สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทยมีมติจากการประชุมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 เตรียมยื่นหนังสือเพื่อให้ทางสำนักปกป้องและตอบโต้ทางการค้า กำหนดมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้ากระดาษถ่ายเอกสารที่เพิ่มขึ้น (หรือมาตรการ Safeguard) ตามที่ผู้ผลิตกระดาษร้องเรียน เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อและกระดาษของประเทศไทยตลอดจนถึงห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) เยื่อและกระดาษทั้งหมด
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย กล่าวว่า “ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมกระดาษได้รับผลกระทบจากการนำเข้ากระดาษมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดถ่ายเอกสารที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมาก และสมาคมฯ ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกซึ่งเป็นผู้ผลิตกระดาษถ่ายเอกสารว่า ตรวจพบการนำเข้ากระดาษถ่ายเอกสารที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติด้วยราคาการนำเข้าที่ต่ำมากอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อปริมาณการขาย ปริมาณการผลิต และปริมาณสินค้าคงเหลือของผู้ผลิตกระดาษในประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์การนำเข้ากระดาษถ่ายเอกสารเป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลให้ผู้ผลิตกระดาษในประเทศไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้ และย่อมส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมฯ ทั้งในระดับต้นน้ำและระดับปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่การปลูกไม้ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกยูคาลิปตัสประมาณ 158,000 ครัวเรือน การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษถ่ายเอกสาร ตลอดถึงการจ้างงานและรายได้จากการขนส่ง และหากไม่มีการดำเนินการใดๆ เป็นไปได้ว่าการแข่งขันรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอาจส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมกระดาษพิมพ์เขียนในภาพรวมซึ่งมีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องทำให้อุตสาหกรรมของประเทศอยู่รอด เพื่อให้เกิดรายได้ การจ้างงาน และสวัสดิภาพของคนในประเทศโดยรวมตลอดช่วงสายการผลิต”
“สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย จึงได้หารือกับกลุ่มต่างๆ ภายในสภาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน และมีมติสมาคมฯ ให้นำเสนอและยื่นหนังสือคำร้องต่อรัฐบาลผ่านทางสำนักปกป้องและตอบโต้ทางการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ช่วยดำเนินการเรื่องมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้ากระดาษถ่ายเอกสารที่เพิ่มขึ้นหรือ Safeguard ให้กับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมฯ ส่วนผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนและมาตรการของภาครัฐต่อไป” นายมนตรีกล่าวเพิ่มเติม
ปัจจุบันตลาดกระดาษถ่ายเอกสารในประเทศมีปริมาณความต้องการรวมประมาณ 230,000 ตันต่อปี มูลค่าตลาดรวมประมาณ 10,000 ล้านบาท เดิมกระดาษถ่ายเอกสารมีปริมาณนำเข้าประมาณ 1,000 ตันต่อเดือน แต่ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นจำนวนเฉลี่ยประมาณ 4,000 ตันต่อเดือน และเคยสูงสุดถึง 6,000 ตันต่อเดือน ซึ่งคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 600% ในขณะที่ปริมาณความต้องการกระดาษถ่ายเอกสารอยู่ที่ประมาณ 19,000 ตันต่อเดือน หรือหากคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดของสินค้านำเข้าแล้วจะพบว่าจากเดิมมีส่วนแบ่ง 5% ได้เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 30% ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้มีการนำเข้ากระดาษถ่ายเอกสารในจำนวนมากคือ กำลังการผลิตเกินปริมาณความต้องการและการถูกกีดกันทางการค้าจากประเทศอื่นๆ เช่นการฟ้อง Anti-Dumping ของประเทศออสเตรเลีย ประกอบกับประเทศไทยมีภาษีนำเข้ากระดาษเป็นร้อยละ 0 ขณะที่ประเทศอื่นในอาเซียนยังมีภาษีนำเข้ากระดาษถ่ายเอกสารอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3-20 ทำให้ปริมาณการผลิตส่วนเกินส่งออกมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
นายจ่อ มิน ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า(คนแรกขวามือ) นายซาฟี่ อูล่า ชาวดรี รองประธานสมาคมผู้ส่งออกแห่งประเทศบังคลาเทศ (คนแรกซ้ายมือ) นายธีระ กิตติธีรพรชัย เหรัญญิก กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ที่สองจากซ้าย) พร้อมด้วยนายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย (ที่สามจากซ้าย) นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการร่วม (ที่สามจากขวา) และนายธัชพล วงษ์รักษา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์
ส.อ.ท. กังวลดอกเบี้ยขาขึ้น กระทบต้นทุนการเงิน กำลังซื้อหด เบรคการลงทุนใหม่
—
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลก...
องค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมกระดาษไทยและนานาชาติ ร่วม อินฟอร์มา จัดงาน ASEAN Paper Bangkok 2023
—
ทั่วโลกหนุนแนวคิดธุรกิจยั่งยืน-เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดันอุต...
องค์กรธุรกิจ-บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมกระดาษไทยและนานาชาติ ร่วม อินฟอร์มา เตรียมจัดงานใหญ่ระดับภูมิภาค ASEAN Paper Bangkok 2023
—
อุตสาหกรรมกระดาษโลกฟื้นต่...
เปิดงาน Tissue & Paper Bangkok 2022 งานสำคัญของอุตสาหกรรมกระดาษระดับภูมิภาค จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย
—
นายจ่อ มิน ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อ...
กระทรวงอุตสาหกรรม สนับสนุนการจัดงาน “CCE South East Asia – Thailand 2016” พร้อมส่งเสริมไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกในอาเซียน
—
เมื่อเร็ว ๆ...