ธ.อิสลาม ชูยุทธศาสตร์ 3 สร้าง มั่นใจปีนี้พลิกทำกำไร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ธนาคารอิสลามฯ ชูยุทธศาสตร์ 3 สร้าง เตรียมเพิ่มทุนกว่า 7 พันล้านบาท เสริมฐานะเงินกองทุนแกร่งตามเกณฑ์แบงก์ชาติ รองรับขยายงานเต็มรูปแบบ ปูพรมเจาะฐานลูกค้ามุสลิม เพิ่มพอร์ตรายย่อย 50% พร้อมเปิดรับพันธมิตรร่วมลงทุน ก้าวสู่สถาบันการเงินระดับภูมิภาคอาเซียน มั่นใจปีนี้พลิกทำกำไร นายธานินทร์ อังสุวรังษี ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้น ประจำปี 2556 ว่า ผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นต่อแผนยุทธศาสตร์ที่ธนาคารเสนอ ซึ่งธนาคารมั่นใจว่าจะสามารถพลิกผลประกอบการทำกำไรได้ภายในปีนี้ พร้อมกันนี้ธนาคารได้เสนอยุทธศาสตร์การเติบโตอย่างยั่งยืนใน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยมีการเพิ่มทุนเพื่อสร้างความมั่นคงของเงินกองทุนและทำให้สัดส่วนของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการและแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPF) เพื่อให้ธนาคารกลับมามีสถานะทางการเงินที่เข้มแข็ง ธนาคารจะมีการเพิ่มทุนรวม 7,108 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการเพิ่มทุนครั้งที่ 1 ในเดือนมิถุนายน 2556 จำนวน 927 ล้านบาท และเพิ่มทุนครั้งที่ 2 ภายในไตรมาสที่ 4 จำนวน 6,181 ล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคาร จะออกพันธบัตรอิสลาม (Sukuk) จำนวน 5,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 ทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กำหนด ทำให้ธนาคารสามารถขยายธุรกิจได้ตามแผนงานที่วางไว้ ในปี 2555 ธนาคารมีผลดำเนินการขาดทุน 13,260 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPF) ยอดสินเชื่อในปี 2555 จำนวน 120,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,059 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.4% จากปี 2554 ส่วนยอดเงินฝากจำนวน 113,576 ล้านบาท ลดลง 619 ล้านบาท หรือลดลง 0.55% ในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้สินทรัพย์รวมของธนาคาร ณ สิ้นปี 2555 อยู่ที่ 123,902 ล้านบาท นายธานินทร์ กล่าวต่อถึงแผนการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร จำนวน 24,695 ล้านบาท ว่า เพื่อบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เหล่านี้ให้กลับมาเป็นหนี้ปกติ ธนาคารได้จัดทำแผนแก้ไขหนี้ดังกล่าวอย่างเป็นระบบ ได้แก่ เจรจาปรับโครงสร้างหนี้ เจรจาให้ชำระคืน/ขายสินทรัพย์ และโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ “ตั้งแต่ปี 2556 ธนาคารมีนโยบายควบคุมสินเชื่อใหม่ให้ระดับ NPF ไม่เกิน 2% สำหรับสินเชื่อธุรกิจและไม่เกิน 5% สำหรับสินเชื่อรายย่อย” นายธานินทร์ กล่าว ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยธนาคารเตรียมปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ขยายช่องทางบริการให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้น โดยมีแผนจะขยายสาขาจาก 106 สาขา เป็น 130 สาขา ภายในกรกฎาคม 2556 และตั้งเป้าจะขยายฐานลูกค้ารายย่อยให้ได้ไม่น้อยกว่า 50% ของฐานสินเชื่อทั้งหมดภายใน 5 ปี โดยเตรียมออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายและเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ธนาคารได้รวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าทั่วประเทศ และอยู่ระหว่างพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกกลุ่ม โดยจะเริ่มออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2556 เป็นต้นไป พร้อมทั้ง ขยายขอบเขตการให้บริการเพื่อรองรับชาวมุสลิมที่เดินทางผ่านเข้าออกประเทศไทย ซึ่งมีอยู่กว่า 300 ล้านคน ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยเตรียมความพร้อมในการให้บริการ ทั้งด้านธุรกรรมทางการเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการจากลูกค้าต่างประเทศได้ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างเครือข่าย โดยได้เตรียมความพร้อมในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจกับสถาบันการเงินในภูมิภาคอาเซียนและตะวันออกกลาง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มช่องทางการบริการของธนาคารให้ก้าวสู่สถาบันการเงินระดับภูมิภาค โดยการหาพันธมิตร (strategic partner) เพื่อร่วมลงทุน โดยธนาคารมีแผนที่จะหาผู้ร่วมลงทุนที่เป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินในกลุ่มประเทศมุสลิม ในอีก 3 ปีข้างหน้า “ล่าสุดได้ร่วมมือกับธนาคาร CIMB Group ในการให้บริการธุรกรรมการเงินด้วยจุดบริการ ชำระเงินสำหรับสินเชื่อแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการไทยในมาเลเซียในการชำระค่างวดสินเชื่อให้กับธนาคาร ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกในการโอนเงินจากมาเลเซียมายังประเทศไทยในรูปแบบเดิมได้ ถือเป็นก้าวแรกในการเตรียมความพร้อมของธนาคารในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” นายธานินทร์ กล่าว -กผ-

ข่าวธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย+ธนาคารอิสลามแห่งประเทศวันนี้

ไอแบงก์ จับมือ วิริยะประกันภัย เปิดตัวประกันตะกาฟุล ประกันการเดินทางเพื่อผู้แสวงบุญในการประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) สถาบันการเงินที่ให้บริการตามหลักชะรีอะฮ์ เพื่อความยั่งยืน จับมือ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจประกันภัยอันดับ 1 ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวประกันตะกาฟุล "ตะมีน ลิลฮัจย์วัลอุมเราะห์" ประกันการเดินทางเพื่อการแสวงบุญในการประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ โดยมี ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการและผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ พลตำรวจโท เผ่าไทย ทองธิว กรรมการและที่ปรึกษา บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง และ

พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นสถาบันการเ... ไอแบงก์รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2567 เติบโตแข็งแกร่ง กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 94% — พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการตามหลักชะรีอะ...

ไอแบงก์คว้า 2 รางวัล "องค์กรดีเด่นแห่งปี"... ไอแบงก์คว้า 2 รางวัล "องค์กรดีเด่นแห่งปี" และ "ผู้นำองค์กรดีเด่นแห่งปี" — ไอแบงก์คว้า 2 รางวัล "องค์กรดีเด่นแห่งปี" และ "ผู้นำองค์กรดีเด่นแห่งปี" โครงการห...

ไอแบงก์ร่วมงาน "MOF Journey 150 ปี เส้นทา... ไอแบงก์ร่วมงาน "MOF Journey 150 ปี เส้นทางการคลังไทย" — ไอแบงก์ร่วมงาน "MOF Journey 150 ปี เส้นทางการคลังไทย" เนื่องในโอกาสฉลองครอบรอบ 150 ปี กระทรวงการคล...

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทร... "เอกนัฏ" เสริมแกร่งอุตสาหกรรมฮาลาล ผสาน "8 หน่วยงาน 22 สินเชื่อ" ดันผู้ประกอบการไทยสู่การส่งออก — นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั...

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทร... "เอกนัฏ" เสริมแกร่งอุตสาหกรรมฮาลาล ผสาน "8 หน่วยงาน 22 สินเชื่อ" ดันผู้ประกอบการไทยสู่การส่งออก — นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั...