การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ (M2M) กำลังผลักดันให้เกิดการขยายตัวของข้อมูลเพิ่มขึ้น พร้อมกับสร้างประโยชน์ให้กับสังคมด้วยในเบื้องหลัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--31 ต.ค.--คอร์แอนด์พีค

บทความโดย นายมารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด เรากำลังสร้างข้อมูลกันจนมากเกินไปแล้วหรือเปล่า คำตอบน่าจะอยู่ที่คำจำกัดความของคำว่า "มากเกินไป" แต่สิ่งที่แน่นอนก็คือ เทคโนโลยีที่อุปกรณ์ต่างๆสามารถส่งข้อมูลหากันเองได้ หรือที่เรียกว่า 'Machine to Machine' (M2M) โดยเฉพาะยุคไร้สายในปัจจุบัน ทำให้ข้อมูลกำลังถูกสร้างขึ้นในระดับที่เพิ่มมากกว่าเดิมอย่างมหาศาล โดยมีการคำนวณไว้ว่า ความจุในการจัดเก็บข้อมูลของโลกต่อหัวจะเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าทุก 40 เดือน นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 และจนถึงปี 2555 ในแต่ละวันจะมีการสร้างข้อมูลมากถึง 2.5 Quintillion ไบต์ (หรือเท่ากับ 2,500,000,000,000,000,000 ไบต์) ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา "ข้อมูล" ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากเดิมที่เป็นการจัดเก็บชุดการประมวลผลข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลแบบมีโครงสร้าง (Structure data) ซึ่งก็ยังคงอยู่และมีการเติบโตอย่างมหาศาลในองค์กร แต่ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณการเติบโตของข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured data) ซึ่งเกิดจากการแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริโภค ได้สร้างสถิติเอาชนะปริมาณชุดการประมวลผลข้อมูลแบบเดิมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ Twitter กำลังสร้างข้อมูลใหม่มากกว่า 8 เทราไบต์ในแต่ละวัน รวมถึงการขยายตัวอย่างมหาศาลของอีเมล สื่อสังคมออนไลน์ รูปถ่าย วิดีโอ ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งในระบบจีพีเอส และอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดคำว่า Big Data หรือข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้นมา โดยคำนี้ถูกใช้ครั้งแรกในรายงานวิจัยเมื่อปี 2554 ปัจจุบันคำว่า "ข้อมูลขนาดใหญ่" เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าหมายถึงสินทรัพย์สารสนเทศที่ประกอบด้วย 4 V คือ มีปริมาณสูง (High Volume) มีความเร็วสูง (High Velocity) มีความหลากหลายสูง (High Variety) และมีมูลค่าสูง (High Value) โดยข้อมูลขนาดใหญ่ต้องใช้การประมวลผลรูปแบบใหม่เพื่อให้เกิดข้อมูลสารสนเทศที่ช่วยให้การตัดสินใจดียิ่งขึ้น ครอบคลุมถึงการค้นหาข้อมูลเชิงลึก และความสามารถในการปรับใช้กระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น คำจำกัดความของ "4 V" จึงเหมาะสมกับคลื่นข้อมูลขนาดใหญ่ลูกต่อไปอย่างยิ่ง นั่นคือ ข้อมูลที่อุปกรณ์สร้างขึ้น (machine-driven data) แน่นอนว่าจะต้องมีการพัฒนาการทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับปริมาณข้อมูลจากอุปกรณ์ที่จะขยายตัวอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อนาคตของข้อมูลขนาดใหญ่ แล้วคลื่นลูกต่อไปจะมีขนาดใหญ่แค่ไหน เราคาดว่าข้อมูลที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ (machine-driven data) นี้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า ข้อมูลที่มนุษย์สร้างขึ้นมา (human-driven data) กว่าสองทศวรรษอย่างมหาศาล โดยบริษัท ไอดีซี คาดการณ์ว่าข้อมูลที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 42% ของข้อมูลทั้งหมดในปี 2563 เพิ่มจาก 11% ในปี 2548 และที่สำคัญ “ V (วี)” High Variety ตัวที่สามที่หมายถึงความหลากหลายก็จะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างของสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้แก่ เทคโนโลยีล่าสุดของการหาลำดับยีนซึ่งสร้างไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ถึง 4 เทราไบต์ เครื่องบินโบอิ้ง 747-8 รุ่นใหม่จะสร้างข้อมูลเกือบ 2,000 เทราไบต์ตลอด 24 ชั่วโมงขณะบิน รวมถึงเครื่องเร่งอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและใช้พลังงานสูงที่สุดของโลกที่ชื่อว่า Large Hadron Collider (LHC) ของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research: CERN) ได้สร้างข้อมูลในปริมาณมากที่ระดับ 40 เทราไบต์ต่อวินาที! โดยในช่วงปีผ่านมา ข้อมูลจากการทดลองนับสิบเพตาไบต์ของ CERN ถูกสร้างและวิเคราะห์ผ่านการประมวลผลแบบกริดของเครื่อง LHC จากเครือข่ายประมวลผลกว่า 170 แห่งใน 36 ประเทศทั่วโลก แม้ว่า LHC จะเป็นตัวอย่างเฉพาะภาคงานวิจัยหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีที่จะเห็นข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลโดยชัดเจน แต่จริงๆแล้วข้อมูล M2M กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากในเกือบทุกแวดวงธุรกิจการค้าและอื่นๆ อย่างเช่นเซ็นเซอร์ดิจิทัลแบบฝังตัวได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบในระบบโครงสร้างขนาดใหญ่เกือบทุกระบบ ไม่เพียงแต่ในอากาศยานรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังมีอยู่ในอาคารและรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ด้วย อุปกรณ์แบบ สแตนด์อะโลนขณะนี้ก็กำลังกลายเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสื่อสารระหว่างกันมากยิ่งขึ้น เช่น การติดตามตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจของนักวิ่งจะถูกส่งผ่าน "บลูทูธ" ไปยังสมาร์ทโฟน และส่งต่อไปยังฐานข้อมูลทางการแพทย์ส่วนบุคคล จากนั้นก็จะถูกนำไปรวมกับข้อมูลของนักวิ่งคนอื่นๆ นับพันคนโดยที่ไม่มีการเปิดเผยชื่อเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการกีฬา ปัจจุบันคำว่า "การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล" (information-driven) กำลังกลายเป็นสิ่งที่ดูล้าสมัยไปแล้วเพราะสำหรับหลายๆธุรกิจ เช่น สถาบันการเงิน องค์กรด้านสุขภาพ และบริษัทยา ต่างต้องการให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอัตโนมัติ (เกี่ยวกับลูกค้า ระบบ วัสดุ และประสิทธิภาพ) ไม่เพียงแต่ให้เกิดการดำเนินงานที่ดีเท่านั้น แต่จะต้องสามารถสร้างโอกาสทางการแข่งขันได้มากขึ้นในอนาคต และต้องช่วยยกระดับสังคมให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นอีกด้วย สร้างประโยชน์ต่อสังคม ข้อมูลขนาดใหญ่กำลังสร้างประโยชน์ให้กับสังคมมากขึ้น เช่น ในบริการคอลเซ็นเตอร์ บางบริษัทกำลังเริ่มใช้ "การวิเคราะห์ความรู้สึก" โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จากการโทรเข้ามาของลูกค้านับล้านรายเพื่อตรวจจับความรู้สึกจากน้ำเสียงในแบบเรียลไทม์ และเพื่อช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการตอบสนองเพื่อหาวิธีแก้ไขสายโทรเข้าของลูกค้าที่ไม่พอใจได้เร็วขึ้นและเป็นการรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ได้ นอกจากนี้ นวัตกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ในด้านการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ภายในอาคาร สามารถช่วยระบุและแก้ปัญหาการอพยพเมื่อเกิดภัยพิบัติช่วยให้สถาปนิกสามารถออกแบบอาคารให้ปลอดภัยได้มากขึ้น และในบริษัทยาขนาดใหญ่ สามารถพัฒนายารักษาโรคเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย ถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญของการปรับใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งในระดับของการวิจัยและในการทดลองภาคสนาม ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการมีข้อมูลมากมายก็อาจไม่ใช่สิ่งดีนักสำหรับองค์กรธุรกิจหรือสังคม หากองค์กรนั้นไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการกับข้อมูลให้สามารถสร้างประโยชน์ได้ การเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ คือสิ่งที่ผลักดันให้เกิดนวัตกรรม เช่นเดียวกับสิ่งที่เราพูดที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (เอชดีเอส) นั่นคือ "ข้อมูลทำให้เห็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่การหยั่งรู้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทำให้เห็นสิ่งที่เป็นไปได้" เทคโนโลยี บริการ และผู้เชี่ยวชาญของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยสารสนเทศเพื่อสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นบนโลก เนื่องจากนวัตกรรมเกิดขึ้นได้ในทุกที่เมื่อบุคคลที่เหมาะสมมีข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องอยู่ในมือ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ผสานเทคโนโลยีและโซลูชั่นเข้ากับแอพพลิเคชั่นที่มุ่งเน้นให้องค์กรสามารถค้นหา พัฒนา ใช้ และสร้างมูลค่าจากข้อมูลของตนได้อย่างเห็นผลชัดเจน ตัวอย่างเช่น บริษัท กัลฟ์ เจพี ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ต้องดำเนินธุรกิจแบบต่อเนื่องไม่มีวันหยุดและต้องพึ่งพาข้อมูลที่เชื่อถือได้ตลอดเวลาเช่นกัน บริษัทเลือกใช้เทคโนโลยีของบริษัท ฮิตาชิ เพื่อสนับสนุนระบบ SAP ที่บริษัทใช้งานอยู่ รวมถึงระบบจัดเก็บข้อมูลหลัก และการสำรองข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจของบริษัทจะสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและรองรับการขยายตัวที่ครอบคลุมทั้งประเทศ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า การสร้าง ส่งผ่าน และการประมวลผลสารสนเทศดิจิทัลภายในขอบเขตของการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ (M2M) ที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ไม่ได้ลดน้อยถอยลงแต่อย่างใด หากเราไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถจัดการกับข้อมูลดังกล่าวได้ ข้อมูลของ M2M อาจขยายตัวในระดับที่ "มากเกินไป" ทั้งนี้ เป้าหมายของ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คือทำให้แน่ใจได้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้โลกสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่องสืบไป -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี+ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์วันนี้

