Committee on Space Research (คณะกรรมาธิการว่าด้วยการวิจัยด้านอวกาศ) หรือ COSPAR จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2501 เพื่อเป็นประชาคมทางวิทยาศาสตร์ในด้านการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมและการสำรวจอวกาศทุกสาขาเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนพื้นฐานของความร่วมมือร่วมกัน ปัจจุบัน COSPAR มีสมาชิกทั้งหมด 46 ประเทศ โดยมีประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. ร่วมกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ และบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 1st COSPAR Symposium ในหัวข้อ “Planetary Systems of our Sun and other Stars, and the Future of Space Astronomy” โดยมี ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธาน ระหว่างวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2556 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านอวกาศและดาราศาสตร์ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาโครงการและจัดการศึกษาด้านอวกาศและดาราศาสตร์ให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และนักวิจัยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ (capacity building) ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 4 – 8 พฤศจิกายน 2556 ณ อาคารฝึกอบรม สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) บางเขน อีกด้วย
สำหรับการจัดประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการจัดการประชุมครั้งแรกของ COSPAR Symposium และประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพ โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นักวิชาการและนักวิจัยด้านอวกาศ นักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องจากประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศทั่วโลก รวมทั้งนักเรียน นิสิต และนักศึกษา รวมประมาณ 350 คน
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ดร.กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการสถาบันห้องปฏิบัติการอ้างอิงแห่งชาติ พร้อมด้วย นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนานักวิทยาศาสตร์ และคณะผู้บริหาร เข้าร่วมประชุมหารือความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA โดยมี ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้การต้อนรับ ณ สำนักพัฒนาเทคโนโลยีกิจการอวกาศ
BSRC พร้อมเครือข่ายพันธมิตรเดินหน้าโครงการ "ชีวานุรักษ์ พันธกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ" เตรียมนำพา "นกกาฮัง" คู่ใหม่ กลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน
—
หลังจากบริษ...
ไทยพีบีเอส - ภาคีฯ ยกระดับความรู้ "ห้องเรียนสู้ฝุ่น" เตรียมรับมือวิกฤต PM 2.5
—
ไทยพีบีเอส ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่าย เปิดโครงการยกระดับความรู้...
BSRC ผนึกกำลัง GISTDA และองค์การสวนสัตว์ เสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
—
บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC ...
กรมอนามัย จับมือ GISTDA คว้ารางวัลเลิศรัฐ ปี 2567 จากผลงานแอปพลิเคชัน "Life Dee"
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดย กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ จับมือ กระทรว...
BMN เปิดพื้นที่ Metro Art : MRT พหลโยธิน สร้างฝันส่งเยาวชนไทยสู่เวทีศิลปะระดับโลก
—
Metro Art อาร์ตสเปซใจกลางเมืองที่ MRT พหลโยธิน ยกระดับการสนับสนุนศิลปะ...
ปตท. ร่วมกับ GISTDA มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ต่อยอดธุรกิจดาวเทียม
—
ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร...
GISTDA ลงพื้นที่ ระบบติดตามแหล่งน้ำขนาดเล็กจากดาวเทียม
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารส...
GISTDA เปิดตัว "สมอล-วอท" ระบบติดตามแหล่งน้ำขนาดเล็กจากดาวเทียม
—
20 พฤศจิกายน 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒ...