การรับมือวิกฤตภัยแล้งของภาคการเกษตร

07 Dec 2012

กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร

ดร.จารึก สิงหปรีชา ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) เปิดเผยว่า ศูนย์ติดตามและ พยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร ได้ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ภัยแล้งล่าสุด ในพื้นที่ในภาคอีสานและภาคใต้ตอนบน รวม 22 จังหวัด โดยจังหวัดที่ประกาศ ประสบภัยแล้งแล้วมีจำนวน 18 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สกลนคร หนองคาย นครพนม อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ประจวบคีรีขันธ์ ยโสธร ศรีสะเกษ มุกดาหาร อำนาจเจริญ และจังหวัดที่ประสบภัยแล้งแต่ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการมี จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร เลย สุรินทร์ อุบลราชธานี โดยจากการวิเคราะห์ พบว่า

1. ภาพรวมพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดในจังหวัดที่ประสบภัย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว โดยในปี 2555 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวรวม 43.14 ล้านไร่ พื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ 12.85 ล้านไร่ พื้นที่เพาะปลูกพืชสวน 6.85 ล้านไร่

2. สถานการณ์ภัยแล้งได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่และผลผลิตภาคการเกษตร คาดการณ์พื้นที่เสียหายรวม 6.11 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.01 ของ พื้นที่การเกษตรทั้งหมดของประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555) โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก พบว่ามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวได้รับผล กระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคอีสานและภาคใต้ตอนบน รวม 6.03 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.39 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศ พืชไร่ พบว่า มี พื้นที่เสียหายจากภัยแล้งรวม 0.08 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ทั้งประเทศ พืชสวน พบว่ามีพื้นที่เสียหายจากภัยแล้งรวม 0.006 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของพื้นที่เพาะปลูกพืชสวนทั้งประเทศ

3. ผลการประมาณการความสูญเสียทางเศรษฐกิจเบื้องต้น

มูลค่าความเสียหายของข้าวที่เกิดจากภัยแล้ง มีมูลค่าทั้งสิ้น 34,884 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.29 ของมูลค่าผลผลิตข้าวที่คาดว่าจะได้รับ ในปีเพาะปลูก 2555/56

มูลค่าความเสียหายของพืชไร่ที่เกิดจากภัยแล้ง มีมูลค่าทั้งสิ้น 494 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.04 ของมูลค่าผลผลิตพืชไร่ที่คาดว่าจะได้รับ ในปีเพาะปลูก 2555/56

มูลค่าความเสียหายของพืชสวนที่เกิดจากภัยแล้ง มีมูลค่าทั้งสิ้น 124 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของมูลค่าผลผลิตพืชสวนที่คาดว่าจะได้รับ ในปีเพาะปลูก 2555/56

ผลกระทบจากภัยแล้งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเบื้องต้น มูลค่าทั้งสิ้น 35,502 ล้านบาท

การประมาณการผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2555 คาดว่าจะผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริงรวม 6752 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น ข้าว 6647 ล้านบาท พืชไร่ 83 ล้านบาท และพืชสวนและอื่นๆ 21 ล้านบาท โดยเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาค เกษตรในปี 2555 ว่าจะมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5 และคาดว่าผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งครั้งนี้ จะกระทบต่ออัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศภาคเกษตรร้อยละ 1.62 ดังรายละเอียดตามตาราง 1

ตาราง 1 มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง

ด้านความเสียหาย

ผลกระทบต่อ Real GDP

ภาคเกษตร(ล้านบาท)

ข้าว

6,647

พืชไร่

83

พืชสวนและอื่นๆ

21

รวม

6,752

อัตราการเติบโต GDP ภาคเกษตร ปี 2555* 5%

ผลกระทบต่ออัตราการเติบโต GDP ภาคเกษตร 1.62%

  • ตัวเลขประมาณการจากสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

4. การวางแผนการรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง

นโยบายและมาตรการความช่วยเหลือแก่เกษตรกรเพื่อให้การเพาะปลูกพืชฤดูแล้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บ น้ำ แนวโน้มการตลาดและสถานการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตามแผนของที่ประชุมคณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง โดยเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2555 ได้กำหนดนโยบาย และมาตรการ สรุปได้ดังนี้

1) ด้านการจัดสรรน้ำ วางแผนการบริหารจัดการน้ำแบบยั่งยืน โดยจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ เพื่อสนับสนุนการใช้ น้ำทุกกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งมีน้ำสำรองไว้ส่วนหนึ่ง สำหรับการเพาะปลูกพืชฤดูฝน และพืชฤดูแล้งปีถัดไป แผนการ จัดสรรน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆโดยจัดลำดับความสำคัญเช่น เพื่อการอุปโภค บริโภค และการประปา การเกษตรกรรม การอุตสาหกรรมและกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น

2) การวางแผนและการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ในปี 2555/56 มาตรการจำกัดการใช้น้ำแนะนำปลูกพืช ใช้น้ำน้อยแทนนาข้าว โดยต้องนำพื้นที่ประสบภัย แล้งมาวิเคราะห์ว่าปลูกพืชชนิดใดจึงเหมาะสมให้สมดุลกับปริมาณน้ำ วางแผนและการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ในปี 2555/56 ทั้งประเทศจำนวน 16 ล้านไร่ แยกเป็น การปลูกข้าวนาปรัง 13 ล้านไร่ แบ่งเป็นในเขตชลประทาน 8 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 5 ล้านไร่ พืชไร่และพืชผักจะสามารถปลูกได้ทั้งหมด 3 ล้านไร่ เป็นการเพาะปลูกในเขตชลประทาน 1 ล้านไร่ และนอกพื้นที่ชลประทาน 2 ล้านไร่

3) พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วนเงินทดรองราชการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยใช้เงินทดรองราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546

4) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพยากรณ์และการแจ้งเตือนภัย และยังมีการเตรียมการเรื่องเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย และจัดทำข้อมูลพื้นที่ เสี่ยงภัย การจัดทำข้อมูลเกษตรกร การจัดทำแผนระดับจังหวัดในขณะเผชิญภัย จะมีการแจ้งเหตุและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ โดยใช้งบปกติ และการ ปฏิบัติฝนหลวง การบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย การจัดชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ประสบภัยเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกร

5) ด้านการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้งและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชนต่างๆ ในทุก ระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยมีประเด็นในการประชาสัมพันธ์ เช่น สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ ต่างๆ รวมทั้งแผนการจัดสรรน้ำของกรมชลประทาน รณรงค์ให้เกษตรกรและผู้ใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติตามแผนหรือรอบ เวรการจัดสรรน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชฤดูแล้ง และการประชาสัมพันธ์อื่นๆ เป็นต้น

ข้อมูล : ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร -นท-