การรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหืด หวังลดผู้ป่วยโรคหืดในไทยกว่าล้านคนไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์

สมาคมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหืด รวมตัวกันมากเป็นประวัติการณ์เพื่อร่วมกันจัดการประชุมวิชาการ National Asthma meeting ประจำปี พ.ศ. 2556 ในวันที่ 7 พฤษภาคมศกนี้ ซึ่งตรงกับวันหืดโลกที่องค์กรต่างๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญ การรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่นี้ประกอบด้วย สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย ชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัว และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยจะร่วมกันตั้งเป้าหมายลดการนอนโรงพยาบาลด้วยอาการของโรคหืดให้เหลือ 0% และร่วมกันเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมจะสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่สังคมต่อไป โรคหืดยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งคาดว่า ปี 2568 จะมีจำนวนผู้ป่วยโรคหืดเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านคน สำหรับในประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคหืดประมาณ 3 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณปีละ 1,500 คน เฉลี่ยถึง 3 คนต่อวัน โดยร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตดังกล่าวสามารถป้องกันได้ นับเป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่ทุกคนควรให้ความสำคัญและโรคหืดมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงระบบสาธารณสุขไทย การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดให้สามารถควบคุมโรคนี้ได้อย่างสิ้นเชิง จะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอิสระจากโรคหืด ลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากโรคหืด และทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและครอบครัวดีขึ้น รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ประธานจัดงาน ชี้แจงว่า วิถีชีวิตประจำวันของคนเมืองที่เร่งรีบทำให้มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคหืดเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ฝุ่นละออง ความสะอาดของสถานที่อยู่อาศัย การให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพที่น้อยลง ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหืดรองจากสาเหตุจากพันธุกรรม ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคหืดในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว มีผู้ป่วยเป็นจำนวนถึงแสนกว่ารายที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากการหอบรุนแรงฉับพลัน และมีผู้ป่วยจำนวนกว่าหนึ่งล้านคนที่ต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินเนื่องจากอาการหอบ รวมทั้งมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหืดเป็นจำนวนมาก คือ ประมาณพันกว่ารายต่อปี หรือเฉลี่ย 3 คนต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนที่จะถึงโรงพยาบาลทั้งสิ้น ผู้ป่วยโรคหืดมักมีปัญหาเรื่องการนอนเพราะต้องตื่นกลางดึกบ่อยๆ เนื่องจากอาการหอบ ทำให้สุขภาพแย่ลงและมีผลกระทบไปถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติ หน้าที่การงาน การเรียน ยังถูกจำกัดในเรื่องการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย ยังไม่รวมถึงการต้องขาดงานในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ และการขาดเรียนในเด็ก อันเนื่องมาจากอาการป่วยนี้ทั้งสิ้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวมานี้ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ป่วยซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ถือเป็นความสูญเสียที่มีค่ามหาศาลแต่ไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ สิ่งเหล่านี้นับได้ว่าเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง จากสถิติข้างต้นนี้ องค์กรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงได้ตระหนักถึงปัญหาและร่วมกันจัดงานเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและความรู้ใหม่ๆ ในการรักษาและควบคุมโรคอย่างถูกต้องแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจทั่วประเทศ ซึ่งจะมีการแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์อันเป็นประโยชน์โดยผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจจากองค์กรต่างๆ และขอเชิญชวนให้สมาชิกและบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านลงทะเบียนเข้าร่วมงานและร่วมส่งผลงานเข้าประกวดงานวิจัยแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ในทุกหัวข้อที่เกี่ยวกับโรคหืด ซึ่งผู้ร่วมส่งผลงานจะได้รับสิทธิ์ลงทะเบียนฟรี -กภ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวการประชุมวิชาการ+สมาคมโรคภูมิแพ้วันนี้

วว. ร่วมประชุมวิชาการ DOST-PCAARRD-TISTR ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ผลักดันนวัตกรรมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรดิน สร้างความมั่นคงทางอาหาร มุ่งสู่การเกษตรที่ยั่งยืน

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม ดร.พงศธร ประภักรางกูล รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ดร.ปิยะ ปานผู้มีทรัพย์ ผอ.สำนักยุทธศาสตร์วิสาหกิจ ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) ดร.บุณณนิดา โสดา ผอ.กองวิเทศสัมพันธ์ และทีมนักวิจัย ศนก. เข้าร่วมการประชุมวิชาการ DOST-PCAARRD-TISTR

"อภัยภูเบศร" ชูธง 'Smart Thai Traditional... "อภัยภูเบศร" ชูธง 'Smart Thai Traditional Medicine' เดินหน้าสู่มาตรฐานโลก — "อภัยภูเบศร" ชูธง 'Smart Thai Traditional Medicine' เดินหน้าสู่มาตรฐานโลก ปลื้...

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ... พิธีเปิดงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 33 — ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางคว...

ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลว... มจธ.ขอเชิญส่งบทความเข้าร่วมงานประชุมวิชาการความรู้และการวิจัยเพื่อสังคมที่เท่าเทียม : KRIS2025 — ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพร...

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ร่... เชิญร่วมงาน การประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ระดับชาติ ครั้งที่ 15 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 11 — สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ร่วมมือ สถานศึกษาเครือ...