สวก. ปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันสำเร็จ ให้ผลผลิตสูง 5 ตันต่อไร่ และปลูกได้ทุกภาค พร้อมเปิดจำหน่ายสู่มือเกษตรกรทันที

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--ไอเดียเวิร์คส์ คอมมิวนิเคชั่นส

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556 คณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จัดแถลงข่าว “การผลิตและการจัดจำหน่ายต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีไปสู่เกษตรกร” พร้อมนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมแปลงอนุบาลต้นกล้าปาล์ม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พร้อมเปิดจำหน่ายต้นกล้าสู่มือเกษตรกรเป็นวันแรก ดร. พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการ สวก. เปิดเผยว่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงานที่มีความต้องการเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มมากเป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย ปัจจุบันมีเกษตรกรไทยปลูกปาล์มน้ำมันมากกว่า 1.28 แสนครัวเรือน และมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 4.28 ล้านไร่ ที่ผ่านมาประเทศเรายังคงประสบปัญหาในเรื่องของพันธุ์ปาล์มน้ำมันอยู่มาก ทั้งปัญหาพันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตต่ำและปัญหาพื้นที่ในการปลูก เนื่องจากธรรมชาติของปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำค่อนข้างสูง การปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานจึงมักจะประสบปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ผลผลิตต่ำ ส่วนภาคกลางก็สามารถปลูกได้ในพื้นที่บางส่วน และปัญหาอื่นๆ อาทิ ราคาผลปาล์มดิบตกต่ำ พันธุ์ปาล์มน้ำมันคุณภาพต่ำ เป็นต้น “สวก. จึงได้ระดมสมองจากนักวิชาการเพื่อทำการวิจัยร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น โดยที่เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง และสามารถปลูกได้ผลผลิตดีในทุกภาคของประเทศไทย และริเริ่ม “โครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันแบบก้าวกระโดด” ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแทนการใช้เมล็ด โดยสวก.ได้ให้ทุนสนับสนุนแก่ 5 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรมวิชาการเกษตร และ หจก.โกลด์เด้นเทเนอร่า จังหวัดกระบี่ หลังจากริเริ่มจนตอนนี้มาเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งในปัจจุบันเรามีทีมนักวิจัยได้ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ต้นปาล์มคุณภาพดี และได้ต่อยอดไปสู่ โครงการต้นแบบในการขยายผลปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีไปสู่เกษตรกร ได้ในขณะนี้” “นอกจากนี้ ภายในงานแถลงข่าว สวก. ยังมีการจัดเวทีให้ทีมนักวิจัยได้กล่าวสรุปโครงการฯ โดยได้รับเกียรติจาก นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน และกล่าวถึงนโยบายเรื่องปาล์มน้ำมัน บทบาทความสำคัญของงานวิจัยด้านการเกษตรที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนอีกด้วย พร้อมทั้ง เปิดจำหน่ายต้นกล้าปาล์มน้ำมัน ให้กับผู้สนใจและเกษตรกรที่สนใจสั่งซื้อต้นกล้าปาล์มน้ำมัน ที่ได้ติดต่อสอบถามเข้ามายัง สวก. และ มก.เป็นจำนวนมาก โครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันแบบก้าวกระโดด จึงไม่เพียงแต่จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่เกษตรกรไทย และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันเท่านั้น หากแต่ยังเป็นประตูบานใหม่ที่จะให้ประเทศไทยของเราสามารถก้าวไปยืนอยู่แถวหน้าในวงการการผลิตอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซลด้วยการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน” ดร. พีรเดช กล่าว ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง สถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หัวหน้าโครงการ ต้นแบบในการขยายผลปาล์มน้ำมันไปสู่เกษตรกร กล่าวว่า หจก.โกลด์เด้นเทเนอร่า จังหวัดกระบี่ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาคู่ผสมที่เหมาะสม โดยจัดหาพ่อแม่พันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตสูง มาเพาะเนื้อเยื่อขยายพันธุ์ปาล์มมาปลูกทดสอบในเมืองไทย ที่สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมภูมิอากาศในบ้านเราและยังให้ผลผลิตสูง เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาพ่อแม่พันธุ์จนอย่างละ 4 ต้น มาผสมกันจนได้จำนวนคู่ผสม 16 คู่ผสม โดยผลสุกนำมาเพาะให้เกิดเมล็ดงอก เพื่อทำเป็นต้นกล้า จากนั้นจึงนำไปปลูกทดสอบตามภาคต่างๆ ซึ่ง 16 คู่ผสมนี้มาจากแม่พันธุ์โดร่า (DURA) ที่คุณสมบัติเด่นคือมีกะลาหนา ให้ผลผลิตสูง เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำ และพ่อพันธุ์ฟีซิเฟอร่า (Fisifera) ซึ่งให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง ไม่มีกะลา ให้ผลผลิตต่ำ มาผสมกันกลายเป็นลูกผสมเทโนร่า (Tenera) ซึ่งเมื่อผสมออกมาแล้วผลที่ได้ คือกะลาบาง ให้ผลผลิตสูง และเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง “เราใช้เทคโนโลยีในการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมัน โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและ DNA ตรวจความบริสุทธิ์ของพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ที่ตรวจสอบความผิดปรกติของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ ซึ่งจะให้ความสม่ำเสมอเท่ากันกว่าการใช้เมล็ด ช่วยในการเพิ่มจำนวนต้นปาล์มที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ทั้งต้นที่เป็นดูร่าและฟิซิเฟอร่า ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการสร้างเมล็ดลูกผสมถูกลง ปัจจุบันประสบความสำเร็จ เพราะสามารถย่นระยะเวลาให้สั้นลง และได้พันธุ์ปาล์มที่ดี มีปริมาณของน้ำมันที่สูงมากขึ้น และการทดลองปลูก ณ สถานีทดลองเกษตรจังหวัดขอนแก่น ศรีสะเกษ และหนองคายได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ โดยปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์ดี ARDA จะให้ผลผลิตที่ไม่ต่ำกว่า 5 ตัน/ไร่/ปี ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเมื่ออายุ 8 ปี โดยมีอัตราการให้น้ำมันต่อทะลายสูง เฉลี่ย 25-26 % ผลผลิตจำนวนทะลายปาล์มสด 15-20 ทะลาย/ต้น/ปี เนื้อหนา กะลาบาง ลักษณะลำต้นสูงปานกลาง ความสูงเฉลี่ย 40-50 ซม./ปี ซึ่งสะดวกแก่การเก็บเกี่ยวและดูแลรักษาสามารถปรับตัวได้ดีและให้ผลผลิตสม่ำเสมอตลอดปีในทุกพื้นที่ ในทุกสภาพอากาศ ที่สำคัญสามารถทนแล้งนาน 90 วัน” ขณะเดียวกัน ก็จะได้ต้นเมล็ดลูกผสมที่เป็นเทอเนร่าที่เป็นสายพันธุ์ดีเป็นจำนวนมากที่สามารถ 1.เพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมันให้สูงขึ้น 2.เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ 3.เพิ่มน้ำหนักและจำนวนทลายของผลปาล์ม 4.ได้ปรับปรุงต้นให้เตี้ยลง 5.สามารถทนทานต่อความแห้งแล้ง และ 6.ต้านทานโรค และสามารถปลูกได้ครบในทุกพื้นที่ของประเทศ เนื่องจากปาล์มซึ่งเป็นพืชพลังงานทดแทนที่ให้ปริมาณน้ำมันที่สูง สามารถนำไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลแทนน้ำมันดีเซลได้ ดังนั้นผู้ปลูกและผู้ประกอบการน้ำมันให้ความสนใจโครงการนี้อย่างมาก เพราะสามารถรองรับวิกฤติการการใช้พลังงานที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต” ดร.สมวงษ์ กล่าวสรุป เป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จของนักวิจัยไทย โดยผ่านการสนับสนุนของ สวก.ที่ได้เร่งสนับสนุนและต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ ได้ลงสู่ภาคการผลิตและเกษตรกรไทย เพื่อช่วยยกระดับประเทศให้มีการพัฒนาด้านการเกษตรที่ยั่งยืน ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดของโครงการได้ที่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เลขที่ 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หรือโทร.ติดต่อที่หมายเลข 02-579-9738 ต่อ 3306 -กภ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร+มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วันนี้

ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100 ล้าน

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ ARDA ร่วมกับ ฟาร์ม เอ็กซ์โป เดินหน้าจับมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กลุ่มบริษัท ซี แอล พี (CLP Group) และ การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand) เปิดเวทีการแข่งขัน "AGRITHON by ARDA Season 2" เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมเกษตรระดับประเทศจากนักวิจัย สตาร์ทอัพ เกษตรกรรุ่นใหม่ และเยาวชนทั่วประเทศ คุณชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนที่ 26 กล่าวว่า

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 องค์การอุตสหกรร... อ.อ.ป. ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในหัวข้อ "Carbon Credit โอกาสทางธุรกิจ เพื่อการฟื้นฟูโลก" — เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 องค์การอุตสหกรรมป่าไม้ โดยนายชาญณรง...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ร่วมหารือ สวก. ขับเคลื่อนภาคการเกษตรให้ยั่งยืน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห...

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ... วว.ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ อบรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตภาชนะรักษ์โลกจากเยื่อกล้วย" — สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ คณะวิท...

หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่น... กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจฉิมนิเทศน์และปิดหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 — หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 โดยหลักสูตร วกส. ...

ลำไยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ในแต่ละปีปร... ม.มหิดล วิจัยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพิ่มมูลค่า และรักษาคุณภาพสินค้าเกษตร — ลำไยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ในแต่ละปีประเทศไทยส่งออกลำไยสดไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าหลา...