ไอบีเอ็มเตรียมซื้อกิจการของซอฟต์เลเยอร์ ตั้งเป้าเร่งเพิ่มการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับองค์กรธุรกิจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--11 มิ.ย.--ไอบีเอ็ม

ไอบีเอ็มวางแผนจัดตั้งแผนกธุรกิจบริการคลาวด์ ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2556 ว่าบริษัทฯ ได้ทำข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการของบริษัท ซอฟต์เลเยอร์ เทคโนโลยี (SoftLayer Technologies, Inc) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์คอมพิวติ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อเข้ามาเสริมทัพและตอกย้ำความเป็นผู้นำของไอบีเอ็มในตลาดยีคลาวด์คอมพิวติ้ง อีกทั้งเร่งให้องค์กรธุรกิจต่างๆตื่นตัวและนำโซลูชั่นคลาวด์มาปรับใช้ ทั้งแบบพับลิคคลาวด์ (Public Cloud) และ แบบไพรเวทคลาวด์ (Private Cloud) อย่างไรก็ดี ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดด้านการเงินของข้อตกลงดังกล่าว เอริค คลีเมนติ รองประธานอาวุโส กลุ่มธุรกิจบริการทางด้านเทคโนโลยีของไอบีเอ็ม กล่าวว่า “ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต่างๆ นำความสามารถของพับลิคคลาวด์มาใช้กับระบบไอทีภายในองค์กร ทำให้องค์กรเหล่านี้ต้องการระบบการจัดการที่ให้เสถียรภาพ ความปลอดภัยสูง ในระดับเดียวกันกับที่ใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ ไอบีเอ็มจึงได้พัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์คลาวด์ ทั้งแบบที่เป็นไพรเวทคลาวด์เฉพาะองค์กร พับลิคคลาวด์และไฮบริดคลาวด์แบบผสมผสาน (Hybrid Cloud) รวมไปถึงโซลูชั่นบริการ software-as-a-service การร่วมมือกับซอฟต์เลเยอร์จะทำให้ไอบีเอ็มสามารถเร่งขยายโครงสร้างพื้นฐานพับลิคคลาวด์ เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกที่หลากหลายที่สุดในการเลือกรับบริการคลาวด์ ซึ่งจะมีส่วนช่วยผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ” ไอบีเอ็มเข้าซื้อกิจการของซอฟต์เลเยอร์โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลูกค้าทั่วโลกสามารถนำจุดเด่นด้านความเร็วและเรียบง่ายของบริการพับลิคคลาวด์ของซอฟต์เลเยอร์มาผนวกกับความสามารถของระบบในระดับองค์กรขนาดใหญ่ ทั้งด้านความเสถียร ปลอดภัยและการเป็นระบบเปิดระดับของโซลูชั่น IBM SmartCloud เข้าด้วยกัน ซอฟต์เลเยอร์จะช่วยให้ไอบีเอ็มสามารถรวมพับลิคคลาวด์เข้ากับไพรเวทคลาวด์ให้ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มความคล่องตัวและทางเลือกให้ลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปถึงองค์กรขนาดใหญ่ด้วยประสิทธิภาพและระบบรักษาความปลอดภัยหลากหลายรูปแบบ ซอฟต์เลเยอร์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ให้บริการแก่ลูกค้า 21,000 ราย ด้วยแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ระดับโลก ครอบคลุมดาต้าเซ็นเตอร์ 13 แห่งในสหรัฐฯ เอเชีย และยุโรป หนึ่งในนวตกรรมด้านบริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ที่ซอฟต์เลเยอร์เสนอให้ลูกค้าคือลูกค้าสามารถเลือกซื้อบริการคลาวด์ระดับองค์กรได้บนเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นส่วนตัวแยกไว้โดยเฉพาะหรือบนเซิร์ฟเวอร์สาธารณะและลูกค้าสามารถเลือกติดตั้งแอพพลิเคชั่นบนระบบที่เหมาะสม และจากนี้ต่อไป ลูกค้าของซอฟต์เลเยอร์จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากบริการเพื่อลูกค้าระดับองค์กรขนาดใหญ่ของไอบีเอ็ม โดยลูกค้าของซอฟต์เลเยอร์จะสามารถนำเทคโนโลยีของไอบีเอ็มมาปรับใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจที่กำลังเติบโต ปัจจุบัน ไอบีเอ็มเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำของโลกและคาดว่าจะมีรายได้ 7 พันล้านดอลลาร์ต่อปีจากบริการคลาวด์ภายในสิ้นปี 2558 ไอบีเอ็มครองตำแหน่งผู้นำ ด้วยฐานลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ พร้อมความเชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมเฉพาะ และศูนย์คลาวด์คอมพิวติ้ง 10 แห่งใน 5 ทวีปทั่วโลก การเข้าซื้อกิจการของซอฟต์เลเยอร์ในครั้งนี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการสมาร์ทคลาวด์ของไอบีเอ็ม โดยจะช่วยให้องค์กรต่างๆ มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นในการปรับปรุงปริมาณงาน ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีของซอฟต์เลเยอร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของบริษัทที่มุ่งเน้นการใช้ระบบคลาวด์เป็นหลัก ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคลาวด์ต่อลูกค้าทั่วโลก ไอบีเอ็มจึงมีแผนที่จะจัดตั้งแผนกธุรกิจบริการคลาวด์ (Cloud Services Division) โดยหลังจากที่ดำเนินการเข้าซื้อกิจการของซอฟต์เลเยอร์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 แผนกธุรกิจใหม่นี้จะผสานรวมเทคโนโลยีของซอฟต์เลเยอร์เข้ากับ IBM SmartCloud ในรูปแบบของแพลตฟอร์มระดับโลก และแผนกที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายให้แก่ลูกค้าของไอบีเอ็มและซอฟต์เลเยอร์ รวมไปถึงผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ตัวแทนจำหน่าย และพันธมิตรทางด้านเทคโนโลยี บริการของซอฟต์เลเยอร์จะเสริมสร้างกลุ่มบริการที่ไอบีเอ็มมีอยู่ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ด้วยการโฟกัสตลาดที่ชัดเจน ความเรียบง่าย และความรวดเร็วในการให้บริการ แผนกธุรกิจบริการคลาวด์จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ เอริค คลีเมนติ รองประธานอาวุโส กลุ่มธุรกิจบริการทางด้านเทคโนโลยีของไอบีเอ็ม บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กฤษณา วิทยานนท์ โทร 02.273.4261 อีเมล์ [email protected]กภ-