ภาพข่าว: 3 พาร์ทเนอร์วงการไอที - ฮิตาชิฯ เอเซอร์ วีเอ็มแวร์ ร่วมมือบุกตลาดโครงสร้างพื้นฐานองค์กรยุคไทยแลนด์ 4.0

เมื่อเร็วๆนี้ ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด (ซ้ายสุด), มร. อลัน เจียง กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดไชน่า บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด (กลาง) และนายเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท วีเอ็มแวร์ จำกัด (ขวาสุด) ร่วมกันจัดงานสัมมนาเปิดตัว Hitachi Hyper Converged (HC V240) ที่เป็นโซลูชั่นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานองค์กรในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในแพ็คเกจเดียว โดยการรวม Server, Storage, Network, VMware

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต... ภาพข่าว: ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ร่วมกับพันธมิตร จัดงานใหญ่แห่งปี BIG DATA Driven the Future — เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต...

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมก... ภาพข่าว: ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จัดกิจกรรมแบ่งปันเพื่อสังคมประจำปี 2559 — เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า (เสื้...

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ แนะองค์กรจับกลยุทธ... ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ชูแพลตฟอร์ม Big Data และ Analytics รับเทรนด์ดิจิตอลยุค 4G และ IOT — ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ แนะองค์กรจับกลยุทธ์ไอทีให้ทันคู่แข่ง ชูแ...