สถานการณ์และจำนวนแรงงานข้ามชาติจากพม่า และข้อเสนอเพื่อพิจารณาการจัดการแรงงานข้ามชาติหลังวันที่ 14 ธันวาคม 2555

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--เครือข่ายองค์กรประชากรข้ามชาติ

จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 เรื่องขยายเวลาการพิสูจน์สัญชาติและการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่แรงงานต่างด้าว ซึ่งกำหนดว่าแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติได้แก่พม่า ลาว และกัมพูชาที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่และทำงานในประเทศไทย จะต้องดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและปรับสถานะเป็นแรงงานที่เข้าเมืองถูกกฎหมายให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 14 ธันวาคม 2555 ดังนั้นหากแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการผ่อนผันไม่สามารถดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้เสร็จสิ้นได้ทันวันที่ 14 ธันวาคม 2555 นี้ ก็จะต้องถูกผลักดันส่งกลับต่อไป ทั้งนี้จากตัวเลขประมาณการณ์ของแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติ พม่า ลาวและกัมพูชาในประเทศไทยทั้งหมดในปัจจุบันมีประมาณ 2 -2.5 ล้านคนเป็นอย่างต่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนแรงงานข้ามชาติที่เคยอยู่ได้รับการจดทะเบียนและเข้าสู่ระบบการจ้างงานที่ถูกกฎหมายในช่วงต้นปี 2555ที่ผ่านมา ตัวเลขแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ในทุกกลุ่ม มีจำนวน 1,901,776 คน ในขณะที่ ตัวเลขแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติเมื่อเดือนตุลาคม 2555 พบว่ามีจำนวนแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติทั้งหมด 1,047,862 คน โดยเป็นแรงงานข้ามชาติจากประเทเศพม่าประมาณ 80% ของแรงงานข้ามชาติทั้งสามสัญชาติ จากการสำรวจข้อมูลในเรื่องการเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติจากพม่า ซึ่งเราได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีการจ้างแรงงานข้ามชาติค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรปราการ แม่สอด เพื่อสำรวจถึงการเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติในช่วงที่ผ่านมา พบว่าในพื้นที่มีการจ้างแรงงานข้ามชาติจำนวนมาก ยังมีแรงงานข้ามชาติที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติอีกจำนวนไม่น้อย ทั้งนี้มีหลายสาเหตุ สาเหตุหลักที่พบหรือแรงงานส่วนใหญ่ที่สำรวจไม่มีเอกสารประจำตัวอะไรเลย แต่ทำงานอยู่ในพื้นที่ เหตุผลประการต่อมาที่เจอในกลุ่มแรงงานก็คือ เอกสารที่แรงงานใช้ในการทำงานและนายจ้างที่จ้างงานอยู่จริงไม่ตรงกัน ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากปัญหาการขออนุญาตเปลี่ยนนายจ้างในพื้นที่ ซึ่งยังมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างเป็นอุปสรรค ทำให้แรงงานจำนวนไม่น้อยไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ และจะต้องกลายเป็นแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายในอนาคต ดังนั้นสิ่งที่รัฐจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนหลังจากวันที่ 14 ธ.ค. นี้คือรัฐจะต้องขยายเวลาการพิสูจน์สัญชาติออกไปอีกระยะหนึ่ง และทบทวนตรวจสอบการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติโดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทที่รับพิสูจน์สัญชาติให้มีความชัดเจน และหากไปเป็นได้ควรเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติได้ดำเนินการยื่นพิสูจน์สัญชาติด้วยตนเองในศูนย์พิสูจน์สัญชาติที่มีอยู่ โดยมีการอำนวยความสะดวกในเรื่องการสื่อสารเพื่อเอื้อต่อการใช้บริการ พร้อมทั้งเปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติในกลุ่มที่ยังไม่มีเอกสารใด ๆ อีกครั้ง โดยพิจารณาควบคู่กับการอนุญาตทำงานในรูปแบบอื่นที่หลากหลาย และแสวงหาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการจ้างแรงงานในประเภทนี้อย่างจริงจัง ดังนั้นรัฐบาลไทยและประเทศต้นทางจึงจำเป็นจะต้องมีการทบทวนมาตรการดังกล่าว โดยพิจารณาข้อเสนอข้างต้น ร่วมทั้งร่วมกันศึกษาและพัฒนาถึงกระบวนการจ้างแรงงานข้ามชาติที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ทิศทางการจัดการแรงงานข้ามชาติกลุ่มที่ยังไม่สามารถจะดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 14 ธันวาคม 2555 โดยยังยืนยันแนวทางการผลักดันส่งกลับ และใช้รูปแบบการนำเข้าตาม MoU นั้น หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว จะพบว่ามาตรการดังกล่าวยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการผลักดันแรงงานข้ามชาติจำนวนมากเข้าไปสู่วงจรของการค้ามนุษย์และการถูกเอารัดเอาเปรียบที่เป็นผลจากการไม่มีสถานะตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังไม่มีการพิจารณาลักษณะของการย้ายถิ่นข้ามชาติในภูมิภาคนี้ และยังไม่แก้ไขกลไกการจ้างแรงงานข้ามชาติให้เอื้อต่อข้อจำกัดที่มีอยู่แล้ว เป็นที่น่ากังวลใจว่า ระบบการจ้างแรงงานข้ามชาติจะเข้าสู่ระบบแบบเดิม คือจะมีการจ้างแรงงานข้ามชาติที่ไม่ถูกกฎหมายเป็นจำนวน และทำให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ นายอดิศร เกิดมงคล (เจ้าหน้าที่ข้อมูลเครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ) อีเมล์ [email protected] หรือ โทรศัพท์ 081 860 2305 -ณอ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวแรงงานต่างด้าว+แรงงานข้ามชาติวันนี้

