ผลวิจัยเผยการใช้เวลาอยู่กับสุนัขช่วยลดความดันโลหิตได้

03 Dec 2013
ผลการวิจัยครั้งใหม่ชี้ การเลี้ยงสุนัขอาจช่วยควบคุมความดันโลหิตสูงในกลุ่มผู้สูงอายุได้

ผลการวิจัยครั้งใหม่จากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์บ่งชี้ว่า การเลี้ยงสุนัขทำให้ผู้เลี้ยงมีความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างมากในขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวันร่วมกัน การวิจัยดังกล่าว ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากศูนย์โภชนาการสัตว์เลี้ยงวอลแธม(R) (WALTHAM(R) Centre for Pet Nutrition) หรือวอลแธม(R) เป็นการศึกษาเจ้าของสัตว์เลี้ยงผู้มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไปที่มีภาวะความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง และผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในระดับที่ไม่สูงมาก ผลการวิจัยพบว่า ภาวะความดันโลหิตจะลดลงเมื่อพวกเขาได้พบเจอสุนัข ผลวิจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า สุนัขอาจจะเป็นองค์ประกอบร่วมที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยลดระดับความดันโลหิตสูงในกลุ่มผู้สูงอายุได้

(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20131202/655278-a )

(โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20131202/655278-b )

เอริก้า ฟรายด์แมนน์ (Erika Friedmann) ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ หัวหน้าคณะผู้เขียนวิจัย กล่าวว่า "การลดค่าความดันโลหิตเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแรกที่ศึกษาภาวะความดันโลหิตภายใต้สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ตามปกติพร้อมกับสัตว์เลี้ยง การวิจัยครั้งนี้ช่วยให้เราสามารถประเมินอิทธิพลของสัตว์เลี้ยงในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้เป็นเจ้าของแบบเรียลไทม์ได้ นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับความเข้าใจผลกระทบเชิงบวกของสุนัขที่มีต่อผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงได้มากขึ้นอีกด้วย การค้นพบในครั้งนี้ช่วยยืนยันสมมติฐานที่ว่า สัตว์สามารถมีบทบาทในการเยียวยาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงสุขภาพทั่วไปได้ด้วย"

การวิจัยครั้งนี้ได้มีการวิจัยกลุ่มเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวและค่าความดันโลหิตอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในเบื้องต้นอยู่แล้ว ซึ่งรวมถึงการใช้ยาเพื่อลดความดันโลหิต ในขณะที่การวิจัยครั้งก่อนหน้านี้มีความแตกต่างกัน โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงจะถูกวัดความดันอัตโนมัติทุกๆ 20 นาทีด้วยเครื่องมือขนาดเล็กที่ติดอยู่กับตัวในขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆตามปกติร่วมกับสัตว์เลี้ยง การวัดค่าความดันโลหิตด้วยวิธีดังกล่าว ทำให้นักวิจัยได้พิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆที่นอกเหนือไปจากการได้อยู่กับสัตว์เลี้ยง ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อความดันโลหิตโดยใช้เวลากว่า 3 วันในช่วงระยะเวลาการวิจัยทั้งหมด 3 เดือน ซึ่งรวมถึงกิจกรรมทางกายภาพ และอารมณ์ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงด้วย

ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า การเลี้ยงสุนัขมีส่วนช่วยลดความดันซิสโตลิก (แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว) และความดันไดแอสโตลิก (แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว) ได้เป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น คณะนักวิจัยยังได้วิเคราะห์ถึงอิทธิพลของการเลี้ยงแมวที่มีต่อความดันโลหิตอีกด้วย ผลการวิจัยของนักวิจัยเหล่านี้บ่งชี้ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ความดันประเภทไดแอสโตลิกในกลุ่มผู้สูงอายุจะลดลง และความดันประเภทซิสโตลิกจะสูงขึ้นเมื่อได้อยู่กับแมว ซึ่งผลสำรวจนี้ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เนื่องจากการวิจัยก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่า แมวมีส่วนในการช่วยลดความตึงเครียด รวมทั้งลดความดันโลหิตแบบซิสโตลิก และไดแอสโตลิกให้ต่ำลง นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องพิจารณาธรรมชาติของปฏิสัมพันธ์ และกิจกรรมทางกายภาพของผู้เลี้ยงแมวด้วย

การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนจากวอลแธม ซึ่งเป็นสถาบันทางวิทยาศาสตร์ของบริษัท มาร์ส เพ็ทแคร์ (Mars Petcare) ดร.แซนดร้า แม็คคูน (Sandra McCune) หัวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ฝ่ายปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ที่ศูนย์วอลแธม(R) อธิบายถึงความสำคัญของการวิจัยนี้ว่า "เรารับรู้ถึงผลกระทบเชิงบวกของสุนัขที่มีต่อความดันโลหิตของผู้เลี้ยงมานานแล้ว การวิจัยเป็นเครื่องยืนยันว่า การอยู่กับสุนัขในชีวิตประจำวันปกติ จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุให้มีระดับต่ำลงได้ วอลแธม(R) ยินดีที่จะสนับสนุนงานวิจัยในเรื่องที่สำคัญนี้ต่อไป"

ผลการวิจัยดังกล่าวจัดพิมพ์ลงในรายงาน Anthrozoos และสามารถดูผ่านทางออนไลน์ได้ที่: http://bit.ly/1c8ATRQ

เกี่ยวกับ ศูนย์โภชนาการสัตว์เลี้ยงวอลแธม(R)

