ธาลัสซีเมีย...โรคร้ายแอบแฝง กุมารแพทย์แนะ...พ่อแม่ตรวจเลือดก่อนมีบุตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--11 ก.ค.--no name imc

หน่วยโลหิตวิทยา ร่วมกับ โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดกิจกรรมเสวนา “รู้จัก...ธาลัสซีเมีย” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันและรักษาโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคเลือดจางที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในคนไทย และอาจแฝงอยู่ในพ่อแม่ โดยมี รศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล และ รศ.นพ.ปัญญา เสกสรรค์ หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ร่วมเป็นวิทยากร ภายในงานมีการเปิดตัวหนังสือ “ธาลัสซีเมียในเด็ก” ซึ่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการขายหนังสือมอบให้กองทุนโรคเลือดและมะเร็งในเด็ก รพ.จุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้ ยังมีบริการตรวจเลือดว่าใครเป็น “โรคซีด” ใครเป็น “โรคธาลัสซีเมีย” และบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับผู้ร่วมงาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับสมัครผู้บริจาคไขกระดูกเพื่อผู้ป่วยธาลัสซีเมีย โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน ณ ห้องประชุมมงคลนาวิน ตึก สก. ชั้น 10 รพ.จุฬาลงกรณ์ เมื่อเร็วๆ นี้ รศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กไทย และเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งปัญหาของโรคนี้เกิดจากความไม่รู้ของพ่อแม่ ที่คิดว่าร่างกายแข็งแรงเป็นปกติดีทุกอย่าง แต่ไม่รู้ว่าตนเองเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งร้อยละ 30-40 ของประชากรในประเทศ เป็นพาหาะของโรคธาลัสซีเมีย แม้จะไม่มีอาการใดๆ แต่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ โดยเด็กแรกคลอดร่ายกายจะเป็นปกติดีทุกอย่าง แต่จะเริ่มตัวซีดตอนอายุ 6 เดือน หรือบางรายจะแสดงอาการให้เห็นเมื่อเด็กมีอายุ 1 ขวบขึ้นไป และมีการเจริญเติบโตช้า ท้องโต การรักษาโรคธาลัสซีเมียในปัจจุบันทำได้ 2 วิธีคือ การเปลี่ยนถ่ายเลือดเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง และการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งการเปลี่ยนถ่ายเลือดนั้น ก็เพื่อลดอาการตัวซีดของเด็ก และช่วยให้เด็กสามารถเจริญเติบโตได้สมวัย สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ แต่จะต้องดูแลเด็กเป็นพิเศษ ร่วมกับการออกกำลังกาย ให้เด็กดื่มนมเยอะๆ จะได้มีแคลเซียมมาป้องกันภาวะกระดูกบาง ข้อควรระวังในเรื่องของการให้เลือดเป็นประจำคือ เด็กจะมีภาวะเหล็กเกิน รักษาได้โดยการให้ยารักษาร่วมกันไป โดยจะต้องรักษาไปตลอดชีวิต ส่วนการรักษาที่จะทำให้โรคนี้หายขาดได้นั้น ทำได้โดยการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่ต้องรอการบริจาคและต้องมีเซลล์เข้ากันได้ หากผู้บริจาคเป็นพี่น้องกัน โอกาสที่เซลล์เข้ากันได้จะมีประมาณ 25% แต่ถ้าเป็นผู้บริจาคคนอื่นโอกาสที่เซลล์จะเข้ากันได้จะมีประมาณ 15% รศ.นพ.ปัญญา เสกสรรค์ หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการรักษาโรคธาลัสซีเมียนั้น การให้เลือดในผู้ป่วยธาลัสซีเมียนั้นจะทำ นอกจากการให้เลือดแล้ว ยังต้องให้ยาขับเหล็กควบคู่ไปด้วย ซึ่งมีทั้งแบบฉีดและยารับประทาน ปัจจุบันการบริจาคไขกระดูกยังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยกับผู้บริจาค จึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัว อายุ 18-50 ปี มาบริจาคไขกระดูกให้กับผู้ป่วยธาลัสซีเมีย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย และสามารถดำเนินชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โรคธาลัสซีเมียสามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจเลือดก่อนมีบุตร นอกจากนี้ ยังได้มีการเชิญครอบครัวของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย มาร่วมให้ความรู้ด้วย โดยคุณแม่น้องกอด ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก เล่าว่า ก่อนแต่งงานเราตรวจเลือดแล้ว แต่เกิดความผิดพลาดเพราะตรวจเลือดแล้วไม่เจอ ตอนมีลูกคนแรกก็ไม่ได้เอะใจอะไร จนคลอดลูกคนที่ 2 แล้วคุณหมอทักว่า ลูกชายคนโตตัวซีดป่วยเป็นธาลัสซีเมีย ก็ตกใจมาก กลัวลูกคนที่ 2 จะเป็นด้วย ผลตรวจออกมาว่าลูกคนเล็กไม่เป็น แต่ข่าวร้ายก็คือคนน้องไม่สามารถให้ไขกระดูกคนพี่ได้ เราก็ต้องทำใจยอมรับ และรักษากันไป โดยการให้เลือดเป็นประจำทุกๆ 2 สัปดาห์ จนวันหนึ่งเราได้รับโทรศัพท์จากคุณหมอ ว่ามีผู้บริจาคไขกระดูกที่สามารถเข้ากับลูกของเราได้ ทำให้เราดีใจมาก วันนี้น้องได้รับการรักษาจนหายขาดแล้ว ต้องขอบคุณผู้บริจาคที่ให้ชีวิตใหม่กับน้อง และให้ชีวิตใหม่กับครอบครัวของเรา ทำให้เรามีกำลังใจและสามารถดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคตได้ เราไม่รู้ว่าคนนั้นเป็นใคร ไม่รู้จะตอบแทนยังไง ก็ขอตอบแทนผู้บริจาคด้วยการทำงานเพื่อสังคม ด้วยการให้ความรู้กับครอบครัวที่มีลูกเป็นธาลัสซีเมีย คอยให้กำลังใจญาติ เพื่อจะได้มีแรงที่จะต่อสู้และดำเนินชีวิตต่อไปค่ะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ คุณบุษบา (บุษ) / คุณชลียาพันธุ์ (กิ๊ฟฟู่) โทร. 02 718 3800-5 ต่อ 141 / 144 -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวโครงการจุฬาคิดส์คลับ+โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วันนี้