ข่าวซอฟต์เลเยอร์ เทคโนโลยี+คลาวด์คอมพิวติ้งวันนี้

ผลสำรวจพบธุรกิจส่วนใหญ่ทึ่งในศักยภาพของ AIที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนแต่ยังกังวลเรื่องการใช้พลังงาน

องค์กรมากกว่าหนึ่งในสองยอมรับว่ามีช่องว่างของความเข้าใจว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างไร ตลาดเอเชียเป็นตลาดนำในการใช้ AI คลาวด์คอมพิวติ้ง และใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีขับเคลื่อนความยั่งยืน โดยผลสำรวจพบประเทศไทยอยู่ในลำดับต้น ๆ ในการใช้ AI และคลาวด์คอมพิวติ้ง อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป เผยรายงาน "แนวโน้มและดัชนีความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีประจำปี 2024" (Tech-Driven Sustainability Trends and Index

อาลีบาบา คลาวด์ เปิด ดาต้าเซ็นเตอร์ แห่งท... อาลีบาบา คลาวด์ เปิด ดาต้าเซ็นเตอร์ แห่งที่สองในประเทศไทย — อาลีบาบา คลาวด์ เปิด ดาต้าเซ็นเตอร์ แห่งที่สองในประเทศไทยมาพร้อมกลุ่มผลิตภัณฑ์หลากหลายเพื่อรอง...

บริษัท สยาม เอไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้พั... สยาม เอไอฯ บริษัทไทยรายแรกในอาเซียน ที่ได้รับ NVIDIA DGX Blackwell B200 — บริษัท สยาม เอไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้พัฒนาและให้บริการ SIAM.AI Cloud ผู้นำด้าน...

บทความโดย Cedric Clyburn ผู้สนับสนุนนักพั... ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น — บทความโดย Cedric Clyburn ผู้สนับสนุนนักพัฒนาอาวุโสที่ Red Hat และ Frank La Vigne นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล...

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หร... NT เผย 5 คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับการเริ่มต้นใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง — บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที (NT) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งเป...

Nutanix Enterprise AI มอบประสบการณ์การใช้... Nutanix ขยายแพลตฟอร์ม AI สู่พับลิคคลาวด์ — Nutanix Enterprise AI มอบประสบการณ์การใช้งาน Generative AI ที่ใช้งานง่าย และครบวงจรทั้งการใช้กับระบ...