นพ.โมลี วนิชสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาคร หมอผิวหนังหัวใจนักบริหาร แพทย์ดีเด่นของแพทยสภาสาขานักบริหาร ประจำปี 2561

สมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มีจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฏร์ประมาณ 500,000กว่าคนซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่มาก แต่เต็มไปด้วยประชากรแฝงมากกว่าเท่าตัว ทั้งกลุ่มอาชีพค้าขาย กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มที่ผู้ปกครองพามาอุปการะเลี้ยงดู ไม่นับรวมแรงงานต่างด้าวทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายอีกจำนวนมาก ส่งผลให้ที่ รพ. สมุทรสาคร มีผู้ป่วยนอกต่อวันประมาณ 3,000 กว่าราย แยกเป็นแรงงานข้ามชาติ 20 เปอร์เซ็นต์หรือประมาณ 600 รายต่อวัน ผู้ป่วยในที่นอนโรงพยาบาลต่อวันประมาณ 500 กว่าคน มีผู้ป่วยคลอดบุตร จำนวน 8,000 กว่ารายต่อปี

ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงจัง... ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ — ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงจังหวัดสงขลา มุ่งมั่นยกระดับคุณภา...

เปิดข้อมูลชะตากรรมเด็กในสถานกักตัวแรงงานต่างด้าว กับการจัดการของรัฐไทย : ควรผลักดันหรือคุ้มครอง

คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ ร่วมกับ มูลนิธิส่งเสริมเครือข่ายคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) จัดแถลงข่าวในหัวข้อ “เปิดข้อมูลชะตากรรมเด็กในสถานกักตัว...

บอร์ดกำลังคนด้านสุขภาพวิตกแรงงานต่างด้าวพุ่ง แนะหาทางดึงบุคลากรเพื่อนบ้านเสริมทัพ

คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพเสนอภาครัฐ ปูทางแก้ปัญหาแพทย์ พยาบาล ล่าม และบุคลากรสาธารณสุขไม่เพียงพอรับมือแรงงานต่างด้าวทะลุ 4 ล้านคน หนุนนำเข้าแก้ปัญหาชั่วคราว เฉพาะพื้นที่ พร้อมป้องกันปัญหาผลกระทบต่อการ...

นางสาวสุขวิชาญาณ์ นสมทรง ผู้อำนวยการเขตทว... เขตทวีวัฒนาจัดสายตรวจเข้มกวดขันไซต์งานก่อสร้างห้ามเผาขยะ — นางสาวสุขวิชาญาณ์ นสมทรง ผู้อำนวยการเขตทวีวัฒนา กทม. กล่าวกรณีมีข้อร้องเรียนแรงงานต่างด้าวเผาขย...

นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ... กทม. เอาจริง คุมเข้มแรงงานต่างด้าวเร่ขายของ-ขอทาน ฝ่าฝืนถูกดำเนินคดี — นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ (สนท.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเชิงรุกในการกว...

ด่วน! กรมการจัดหางาน เร่งรัดนายจ้างที่มีล... กรมการจัดหางาน เร่งรัดนายจ้างที่มีลูกจ้าง 4 สัญชาติต่ออายุใบอนุญาตทำงาน — ด่วน! กรมการจัดหางาน เร่งรัดนายจ้างที่มีลูกจ้าง 4 สัญชาติ "กัมพูชา เมียนมา ลาว เ...

ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สานต่อเจต... เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ผู้ประกอบการร้านค้า กฏหมายการจ้างแรงงานต่างด้าว — ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สานต่อเจตนารมย์ให้ความสำคัญ...