ภาพข่าว: โครงการจุฬาคิดส์คลับ จัดงาน World Pneumonia Day เนื่องในวันโรคปอดบวมโลก

โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นำโดย รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อเด็ก ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (กลาง)จัดงาน World Pneumonia Day เนื่องในวันโรคปอดบวมโลก เพื่อรณรงค์ให้ความรู้เสริมสร้างความเข้าใจและดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคปอดบวม ซึ่งเป็นโรคที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะแทรกซ้อน

หน่วยโลหิตวิทยา ร่วมกับ โครงการจุฬาคิดส์ค... เรียนรู้และเข้าใจ...ฮีโมฟีเลีย โรคเลือดทางพันธุกรรม — หน่วยโลหิตวิทยา ร่วมกับ โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดกิจกรรม “ฮีโ...

25 ต.ค. 56 ขอเชิญร่วมงาน “จุฬาฮีโมฟีเลียเดย์” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

หน่วยโลหิตวิทยา ร่วมกับ โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขอเชิญผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย และญาติ ตลอดจนผู้สนใจเข้าร่วมงาน “จุฬาฮีโมฟีเลียเดย์” ร่วมเรียนรู้และเข้าใจโรคฮีโมฟีเลียโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ รศ.พญ...

สภากาชาดไทยจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย

สภากาชาดไทยจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมพรรษา 81 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2556 และขอ...

ภาพข่าว: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดงาน “รู้จักธาลัสซีเมีย” พร้อมเปิดตัว “ธาลัสซีเมียในเด็ก”

เมื่อเร็วๆ นี้ หน่วยโลหิตวิทยา ร่วมกับโครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดกิจกรรม "รู้จัก ธาลัสซีเมีย” พร้อมเปิดตัวหนังสือ “ธาลัสซีเมียในเด็ก” โรคโลหิตจางที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ...

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กิจกรรม “รู้จัก...ธาลัสซีเมีย” พร้อมเปิดตัวหนังสือ “ธาลัสซีเมียในเด็ก”

หน่วยโลหิตวิทยา ร่วมกับโครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขอเชิญผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย ญาติ และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “รู้จัก ธาลัสซีเมีย” พร้อมเปิดตัวหนังสือ "ธาลัสซีเมียในเด็ก" โรค...

ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานเสวนา “รู้จัก...ธาลัสซีเมีย” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เสาร์ที่ 22 มิ.ย. 56 หน่วยโลหิตวิทยา รพ.จุฬาลงกรณ์ ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานเสวนา “รู้จัก...ธาลัสซีเมีย” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หน่วยโลหิตวิทยา ร่วมกับ โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขอเชิญผู้ป่วยโรคธาลัสซี...

ภาพข่าว: จุฬาคิดส์คลับ แนะป้องกัน 2 เชื้อร้าย 3 โรคอันตรายในเด็กเล็ก

โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดงานเสวนา “ต้อนรับลูกน้อยสู่โลกใบใหม่” ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส และเชื้อเอ็นทีเอชไอ ซึ่งเป็น 2 เชื้อร้าย ที่ก่อให้เกิด 3 โรคอันตรายในเด็กเล็ก ได้...

งานเสวนา “ต้อนรับลูกน้อยสู่โลกใบใหม่”

โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ ภปร.8 ฝากครรภ์ ขอเชิญผู้ที่กำลังจะเป็นคุณแม่ ครอบครัวที่มีลูกเล็กที่อายุไม่เกิน 2 ปี และผู้สนใจทั่วไป ร่วมงานเสวนา “ต้อนรับลูกน้อยสู่โลกใบใหม่” พบกับวิธีการป้องกัน 2 เชื้อร้าย 3 โรคอันตรายในเด็ก...