ในขณะที่ได้ฉลองครบรอบ 50 ปีของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ศูนย์โภชนาการสัตว์เลี้ยงวอลแธม(R) เป็นหน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำในการยกระดับการวิจัยด้านโภชนาการ และสุขภาพของสัตว์เลี้ยง ศูนย์โภชนาการสัตว์เลี้ยงวอลแธม(R) ตั้งอยู่ที่เมืองเลเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ สถาบันวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่มีชื่อเสียงในการสนับสนุนองค์ความรู้แก่บริษัท มาร์ส เพ็ทแคร์ (Mars Petcare) ก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่สามารถตอบสนองความต้องการของสัตว์เลี้ยงได้แท้จริง นับตั้งแต่ที่ศูนย์ได้เปิดเผยผลการวิจัยครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2506 วอลแธม(R) ได้ริเริ่มการพัฒนาครั้งสำคัญมากมายในด้านโภชนาการสัตว์เลี้ยง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ดังจะเห็นได้จากสื่อสิ่งพิมพ์กว่า 1,700 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วยรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญแล้วกว่า 600 ฉบับ ปัจจุบัน วอลแธม(R) ยังคงร่วมงานกับบรรดาสถาบันวิทยาศาสตร์ชั้นดีที่สุดของโลก ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของมาร์ส เพ็ทแคร์ เพื่อสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่าสำหรับสัตว์เลี้ยง(R) รวมถึงให้บริการทางวิทยาศาสตร์ และความชำนาญที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ต่างๆของมาร์ส เพ็ทแคร์ อาทิ วิสกัส(R), เพ็ดดีกรี(R), นูโทร(R), ทริลล์(R), ซีซาร์(R), ชีบา(R), ดรีมมี่ส์(R), อะควาเรียน(R), ไวเนอร์จี้(R), แบนฟิลด์ เพ็ท ฮอสพิทอล(R) และรอยัล คานิน(R)

เกี่ยวกับ บริษัท มาร์ส

ในปีพ.ศ. 2454 แฟรงค์ ซี มาร์ส (Frank C. Mars) ได้ผลิตขนมหวานยี่ห้อมาร์ส (Mars) ขึ้นเป็นครั้งแรกในบ้านของเขาที่เมืองทาโคมา รัฐวอชิงตัน และได้ริเริ่มธุรกิจแบรนด์มาร์สขึ้นเป็นครั้งแรกในฐานะบริษัทผู้ผลิตขนมหวาน ในช่วงทศวรรษที่ 20 ฟอร์เรสต์ อี มาร์ส ซีเนียร์(Forrest E. Mars, Sr.) ได้เข้ามาช่วยกิจการของพ่อ และเปิดตัวช็อกโกแล็ตแท่งแบรนด์มิลกี้ เวย์(R) ในปีพ.ศ. 2475 ฟอร์เรสต์ได้ย้ายมาอยู่ที่อังกฤษพร้อมความฝันที่จะสร้างกิจการที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ “ผลประโยชน์ร่วมกันสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง” จึงเป็นรากฐานของบริษัทมาร์สจนถึงปัจจุบันนี้ บริษัทมาร์สตั้งอยู่ในชุมชนแม็คลีน รัฐเวอร์จิเนีย และแบ่งกิจการออกเป็น 6 สาขา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง, ช็อกโกแลต, หมากฝรั่งริกลีย์ (Wrigley), อาหาร, เครื่องดื่ม, ธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสุขภาพแบรนด์ซิมไบโอไซแอนซ์ (Symbioscience) และมีผู้ร่วมงานกว่า 72,000 คนทั่วโลกที่ร่วมดำเนินตามหลักการขององค์กรเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับประชาชน และโลก ผ่านการดำเนินงานของมาร์ส

แบรนด์ของมาร์สประกอบด้วย: ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง ได้แก่ เพ็ดดีกรี(R), รอยัล คานิน (R), วิสกัส(R), แบนฟิลด์ เพ็ท ฮอสพิทอล(R), นูโทร(R), ชีบา(R), ดรีมมี่ส์(R) และซีซาร์(R); ช็อกโกแลต ได้แก่ เอ็มแอนด์เอ็ม(R), สนิกเกอร์ส(R), โดฟ(R), กาแล็คซี่(R), มาร์ส(R), มิลกี้ เวย์(R) และทวิกซ์(R); หมากฝรั่งริกลีย์ ได้แก่ ดับเบิลมินท์(R), เอ็กซ์ตร้า(R), ออร์บิท(R), ไฟฟ์(TM), ลูกอมสคิตเทิลส์(R) และสตาร์เบิร์ส รวมถึงลูกอมกลิ่นมินท์แบรนด์อัลทอยด์ส(R) และไลฟ์เซฟเวอร์ส(R); อาหาร ได้แก่ ฟู้ด-อังเคิล เบนส์(R), ดอลมิโอ(R), เอ็บลี่ย์(R), มาสเตอร์ฟู้ดส์(R), ซีดส์ ออฟ เชงจ์(R) และรอยโก้(R); เครื่อดื่ม ได้แก่ อัลเทอร์ร่า(R) คอฟฟี่ โรสเตอร์สคอฟฟี่, น้ำชาเดอะ ไบรท์ ธี(R), ช็อกโกแล็ตร้อนแบรนด์โดฟ(R)/กาแล็คซี่(R) และเครื่องชงกาแฟยี่ห้อ ฟลาเวีย(R); ธุรกิจซิมไบโอไซแอนซ์ ได้แก่ โคโค่อาเวีย(R), วิสดอม พาเนล (R) และเซรามิส(R)

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: http://www.mars.com หรือติดตามผ่านทาง: facebook.com/mars, twitter.com/marsglobal, youtube.com/mars

แหล่งข่าว: มาร์ส เพ็ทแคร์ แอนด์ วัลแธม