสู่รุ่นสืบไป-กภ-