เอฟทีเอ ไทย – อียู : ความร่วมมือเพื่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--17 พ.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์

สมาคมศูนย์ส่งเสริมธุรกิจยูโรเปียน-อาเซียน (อีเอบีซี) องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนของสหภาพยุโรป เพื่อเป็นเวทีของภาคธุรกิจโดยทำหน้าที่เสมือนหอการค้าของสหภาพยุโรปในประเทศไทย ประกาศสนับสนุนการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยและสหภาพยุโรป (the Thailand – EU Free Trade Agreement) เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนา โดยเอฟทีเอจะช่วยให้ไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งและขับเคลื่อนให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งอีเอบีซีพร้อมสนับสนุนให้ไทยและสหภาพยุโรป (อียู) เดินหน้าการเจรจาเพื่อนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดจากความตกลงที่จะจัดทำขึ้นดังกล่าว ทั้งนี้ ผลงานวิจัยที่จัดทำและเผยแพร่โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เพื่อศึกษาถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยจะได้รับจากการทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า การเจรจาความตกลงฯ จะช่วยให้ไทยมีการเติบโตของจีดีพีสูงกว่าการที่ไทยจะไม่เข้าร่วมการเจรจา นอกจากนี้ ผลการศึกษาล่าสุดที่ทำขึ้นเพื่อนำเสนอต่อสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยยังชี้ให้เห็นว่า ในระยะสั้น เอฟทีเอจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 หรือ 950 ล้านยูโรต่อปี (ประมาณ 38,000 ล้านบาท) และจีดีพีของไทยจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.56 นายร๊อล์ฟ-ดีเตอร์ ดาเนียล ประธานสมาคมศูนย์ส่งเสริมธุรกิจยูโรเปียน-อาเซียน (อีเอบีซี)กล่าวว่า “อีเอบีซี มีสมาชิกประกอบด้วยบริษัทจากยุโรปที่เข้ามาลงทุนและทำการค้าในไทยในด้านต่างๆ มีปณิธานมุ่งสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยให้มีการเจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ในฐานะของประธานสมาคมฯ และตัวแทนจากบริษัทยุโรป ผมมองว่า ธุรกิจยุโรปเป็นหนึ่งส่วนสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย โดยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่สงบสุข มีศักยภาพและมีความมั่นคงและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของบริษัทยุโรปที่เข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งเราได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องที่จะแบ่งปันประสบการณ์และให้ความร่วมมือกับภาครัฐ โดยจัดทำข้อเสนอแนะทางด้านนโยบายและกฎระเบียบเพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเราเชื่อว่า การบรรลุในการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี ไทย-อียู จะมีส่วนในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งจะช่วยส่งเสริมให้ทั้งสองภูมิภาคได้รับประโยชน์จากทำการค้าระหว่างกันมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยขยายการลงทุนของสหภาพยุโรปในภาคธุรกิจบริการของไทย และส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยและประชาชนชาวไทยโดยรวม” โดยเอฟทีเอจะช่วยลดอุปสรรคที่มีต่อการลงทุนของสหภาพยุโรปในภาคธุรกิจบริการของไทย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจของไทย ซึ่งภาคธุรกิจบริการของไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนา เนื่องจากประสิทธิภาพของแรงงานในธุรกิจนี้ยังไม่สูง และขาดแคลนการลงทุนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ในภาคการผลิตซึ่งมีแรงงานคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 21 ของแรงงานทั้งหมดนั้นกลับสามารถสร้างจีดีพีได้เป็นสัดส่วนของจีดีพีทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 41 ขณะที่ภาคธุรกิจบริการมีแรงงานสูงถึงร้อยละ 41 แต่สามารถสร้างจีดีพีได้เพียงร้อยละ 501 เอฟทีเอจะช่วยให้ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและยกระดับภาคธุรกิจบริการของไทย พร้อมทั้งการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านแรงงาน รวมทั้งนำไปสู่การพัฒนาภาคธุรกิจบริการของไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลในเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้าง เพราะภาคธุรกิจบริการมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการผลิตและการกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพ อีเอบีซี มองว่าประโยชน์ของการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป มิใช่เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้าใหม่ แต่เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน อันแน่นแฟ้นและยั่งยืนระหว่างไทยและสหภาพยุโรป จากการศึกษาของยูโรสแตท (EUROSTAT) พบว่า สหภาพยุโรปเป็นพันธมิตรคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย และไทยเป็นพันธมิตรคู่ค้ารายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน2 และเมื่อพิจารณาจากดุลการค้าตลอดหลายปีที่ผ่านมา พบว่า ไทยอยู่ในภาวะเกินดุลเมื่อเทียบกับสหภาพยุโรป3 ดังนั้นความตกลงการค้าเสรีจะทำให้สินค้าและบริการของไทยมีโอกาสเจาะตลาดยุโรปได้มากยิ่งขึ้น นายดาเนียลกล่าวต่อไปว่า “อีเอบีซีไม่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้งที่ว่า ไทยยังไม่มีความพร้อมในการแข่งขันกับสหภาพยุโรป ด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรก เอฟทีเอจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจร่วมกันบนพื้นฐานของการทำการค้าและการลงทุนที่เป็นธรรม ไม่ใช่ในรูปแบบของการแข่งขันที่มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ชนะแต่เพียงฝ่ายเดียว ประการที่สอง ด้วยข้อดีที่ระบบเศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่น มีทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ และการเกษตรที่เข้มแข็ง ไทยจึงมีศักยภาพเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับประโยชน์จากการทำเอฟทีเอที่จะเปิดโอกาสให้มีการเข้าสู่ตลาดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ประการที่สาม ปัจจุบันสหภาพยุโรปไม่ได้มีการเจรจาเฉพาะกับประเทศไทยเพียงรายเดียว แต่อยู่ระหว่างหรือได้มีการเจรจาในลักษณะเดียวกันกับประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนามควบคู่ไปด้วย หากการเจรจาของไทยไม่มีความคืบหน้า จะเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่ไทยอาจตกอยู่ในสถานะการแข่งขันที่เสียเปรียบกับประเทศเพื่อนบ้านได้” [1] “Middle Income Trap and the Thai Service Sector”, TDRI, February 2013 2 http://ec.europa.eu/trade/policy/countries-and-regions/regions/asean/ 3 European Commission 2013 ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและสหภาพยุโรปถือเป็นการดำเนินการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันและผลักดันให้ไทยเป็นประเทศที่เหมาะสมในการลงทุนและทำการค้าของธุรกิจต่างๆ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้มากขึ้นในระดับโลก การปรับเปลี่ยนแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจและการลงทุนของต่างชาติยังจะช่วยลดต้นทุน ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการที่ยุ่งยากซับซ้อน ส่งผลให้ไทยมีเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้น และก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทักษะเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการในประเทศไทย “อีเอบีซีจึงมีความยินดีที่รัฐบาลไทยเดินหน้าขับเคลื่อนการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีให้ดำเนินต่อไปอย่างโปร่งใสและมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ซึ่งอีเอบีซีพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อให้กระบวนการเจรจาเอฟทีเอครั้งนี้บรรลุผลอย่างรวดเร็ว และในแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย” นายดาเนียล กล่าวปิดท้าย เกี่ยวกับอีเอบีซี สมาคมศูนย์ส่งเสริมธุรกิจยูโรเปียน-อาเซียน หรืออีเอบีซี คือ องค์กรการค้าแห่งยุโรปที่มีปณิธานมุ่งส่งเสริมบรรยากาศการค้าและการลงทุน เพื่อสนับสนุนบริษัทจากยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจเอสเอ็มอีให้เข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจในไทยเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมการขยายการส่งออกและการลงทุนของบริษัทยุโรปสู่ไทย สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ สมาคมศูนย์ส่งเสริมธุรกิจยูโรเปียน-อาเซียน (อีเอบีซี) สายวรุณ ถิรนันท์รุ่งเรือง โทร: 02 670 0624 อีเมล [email protected] หรือเยี่ยมชม www.eabc-thailand.eu อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ (เอบีเอ็ม) โทร: 02 252 9871 อีเมล [email protected] -นท- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวความร่วมมือ+สหภาพยุโรปวันนี้

NT จับมือ T3 Technology ร่วมเพิ่มศักยภาพบริการบรอดแบนด์

NT เดินหน้าพัฒนาบริการบรอดแบนด์ร่วมกับT3 Technology เตรียมนำ Smart Camera เพิ่มความสะดวกสู่ลูกค้าพันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT และ Mr. Nick Wang ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร บริษัท ทีทรี เทคโนโลยี จำกัด หรือ T3 Technology ลงนามความร่วมมือการเป็นพันธมิตรทางการตลาด เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขันโดยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของ NT ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการให้บริการลูกค้าที่จะได้รับบริการที่มีความทันสมัย ตอบ

บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จ... เดลต้า ประเทศไทย จัดงาน Delta ESG Forum 2025 — บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการ...

บริษัท ดองกิ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับเขต... ดองกี้ (ประเทศไทย) ผนึกกำลังเขตสุขภาพที่ 5 ลงนาม MOU หนุนผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน — บริษัท ดองกิ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับเขตสุขภาพที่ 5 สำนักงานปลัดกระทรวงสา...

โรงพยาบาลนวเวช ร่วมมือกับ สนามกอล์ฟนวธานี... โรงพยาบาลนวเวช จับมือ สนามกอล์ฟนวธานี ดูแลสุขภาพนักกอล์ฟ พร้อมบริการดูแลครบวงจร 24 ชม. — โรงพยาบาลนวเวช ร่วมมือกับ สนามกอล์ฟนวธานี (World Cup 1975) มุ่งดู...