Memory Walk การเดินรณรงค์ระดับนานาชาติเพื่อรำลึกถึงโรคอัลไซเมอร์ครั้งแรกของโลกที่ไต้หวัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ลอนดอน--22 เม.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์


ในช่วงเดือนแห่งโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งตรงกับเดือนก.ย. ของทุกปีนั้น จะมีการจัด Memory Walk ซึ่งเป็นการร่วมเดินรณรงค์ในประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อม แต่การเดินรณรงค์ระดับนานาชาติเพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันนี้ ระหว่างการประชุมของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) ครั้งที่ 28 ณ กรุงไทเป การเดินรณรงค์ดังกล่าวสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานได้กว่า 4,000 คน จาก 35 ประเทศ รวมถึงประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว (Ma Ying-Jeou) ของไต้หวันอีกด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลของไต้หวันเพิ่งประกาศเตรียมจัดทำแผนอัลไซเมอร์ระดับชาติ

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130422/610752-a )

(รูปภาพ: http://photos.prnewswire.com/prnh/20130422/610752-b )

องค์การอนามัยโลก (WHO) และสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) เปิดเผยว่า ในปี 2553 มีผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคจิตเสื่อมอื่นๆกว่า 36 ล้านคน โดยจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 7.7 ล้านคนในแต่ละปี หรือในทุกๆ 4 วินาที จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1 คนทั่วโลก โรคอัลไซเมอร์ส่งผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่ต่อครอบครัวผู้ป่วย และสังคม ซึ่งหากเราไม่รีบหาทางแก้ปัญหาแล้วโรคอัลไซเมอร์จะกลายเป็นปัญหาต่อสุขภาพ และเป็นภาระการดูแลของสังคมที่ใหญ่ที่สุดของศตวรรษที่ 21 ในวันนี้ ผู้คนกว่า 3,000 คนมารวมตัวกันในกรุงไทเป เมืองหลวงของไต้หวัน เพื่อเรียกร้องให้ทุกคนตระหนักถึงโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อม นอกจากนี้ ประธานาธิบดีหม่ายังได้ร่วมเดินรณรงค์และปราศรัยกับกลุ่มตัวแทน ตลอดจนประกาศประเด็นสำคัญๆที่น่าเป็นห่วง 7 ประเด็นในนโยบายสาธารณะซึ่งรวมถึง การศึกษา การรักษาที่ดียิ่งขึ้น และการให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้ป่วย

ตัวแทนส่วนใหญ่เตรียมเข้าร่วมการประชุมของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากลครั้งที่ 28 ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก โดยหัวข้อประชุมเกี่ยวข้องกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แนวทางปฏิบัติในการรักษาโรคจิตเสื่อมอย่างมีประสิทธิภาพ นโยบายปัจจุบันของประเทศต่างๆทั่วโลก และการดำเนินงานของสมาคมอัลไซเมอร์ในประเทศเหล่านั้น เป็นต้น

“โรคอัลไซเมอร์ และโรคจิตเสื่อมอื่นๆมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อผู้ป่วย และครอบครัวของพวกเขา ซึ่งเราจะต้องตระหนักถึงสิ่งต่างๆมากมายที่เราสามารถทำได้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขา” นายมาร์ค วอร์ทแมน (Marc Wortmann) กรรมการผู้อำนวยการ ADI กล่าว “ความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับโรคจิตเสื่อมจะช่วยให้ครอบครัวผู้ป่วยสามารถรับมือกับโรค และคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น” ในการประชุม จะมีการนำเสนอโครงการสนับสนุนดีๆมากมาย รวมถึงการวิจัยเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหา แนวทางการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคจิตเสื่อม และประเทศที่ได้ดำเนินการใช้แผนอัลไซเมอร์ระดับชาติ “เรากระตุ้นให้รัฐบาลของทุกประเทศสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม และให้ตระหนักถึงโรคจิตเสื่อมในฐานะปัญหาด้านสุขภาพระดับชาติ และเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความใส่ใจเป็นอันดับแรก” ดร. เจค็อบ รอย คิวเรียโคส (Dr. Jacob Roy Kuriakose) ประธาน ADI กล่าว

ขณะนี้ ADI กำลังดำเนินการจัดประชุมร่วมกับสมาคมโรคอัลไซเมอร์แห่งไต้หวัน (Taiwan Alzheimer’s Disease Association: TADA)

เกี่ยวกับ ADI

สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer’s Disease International) เป็นสมาพันธ์ระดับโลกซึ่งประกอบด้วยสมาคมอัลไซเมอร์ 79 แห่งทั่วโลก โดยสมาคมอัลไซเมอร์ในประเทศต่างๆให้การสนับสนุนผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมตลอดจนครอบครัวของผู้ป่วย ADI ยังได้ประสานงานร่วมกับองค์การอนามัยโลกอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2539 และองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) ตั้งแต่ปี 2555 โดยวิสัยทัศน์ของ ADI คือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม และครอบครัวของผู้ป่วยทั่วโลก

เกี่ยวกับ TADA

สมาคมโรคอัลไซเมอร์แห่งไต้หวัน (Taiwan Alzheimer’s Disease Association: TADA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2545 และเข้าเป็นสมาชิกของ ADI อย่างเต็มตัวในปี 2548 โดยมีวิสัยทัศน์คือ การสร้างชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเสื่อม และผู้ดูแลผู้ป่วยเหล่านั้น รวมถึงการสร้างโลกที่ปราศจากโรคจิตเสื่อม

ติดต่อ

ต่างประเทศ: มาร์ค วอร์ทแมน (Marc Wortmann)

กรรมการผู้อำนวยการ ADI

อีเมล: [email protected]

มือถือ: +31-653-131-811

ไต้หวัน: ซิน-ผิง หง (Hsin-Ping Hung) TADA

อีเมล: [email protected]

แหล่งข่าว: สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

-ปม-

ข่าวสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล+ระดับนานาชาติวันนี้

วงมหาดุริยางค์ไทยเยาวชนแห่งจุฬาฯ วง "ChulaThaiYO" พร้อมโชว์บนเวทีระดับนานาชาติในงาน Thai Festival Tokyo 2025 ที่ญี่ปุ่น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งเสริมและสืบสานศิลปะดนตรีไทยโดยบูรณาการร่วมกับพันธกิจ CU Social Engagement : Arts and Cultural Communities จัดตั้งวงมหาดุริยางค์ไทยเยาวชนของมหาวิทยาลัย "ChulaThaiYO" ซึ่งเป็นวงดนตรีไทยประจำมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่สุดในกระบวนวิชาการได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย พร้อมแสดงศักยภาพบนเวทีการแสดงระดับนานาชาติ ในงาน Thai Festival Tokyo ครั้งที่ 25 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 10 11 พฤษภาคม 2568 วงมหาดุริยางค์ไทยเยาวชนแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn

วารสาร Lancet Neurology เผยรายงานการวิจัยครั้งสำคัญ ตอกย้ำพันธกิจระยะยาวในการต่อสู้กับโรคสมองเสื่อม

ผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 ชีวิตร่วมรณรงค์จัดการกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ในวารสาร Lancet Neurology ฉบับเดือนเมษายน สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) มีความยินดี...

โรคสมองเสื่อม: ความท้าทายด้านสุขภาพระดับโลกที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคนี้

ในการสรุปนโยบายวันนี้ สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) ได้คาดการณ์ตัวเลขผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลกในปี 2556 อยู่ที่ประมาณ 44 ล้านราย (จากระดับ 35 ล้านรายที่ได้คาดการณ์ไว้ เมื่อปี 2553) และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นแตะ 76...

รายงาน World Alzheimer Report 2012 เผยการถูกตราหน้าและกีดกันจากสังคมถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญของผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมและผู้ดูแล

- 75% ของผู้ป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมและ 64% ของครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยเชื่อว่ายังมีความสัมพันธ์ในเชิงลบต่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคจิตเสื่อมในประเทศของตนเอง - 40%...

องค์การอนามัยโลกร่วมกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากลชี้โรคจิตเสื่อมต้องได้รับการจัดอันดับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในด้านอนามัยโลก

รายงานฉบับใหม่เรียกร้องให้นานาประเทศจัดอันดับโรคจิตเสื่อมเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุข รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International—ADI...

รายงานอัลไซเมอร์โลก 2554 เผยการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อย่างรวดเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การเงิน และสังคม

เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ สนับสนุนการวินิจฉัยและการรักษาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ รายงานอัลไซเมอร์โลก 2554 ที่เผยแพร่ในวันนี้โดยสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI...

รายงานล่าสุดเผยทั่วโลกเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์เกิน 1% ของจีดีพีโลก และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

รายงานสำคัญเรื่องผลกระทบของโรคสมองเสื่อมที่มีต่อเศรษฐกิจโลกระบุว่า โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก และคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า...

สรุปข่าวเอเชียเน็ทประจำวันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2552

โรคอัลไซเมอร์ นิวยอร์ก: รายงานอัลไซเมอร์โลก 2009 ของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) ระบุว่า ในปีหน้าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคน โดยรายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยในวันนี้ (21 กันยายน 2552) เนื่อง...

รายงานล่าสุดเผยปีหน้าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคนทั่วโลก

รายงานอัลไซเมอร์โลก 2009 ของสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) ระบุว่า ในปีหน้าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 35 ล้านคน โดยรายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยในวันนี้ (21 กันยายน 2552) เนื่อง...