ข้อมูลชี้!! แหล่งอาหารเป็นพิษที่สำคัญ คือ อาหารโรงเรียนโดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนามีรายงานเด็กเกิดอาหารเป็นพิษได้สูงถึงประมาณ 5 ครั้งต่อปี สำหรับประเทศไทยในแต่ละปีจะมีเด็กนักเรียนและเด็กเล็กที่ป่วยจากโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น กรณีหามส่งเด็กนักเรียนชาย หญิง ซึ่งเดินทางมาเข้าค่ายลูกเสือที่ จ.สระบุรีกว่า 400 คน เข้าโรงพยาบาล เมื่อเดือนธันวาคม 55 ที่ผ่านมา เนื่องจากอาหารเป็นพิษ หรือเมื่อกลางเดือน กรกฎาคม55 กรณีที่เด็กกินไข่ต้มแก้บนแล้วป่วยโรคท้องร่วงทั้งหมด 460 ราย ที่ จ.เชียงใหม่ สธ.จึงเดินหน้าแก้ปัญหา จัดโครงการอาหารปลอดภัย ปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ตั้งเป้าลดป่วยโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ภายในปี 2556
นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวมอบนโยบายภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนา “โครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ที่โรงแรมอมารีดอนเมืองกรุงเทพฯว่า ในแต่ละปีประเทศไทยจะมีเด็กนักเรียนและเด็กเล็กที่ป่วยจากโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงเป็นจำนวนมาก โรคนี้จะพบในเด็กได้สูงกว่าวัยอื่นๆ เพราะแหล่งอาหารเป็นพิษที่สำคัญ คือ อาหารโรงเรียนโดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา มีรายงานเด็กเกิดอาหารเป็นพิษได้สูงถึงประมาณ 5 ครั้งต่อปี ทั้งนี้ในปี 2554 พบว่ามีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 102,562 ราย เสียชีวิต 2 ราย จากทั้งหมด 74 เหตุการณ์ โดยพบในโรงเรียนมากที่สุด 23 เหตุการณ์ มีผู้ป่วย 405 ราย และยังพบอีกว่าประชากรอายุระหว่าง 0-4 ปี และ 5-9 ปี มีอัตราป่วยสูงกว่ากลุ่มวัยอื่น
สำหรับข้อมูลปี 2555 จากรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบสถานการณ์การระบาดจากโรคติดต่อทางอาหารและน้ำที่สำคัญ ได้แก่ 1) โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันมีผู้ป่วย 1,221,297 ราย จาก 77 จังหวัด เสียชีวิต 35 ราย 2) โรคอหิวาตกโรคมีผู้ป่วย 45 รายจาก 16 จังหวัด ไม่มีผู้เสียชีวิต 3) โรคอาหารเป็นพิษมีผู้ป่วย 118,754 ราย จาก 77 จังหวัดและ เสียชีวิต 1 ราย
เนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็ก รวมทั้งเป็นการเพิ่มภาระด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ปกครอง ในปี 2556 นี้กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายอาหารปลอดภัย ลดโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกจังหวัด ให้มีการทำงานที่เข้มข้นและต่อเนื่องตลอด 4 ปีตั้งแต่ปี 2556 -2559 เพื่อลดอัตราป่วย ตายและผลกระทบจากการเจ็บป่วยจากอาหารเป็นพิษให้เหลือน้อยที่สุด โดยได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) เป็นเจ้าภาพบริหารจัดการดำเนินงานบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว และได้จัดทำเป็นโครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น และมีการดำเนินโครงการฯนี้ในพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัด(ยกเว้น กทม.) โดยมีการตั้งเป้าให้โรงเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพฐ.) เกิดการบริหารจัดการอาหารปลอดภัย ลดโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 15,260 แห่ง ภายในปี 2556 นี้
ด้าน นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าการจัดสัมมนา“โครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก”เป็นการดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิด เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการอาหารปลอดภัย ลดโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วง ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งวิธีการบริหารจัดการเมื่อมีอุบัติการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นแบบบูรณาการ ร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ได้แก่ ทีมงานอาหารปลอดภัยของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศูนย์อนามัย สำนักงานป้องกันควบคุมโรค โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การผลิต การจำหน่าย และการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยในความรับผิดชอบของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งการป้องกัน/แก้ไขปัญหา/ตอบสนองต่อปัญหาด้านโภชนาการควบคู่ไปกับ การดูแลด้านความปลอดภัยอาหารทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตและมีสุขภาพดีเหมาะสมตามกลุ่มวัย
นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) กล่าวเสริมว่า ภายในปี 2556นี้จะมีการจัดโครงการฯนำร่องใน 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ นนทบุรี สมุทรปราการ ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา ภูเก็ต เพื่อเป็นการสร้างโมเดลแลกเปลี่ยนและระดมความคิดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ พร้อมทั้งหาแนวทางการดำเนินงานแผนรับมือความปลอดภัยด้านอาหาร การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ การประเมินความเสี่ยง และการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เนื่องจากโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงเป็นโรคที่ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพราะการแพร่ระบาดเกิดขึ้นได้ง่าย จึงขอความร่วมมือให้โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการดูแลด้านสุขาภิบาล สุขลักษณะของโรงอาหาร และความปลอดภัยในการปรุงประกอบอาหารอย่างสม่ำเสมอ ทั้งด้านความสะอาดของโรงเรือน วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ และตัวผู้ปรุงอาหาร ที่สำคัญควรเลือกประกอบอาหารที่สุกใหม่ให้เด็กได้รับประทาน ไม่ควรปรุงอาหารทิ้งค้างไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะเสี่ยงต่อเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้อาหารบูดเสีย และเกิดโรคอาหารเป็นพิษต่อเด็ก รวมทั้งโรงเรียนควรต้องฝึกการดูแลสุขอนามัยให้กับเด็กด้วย เช่น การล้างมือก่อนกินอาหาร การจัดบริการส้วมที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อความปลอดภัยและห่างไกลจากโรค
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.)
โทรศัพท์ 0 2965 9730 / 0 2951 0000 ต่อ 99985
โทรสาร 0 2588 3020
-กผ-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงขลา) รณรงค์ เที่ยวสงกรานต์อุ่นใจ ไม่นำโรคภัยไปติดครอบครัว เน้นย้ำฉลองปลอดโรค เดินทางปลอดภัย ยึดหลักมาตรการ DMH อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และ "สุก ร้อน สะอาด" ป้องกันโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า สคร.12 สงขลา ห่วงใยพี่น้องประชาชน เดินทางกลับไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ต้องไม่นำโรคภัยกลับไปด้วย
นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานการแถลงข่าวผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ดีดีซีโพล(DDC Poll) และการเสวนา DDC Forum เรื่อง“โรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วง” พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์โรคและการสืบสวนสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษและ...