พิสแคทะเวย์, นิวเจอร์ซีย์--20 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
เจนสคริปต์ (GenScript) เป็นสปอนเซอร์ให้กับงานสัมมนา “Cold Spring Harbor Asia Synthetic Biology Symposium” ที่จัดขึ้นที่เมืองซูโจว ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 26-30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยปีนี้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่เจนสคริปต์เป็นสปอนเซอร์ให้กับงานดังกล่าวซึ่งเป็นงานประชุมของบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนผลการวิจัยด้านชีววิทยาสังเคราะห์ใหม่ล่าสุด เทคโนโลยีนี้ก่อให้เกิดการสังเคราะห์หน่วยพันธุกรรมใหม่ๆเพื่อปรับโปรแกรมเซลล์ และยังสามารถนำไปปรับใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆได้มากมาย ทั้งอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ การผลิตยา และวัคซีน
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการสังเคราะห์ยีน เจนสคริปต์ได้นำเสนอการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทางเทคนิคในการสังเคราะห์ยีนที่มีความยาว (มากกว่า 10 kb) และมีความซับซ้อน (มีปริมาณจีซีสูง ลำดับซ้ำกันมาก โครงสร้างลำดับที่ 2 มีความซับซ้อน หรือองค์ประกอบทางโครงสร้างไม่เสถียร) ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในภารกิจที่ท้าทายที่สุดในวงการวิจัยทางชีววิทยาสังเคราะห์ และเมื่อเร็วๆนี้ เจนสคริปต์ได้แสดงความสามารถในการสังเคราะห์ยีนที่มีลักษณะดังกล่าวโดยการสังเคราะห์ชิ้นส่วนยีสต์โครโมโซม VI จำนวน 17 ชิ้นที่ออกแบบแล้ว (เฉลี่ยขนาดชิ้นละ 10 kb) รวมทั้งหมดเป็น 170 kb โดยการสังเคราะห์นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Yeast Genome Project, Sc2.0 ของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮ็อปกิ้นส์ ซึ่งมีจุดประสงค์ในการสร้างจีโนมยูคารีโอติกสังเคราะห์สำหรับการทำหน้าที่เป็นตัวแรก ทั้งหมด 16 Mb เจนสคริปต์ส่งชิ้นส่วนยีสต์กลับให้มหาวิทยาลัยจอห์น ฮ็อปกิ้นส์ภายในเวลาอันรวดเร็ว และประสบความสำเร็จในการรวมองค์ประกอบทางดีเอ็นเอหลายตัวที่ออกแบบเข้าไว้ในลำดับ เช่น การซ้ำกันของนิวคลีโอไทด์ในโครโมโซม (telomeric repeats) และตำแหน่งของลำดับดีเอ็นเอ 34 คู่ (LoxP site) ซึ่งนับว่าสำคัญมากต่อการศึกษาหน้าที่ยีน และการจัดการปรับจีโนมตามความเหมาะสม นอกจากนี้เจนสคริปต์ยังเป็นองค์กรเชิงพาณิชย์เพียงหนึ่งเดียวที่เข้าร่วมในโครงการ Sc2.0 อีกด้วย
การสัมมนาครั้งนี้นับเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อความก้าวหน้าทางชีววิทยาสังเคราะห์ที่เจนสคริปต์สนับสนุน บริษัทยังเป็นสปอนเซอร์ให้กับการแข่งขันสร้างเครื่องจักรทางพันธุวิศวกรรม (iGEM) ซึ่งเป็นการแข่งขันของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 20 ทีม มาเป็นเวลานานแล้ว นอกจากนี้เจนสคริปต์ยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมการสังเคราะห์ยีนสากล (IGSC) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันผู้ก่อการร้ายนำเทคโนโลยีทางชีววิทยาสังเคราะห์ไปใช้ในทางที่ผิด บริษัทมีความเชื่อว่าแรงสนับสนุนของบริษัท และการพัฒนาเทคโนโลยีการสังเคราะห์ยีนอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต และลดต้นทุนการผลิตยีนที่มีขนาดยาว และซับซ้อนลง ยิ่งไปกว่านั้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้นักวิจัยตระหนักถึงศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ของชีววิทยาสังเคราะห์ได้เร็วยิ่งขึ้น
บริษัท เจนสคริปต์
ผู้ให้บริการด้านการสังเคราะห์ยีนรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นองค์กรชั้นนำรับทำวิจัยด้านชีววิทยาตามสัญญา ก่อตั้งในปี 2545 เสนอบริการตามความต้องการของลูกค้า เพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านชีววิทยา การค้นคว้า และพัฒนาตัวยา เจนสคริปต์มีสำนักงานใหญ่ในพิสแคทะเวย์ นิวเจอร์ซีย์ และสำนักงานสาขาในยุโรป ญี่ปุ่น และจีน
แหล่งข้อมูล: บริษัทเจนสคริปต์ สหรัฐอเมริกา
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3
สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น
—
สวทช. จับมือมูลนิธิ SO...
ท๊อป จิรายุส ชวนกูรูสุขภาพแชร์เทคนิคอายุยืนอย่างมีคุณภาพปลดล็อกวิทยาศาสตร์ยืดชีวิตในงาน StayGold Meetup 2
—
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 บริษัท บิทคับ แคปปิ...
วว. ร่วมเปิดรับสมัครบุคลากรและนักศึกษาฝึกงาน @ อว. JOB FAIR 2025
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว....
ครบ 6 ปี สอวช. "ดร.สุรชัย" เดินหน้าวางยุทธศาสตร์ "อววน." ปี 68-71 เลือกทำเรื่องใหญ่ ใช้เครื่องมือ Foresight นำประเทศสู่อนาค
—
ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อ...
วว. ร่วมเป็นเกียรติแสดงความยินดีเนื่องในงานครบรอบ 6 ปี คล้ายวันสถาปนากระทรวง อว. พร้อมรับมอบใบประกาศเกียรติคุณ "คนดีศรี อว." ประจำปี 2567
—
นางสาวศุภมาส อ...
วว. วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัดเพื่อการผ่อนคลายจากน้ำมันหอมระเหย "ดอกมะลิลา"
—
"มะลิลา" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum sambac Ait. มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถ...
รองนายกฯ ประเสริฐ ย้ำบทบาทผู้นำไทย! จัดประชุมวิชาการ "The 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025"
—
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และร...
เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล
—
ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ดึงโมเดลศักยภาพองค์กรนวัตกรรม ผสานการ...
สอวช. เดินหน้านโยบาย"ชีววิทยาสังเคราะห์" ดันเศรษฐกิจฐานชีวภาพของไทยเชื่อม Deep Tech - ตั้งเป้าสร้างนวัตกรรมมูลค่าสูง
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าก...